1. ชื่อห้องปฏิบัติการ : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว |
Postharvest Technology |
ภาควิชา
ชีววิทยา2. สมาชิก
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร |
ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย |
2) รองศาสตราจารย์ ดร.จินดา ศรศรีวิชัย |
สมาชิก |
3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กอบเกียรติ แสงนิล |
สมาชิก |
4) นางสาวศิริรัตน์ เตปินยะ |
สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
แนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนอาหารของพลโลกในอนาคต โดยการเพิ่มผลผลิตคงจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากพื้นที่ในการผลิตนั้นลดลงและ/หรือถูกแทนที่ด้วยที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ในการผลิตอื่น ๆ เช่น เงินทุน น้ำ และปุ๋ยก็มีจำกัด ดังนั้นจึงต้องหันมาเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเอาผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ผลผลิตมีจำกัดหรือมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และเก็บรักษาผลผลิตเอาไว้ในขณะที่ผลผลิตมีปริมาณมากเกินความต้องการของตลาดหรือพัฒนาให้ผลผลิตอยู่ในรูปที่จูงใจผู้ซื้อและมีมูลค่าต่อหน่วยเพิ่มขึ้นเพื่อการค้าขาย
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งยังต้องพึ่งพารายได้ของภาคการเกษตรอยู่ ดังนั้นจึงพบปัญหาเกี่ยวกับผลผลิตเสมอ โดยในบางปีผลผลิตมีมาก แต่ในบางปีผลผลิตมีน้อย ซึ่งมีผลทำให้ราคาและปริมาณของผลผลิตผันแปร นอกจากนี้ผลผลิตบางชนิดที่เน่าเสียได้ง่าย ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (postharvest technology) เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น จึงเป็นงานช่วยเหลือแก่เกษตรกร (ผู้ผลิต) ปัจจุบันงานวิจัยและพัฒนาทางด้านนี้ได้เข้ามามีส่วนพ่อค้าคนกลาง และผู้บริโภคอย่างมากทีเดียว ไม่ว่าจะในแง่การผลิต การตลาด และการใช้ผลผลิตต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ต่างให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพร้อมกับพยายามหาวิธีที่จะลดการสูญเสียผลผลิตและใช้ผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับประเทศไทยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเข้าไปมีบทบาทช่วยลดการสูญเสียของผลผลิตและช่วยในการส่งออกพืชผลสดของไทยไปยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตามงานทางด้านนี้ยังคงต้องมีการวิจัยและพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ หลายสาขาวิชา และการร่วมมือกับนักวิจัยต่างประเทศเพื่อช่วยกันลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของทีมวิจัยในสายงานทางด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวของพืชและร่วมทำงานวิจัยด้วยกัน
2) เพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนและทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
3) เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินอยู่
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และสรีรวิทยาระหว่างการเจริญและการพัฒนาของพืชผล เพื่อหาแนวทางในการหาดัชนีการเก็บเกี่ยวพืชผล การยืดอายุการเก็บรักษาและการนำไปใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณภาพของพืชผลควบคู่กันไปด้วย
ศึกษาและวิจัยถึงผลของการปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยวที่มีต่อคุณภาพและการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวของพืชผลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังศึกษาหาวิธีป้องกันและลดการเน่าเสียของพืชผลเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ โดยการใช้สารเคมี สารที่สกัดจากพืชและการกระตุ้นให้พืชผลสามารถสร้างสารต่าง ๆ ขึ้นมาป้องกันตัวเอง
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
1) Gas Chromatography (GC) with TCD and FID detectors จำนวน 2 ชุด
2) High Presssure Liquid Chromatograph (HPLC) with Pico-Tag work station
3) Chromameter and data processing system
4) Automatic Tritrator and Conductometer
5) Firmness Testers
6) Refractometers
7) UV-VIS spectrophotometer
8) Automatic Osmometer
9) UV radiometer
10) Rotary evaporator
11) High speed centrifuge
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์และที่เสนอในที่ประชุมทั้งในและต่างประเทศทุกปี ปีละ 1-3 เรื่อง
7.1.1 ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ (เอกสารตามแนบ)
1) กอบเกียรติ แสงนิล, มยุรี แก้วลับแล และจำนงค์ อุทัยบุตร. 2540. การเปลี่ยนแปลงปริมาณรงควัตถุและสีแดงในเปลือกผลมะม่วงที่ห่อและไม่ห่อผลบนต้น. วารสารสงขลา-นครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 19(2) : 173-180.
2) Kumpoun W.; D. Supyen; P. Kitsawatpaiboon; V. Sardsud; P. Chansri; S. Promin and J. Sornsrivichai. 1998. Detection and Isolation of Antifungal Compounds from the Peel of Pomelo [Citrus grandis (L.) Osb.] ACIAR Proceedings No. 80. 223-227.
3) Saengnil, K.; W. Wongchompoo and J. Uthaibutra. 1998. Anthocyanin content and enzyme activity of phenylalanine ammonia-lyase (PAL) in some vegetables, fruits and flowers after harvesting. Songklanakarin J. Sci. Technol. 20(3) : 265-273.
7.2 ความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันวิจัยอื่นๆ
ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมมือในการทำงานวิจัยกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันวิจัยอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้มีการติดต่อขอทุนวิจัยระยะสั้นร่วมกันระหว่างสมาชิกของห้องปฏิบัติการวิจัย (ผศ.ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร และ อ.ดร.กอบเกียรติ แสงนิล) กับ Professor Dr.Yoshie Motomura และทีมของ Pomology Lab. Hirosaki University Japan (กำลังรอฟังผลของทุนอยู่)