1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย : ปรสิตวิทยา

Parasitology

ภาควิชา ชีววิทยา

2. สมาชิก

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชโลบล วงศ์สวัสดิ์

ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย

2. อาจารย์ ดร.อำนาจ โรจนไพบูลย์

สมาชิก

3. อาจารย์ ฉมาภรณ์ นิวาศะบุตร

สมาชิก

4. นายธนู มะระยงค์

สมาชิก

5. นายสบชัย สุวัฒนคุปต์

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

การศึกษาทางด้านปรสิตวิทยามีส่วนเกี่ยวข้องกับคนและสัตว์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในปัจจุบันมีการศึกษากันมากทั้งทางด้านชีววิทยา อาทิเช่น ความหลากหลายของชนิด การดำรงชีวิต การระบาด รวมถึงการศึกษาในระดับจุลภาค (ultrastructure) ทางชีวโมเลกุลและจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ผลของการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์หลายด้านคือ เป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การป้องกันกำจัดเพื่อตัดวงจรของพยาธิ เป็นข้อมูลพื้นฐานการศึกษาต่อไปเพื่อหายาฆ่าพยาธิ หรือตรวจหาตัวอ่อนของพยาธิโดยวิธีทางชีวโมเลกุลในลำดับต่อไป

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

เพื่อศึกษาพื้นฐานทางชีววิทยาความหลากหลายทางชีวภาพในเขตภาคเหนือจากสัตว์น้ำและสัตว์เศรษฐกิจ ศึกษาโครงสร้างระดับจุลภาคโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ SEM และ TEM และศึกษาวงชีวิต การระบาดของพยาธิบางชนิด

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

5.1 โครงการวิจัยความหลากหลายของหนอนพยาธิในลำน้ำแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ทุนสนับสนุนจาก BRT ระยะเวลา 3 ปี (2540-2542)

5.2 การศึกษาโครงสร้างทางจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของหนอนพยาธิ ยังไม่มีแหล่งทุนสนับสนุน

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว

6.1 กล้อง stereo และ compound microscope พร้อมอุปกรณ์วาดรูปและถ่ายรูป

6.2 เครื่องมือวิเคราะห์น้ำแบบตั้งโต๊ะและแบบกระเป๋าหิ้ว

6.3 centrifuge ขนาดเล็ก

6.4 อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

Wongsawad, C., A. Rojanapaibul and P. Vanittanakom. Surface Ultrastructure of Encysted Metacercaria and of Adult Stellantchasmus sp. (Trematoda: Heterophyidae). J. of Electron Microscopy Society of Thailand. 11(1), 19-26.