1. ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการวิจัยการฟื้นฟูป่า |
Forest Restoration Research Laboratory |
ภาควิชา
ชีววิทยา2. สมาชิก
1. Dr. Stephen Elliott |
ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย |
2. ดร. วิไลวรรณ อนุสารสุนทร |
สมาชิก |
3. Mr. J.F. Maxwell |
สมาชิก |
4. นางปราณี ปาลี |
สมาชิก |
5. นายพุฒิพงศ์ นวกิจบำรุง |
สมาชิก |
6. นายเชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ |
สมาชิก |
7. นายเกริก ผักกาด |
สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
เนื่องจากการทำลายป่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2503 เป็นต้นมา ป่าไม้ในประเทศไทยได้ถูกทำลายไปในอัตราที่สูงมาก โดยเฉพาะในเขตจังหวัดเชียงใหม่แห่งเดียว ในช่วงปี 2518-2528 การทำลายป่าได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า ฉะนั้นจึงมีโครงการที่จะปลูกป่าเกิดขึ้นหลายโครงการ แต่การปลูกป่าใหม่มีแนวโน้มในการปลูกไม้อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงชนิดเดียว เช่น ป่ายูคาลิบ เป็นต้น เพื่อที่จะนำมาใช้ในทางเศรษฐกิจ การปลูกป่าเช่นนี้จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของความแห้งแล้ง การขาดแคลนน้ำ การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่เลวลงไปไม่ได้มากนัก ปัญหาคือจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ป่ากลับคืนชีพ มีจำนวนพันธุ์ไม้นานาชนิดมากมายเหมือนเดิม เพื่อจะให้ระบบนิเวศกลับไปสู่ความสมดุลย์ตามธรรมชาติเหมือนสมัย 30-40 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณดอยอินทนนท์และดอยสุเทพซึ่งปัจจุบันอยู่ในชุมชนล้อมรอบ จากการรายงานของกรมป่าไม้ (สันติสุข และคณะ, 2534) ว่าขณะนี้มีความรู้และข้อมูลที่จำเป็นในการจัดการกับป่าไม้ในเมืองไทยยังขาดอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านของผลิตภัณฑ์ที่มาจากป่าหรือการอนุรักษ์แหล่งพืชพรรณหรือนิเวศของสัตว์ จุดประสงค์ของการจัดตั้งห้องปฏิบัติการนี้เพื่อจะเผยแพร่และสร้างงานวิจัยที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าธรรมชาติ
โครงการวิจัยการฟื้นฟูป่านี้ เป็นโครงการร่วมกันระหว่าง ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยบริษัทริชมอนเด้ (กรุงเทพฯ) จำกัด ได้ให้ความสนับสนุนในด้านการเงิน ให้จัดสร้างอาคารทดลองเพาะเมล็ด ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในงานนี้ และเงินเดือนจ้างนักวิจัยและผู้ช่วยวิจัยจำนวน 5 คน ในระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2537-2539 เนื่องจากห้องปฏิบัติการวิจัยส่วนหนึ่งเป็นการปฏิบัติของบุคคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ จึงขอสมัครเพื่อขอจดทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการวิจัย
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อที่จะศึกษาว่าพันธุ์พืชแต่ละพันธุ์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร
2. เพื่อที่จะทราบถึงฤดูกาลของการออกดอก ผล และการสร้างและการร่วงของใบไม้
3. ทดสอบการมีชีวิตและการงอกของเมล็ดจากพรรณไม้ยืนต้นในป่าของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
4. เพื่อที่จะประเมินและทดสอบเทคนิคใหม่ ๆ ในการปลูกป่า
5. งานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่
การทดลองเพาะเมล็ดของพืชป่า โดยการทดลองกระตุ้นให้เมล็ดงอกโดยวิธีต่าง ๆ เนื่องจากเมล็ดของพืชบางชนิดจะไม่งอกเมื่อนำมาเพาะตามวิธีปกติ ปัจจุบันสามารถเพาะเมล็ดให้งอกได้มากกว่า 150 ชนิด นอกจากนั้นยังได้ร่วมมือกับมูลนิธิธรรมนาถในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปลูกป่าที่บริเวณอำเภอจอมทอง
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสัณฐานวิทยาของผลและเมล็ด และการงอกของเมล็ดได้นำมาเก็บเป็นฐานข้อมูล ซึ่งสามารถจะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของหอพรรณไม้ ทำให้ได้ภาพรวมของฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ของพรรณไม้ ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
6. อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว
1. อุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการออกสนาม เช่น เข็มทิศ เครื่องวัดระดับความสูง ฯลฯ
2. เครื่องมือวัดความชื้นของดิน
3. เครื่องวัดความสูงของต้นไม้
4. คอมพิวเตอร์
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
Elliott, S., S. Promkutkaew and J.F. Maxwell, 1994. The phenology of flowering and seed production of dry tropical forest trees in northern Thailand. Proc. int. Symp. on Genetic Conservation and Production of Tropical Forest Tree Seed, ASEAN- Canada Forest Tree Seed Project pp 52-62.
Elliott, S., V. Anusarnsunthorn, N. Garwood and D. Blakesley, 1995. Research needs for restoring the forest of Thailand. Nat Hist. Bull. Siam Soc. 43: 179-184.
Elliott, S., V. Anusarnsunthorn, S. Kopachon, D. Blakesley and N.C. Garwood, 1996. Research towards the restoration of northern Thailands degraded forests. Paper presented at the International Symposium on Accelerating Native Forest Regeneration on Degraded Tropical Lands, Washington DC, 11-14th June, 1996.
Kopachon, S, K. Suriya, K. Hardwick, G. Pakaad, J. Maxwell, V. Anusarnsunthorn, D. Blakesley, N. Garwood and S. Elliott, 1996. Forest restoration research in northern Thailand: 1. The fruits, seeds and seedlings of Hovenia dulcis Thunb. (Rhamnaceae). Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 44;41-52.
Elliott S., V. Anusarnsunthorn, S. Kopachon, D. Blakesley and N.C. Garwood, 1996. Activities of the forest restoration research unit, northern Thailand. p 8 in World Heritage Tropical Forests Conference, Science for Better Understanding and Management, Handbook and Abstracts.
Elliott, S., D. Blakesley, V. Anusarnsunthorn, J.F. Maxwell, G. Pakaad and P. Navakitbumrung, 1997. Selecting species for restoring degraded forests in northern Thailand. Paper presented at the Workshop on Rehabilitation of Degraded Tropical Forest Lands, 3-7 February 1997, Kuranda, Australia.
Navakitbumrung, P., S. Elliott and V. Anusarnsunthorn, 1997. *The Forest Restoration Research Unit. Paper presented at Seminar on Buffer Zones; A Strategy towards Suatainable Forest Management". Khon Kaen, 28-30/1/97 (in Thai).
Blakesley, D., and S. Elliott, in press. Restoration of deforested land in protected areas of northern Thailand. In: Warhurst, A. (Ed.) Towards an Environmental Research Agenda. Macmillan, in press.