1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย

ห้องปฏิบัติการวิจัยสิ่งแวดล้อม

Environmental Research Laboratory

ภาควิชา : เคมี

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

1. ผศ.ดร.สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์

ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย

2. ผศ.ดร.ยุทธศักดิ์ วณีสอน

3. รศ.ดร.วิจิตร รัตนพานี

4. ผศ.ดร.เสาวณีย์ รัตนพานี

5. รศ.ดร.เกตุ กรุดพันธ์

6. ผศ.ดร.สุรศักดิ์ วัฒเนสก์

7. ผศ.ดร.อรอนงค์ ปัญโญ

8. อ.สุนันทา วังกานต์ (ลาศึกษาต่อต่างประเทศ)

9. อ.ธีรบุญ พจนการุณ

10. นางสาวจุฬาลักษณ์ สิริลัพธ์

11.นายชำนิ แสงภักดี

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

โดยประกอบด้วย 4 หน่วย คือ

2.1 หน่วยวิจัยการวิเคราะห์โลหะปริมาณน้อยและการพัฒนาวิธีวิเคราะห์

Trace Metal Analysis and Method Development

2.1.1 ผศ.ดร.สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย

2.1.2 รศ.ดร.วิจิตร รัตนพานี

2.1.3 รศ.ดร.เกตุ กรุดพันธ์

2.1.4 ผศ.ดร.สุรศักดิ์ วัฒเนสก์

2.1.5 ผศ.ดร.อรอนงค์ ปัญโญ

2.1.6 อ.ธีรบุญ พจนการุญ

2.2 หน่วยวิจัยการวิเคราะห์ยาปราบศัตรูพืชและสัตว์ที่ตกค้าง

Pesticide Residue Analysis

2.2.1 ผศ.ดร.เสาวณีย์ รัตนพานี ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย

2.2.2 ผศ.ดร.สุรศักดิ์ วัฒเนสก์

2.2.3 อ.สุนันทา วังกานต์ (ลาศึกษาต่อต่างประเทศ)

2.2.4 นายชำนิ แสงภักดี

2.3 หน่วยวิจัยการวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพน้ำ

Water Quality Monitoring and Water Treatment

2.3.1 รศ.ดร.วิจิตร รัตนพานี ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย

2.3.2 รศ.ดร.เกตุ กรุดพันธ์

2.3.3 อ.สุนันทา วังกานต์ (ลาศึกษาต่อต่างประเทศ)

2.3.4 นางสาวจุฬาลักษณ์ สิริลัพธ์

2.4 หน่วยวิจัยการวิเคราะห์สารมลพิษในอากาศ

Air Pollution Monitoring

2.4.1 นายชำนิ แสงภักดี ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย

2.4.2 ผศ.ดร.ยุทธศักดิ์ วณีสอน

2.4.3 ผศ.ดร.สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์

2.4.4 อ.สุนันทา วังกานต์ (ลาศึกษาต่อต่างประเทศ)

3. หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศต่างๆที่จัดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนากำลังเร่งพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เช่น ประเทศไทยได้พัฒนาทางเกษตรและอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง การพัฒนาดังกล่าวเป็นผลก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ได้มีการปล่อยน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำต่างๆย่อมทำให้แหล่งน้ำนั้นๆปนเปื้อนไปด้วยโลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี ทองแดง โครเมียม และอื่นๆ โลหะเหล่านี้ถ้าตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ตลอดจนอุปโภคบริโภคอื่นๆมากเกินไปย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกนี้ได้

ดังมีรายงานในหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์เกี่ยวกับโรงงานแร่แทนทาลัมทำให้เกิดมลภาวะสิ่งแวดล้อมและเมื่อหลายปีที่ผ่านมาชาวบ้านอำเภอร่อนพิบูลย์ ได้ประสบอันตรายอันเกิดจากพิษสารหนูเกินขนาดซึ่งมีตามแหล่งน้ำผลมาจากการทำเหมืองแร่ในกาลก่อน การพัฒนาทางคมนาคมทางบกนั้นนอกจากจะเกิดมลภาวะทางด้านเสียงแล้ว สารพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ยังเป็นผลทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและทางน้ำได้อีกด้วย การใช้ยาปราบศัตรูพืชและสัตว์เพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรนั้นจะก่อให้มีวัตถุมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และพืชได้ การสร้างโรงผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทำให้ต้องใช้ถ่านหินมากขึ้น การสันดาปของถ่านหินในปริมาณมากย่อมผลิตแก๊สพิษในปริมาณมากด้วยซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น เมื่อเดือนตุลาคม 2535 การสันปาดถ่านหินของโรงงานไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ทำให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเกิดแก๊สพิษคือ oxide ของไนโตรเจนและซัลเฟอร์ในปริมาณมากเกินค่าความปลอดภัยที่สิ่งมีชีวิตจะรับได้

จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหล่อเลี้ยงด้วยแม่น้ำปิงซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นโลหิตสำคัญและแม่น้ำอื่น ๆ อีกหลายสาย แม่น้ำเหล่านี้เป็นแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรตลอดจนการอุปโภคเป็นเวลาช้านาน เมื่อรัฐบาลไทยพัฒนาภาคเหนือ (รวมทั้งเชียงใหม่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมตลอดจนการหลั่งไหลเข้ามาของประชาชนจากที่ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับเป็นผลทำให้สาธารณูปโภค เช่น ประปา ไฟฟ้า การกำจัดขยะและการบำบัดน้ำเสีย เริ่มเป็นปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น การใช้ทรัพยากรน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการตัดไม้ทำลายป่าที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติตลอดจนการปล่อยของเสียจากบ้านเรือน การปล่อยควันไอเสียจากรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วทำให้ระบบนิเวศน์วิทยาถูกทำลายเรื่อย ๆ จนถึงขั้นน่าวิตกว่าจะเป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมให้เลวร้ายน้อยลง หรือถูกทำลายในอัตราที่ช้าลงกว่าที่เป็นอยู่

แม่น้ำกวงเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญอีกสายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่าแม่น้ำปิง แม่น้ำสายนี้ไหลผ่ายจังหวัดลำพูนซึ่งสามารถหล่อเลี้ยงพื้นที่ต่าง ๆ ที่แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านให้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ และเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับอุปโภคบริโภคของประชาชนและเกษตรกรชาวลำพูนอีกด้วย ปัจจุบันนี้พื้นที่ในจังหวัดลำพูนบางส่วนกำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นแหล่งอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ลุ่มแม่น้ำกวง นอกจากจะได้รับผลกระทบจากสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์จากเกษตรแล้วยังจะได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วยอย่างแน่นอน เนื่องจากการเจริญเติบโตของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เช่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ข่าวทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ว่ามีปลาตายในลำแม่น้ำกวงมากมาย

กลุ่มนักวิจัยสังกัดห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมภาควิชานี้ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาสารมลพิษที่ตกค้างหรือปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเรา เช่น อากาศ แหล่งน้ำ ตะกอนท้องน้ำ ฯลฯ คือจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพและพลานามัยของชุมชนเป็นอย่างยิ่งและจะได้ใช้ข้อมูลที่ได้เป็นแนวทางในการปรับปรุงป้องกันและควบคุมสารมลพิษในสิ่งแวดล้อมต่อไปเพื่อรักษาระบบนิเวศน์วิทยาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด

ความพร้อมในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

ก. บุคลากร

ในปัจจุบันนี้ภาควิชาเคมีได้ขยายการสอนถึงระดับปริญญาเอก โดยเฉพาะสาขาเคมีวิเคราะห์ได้รับนักศึกษาระดับปริญญาเอกรุ่นแรกจำนวน 3 คน ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2534 ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้สำเร็จการศึกษาแล้ว รับนักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 2 จำนวน 1 คน ในปีการศึกษา 2538 และรุ่นที่ 3 จำนวน 6 คน ในปีการศึกษาที่ 1/2540 เนื่องจากมีบุคลากรที่มีคุณวุฒิสูงและมีจำนวนเพียงพอสำหรับรองรับนักศึกษาในระดับนี้ได้ นอกจากนี้บุคลากรในห้องปฏิบัติการนี้ยังได้มีส่วนร่วมในโครงการปริญญาโทระดับนานาชาติคือ โครงการ “Environmental Risk Assessment for Tropical Exosystems” ซึ่งเป็นโครงการร่วมกับประเทศเยอรมัน ห้องปฏิบัติการที่จัดตั้งขึ้นนี้มีประโยชน์มากสำหรับพัฒนาและปรับปรุงงานวิจัยทางสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจะอำนวยประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการเรียนการสอนและการวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกของภาควิชาเคมี และสำหรับงานวิจัยระดับสูงของประเทศเพื่อพัฒนาสุขอนามัยของประชาชนได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำให้แก่ชุมชนด้วย ห้องปฏิบัติการนี้เป็นที่ริเริ่มพัฒนาเทคนิคชุดอุปกรณ์และ/หรือเครื่องมือแบบง่ายและมีราคาถูกโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในประเทศไทย ห้องปฏิบัติการนี้จะร่วมมือกับศูนย์เกษตรภาคเหนือ โครงการราชดำริ กรมป่าไม้ Birkbeck College the University of London; Water Studies Centre, Chisholm Institute of Technology, Australia; Department of Chemistry, John Moores University, England; Department of Chemistry, the University of Hull, England และสิ่งแวดล้อมภาคเหนือ

ข. สถานที่

ห้อง 1-328-1-331 ณ ตึกเคมี อาคาร 1

ค. อุปกรณ์

ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ ได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาเคมี และคณะวิทยาศาสตร์ ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์การวิจัยต่าง ๆ ได้สะดวก ดังรายละเอียดในหัวข้อ 6 ของเอกสารนี้ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ นี้ยังได้สร้างอุปกรณ์ราคาถูกจากวัสดุที่มีราคาถูกและหาได้ง่ายในประเทศไทยอีกด้วย เช่น ระบบอัตโนมัติสำหรับวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมาก ๆ ทำให้มีขีดความสามารถในการวิจัยในด้านการวิเคราะห์สารตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมได้ตามมาตรฐานสากลทั่วไป

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ

4.1 เพื่อจัดตั้งและปรับปรุงห้องปฏิบัติการสำหรับวิเคราะห์สารมลพิษที่ตกค้างในสารตัวอย่าง จากสิ่งแวดล้อมสำหรับการเรียนการสอนและงานวิจัยในระดับอุดมศึกษาและสูงกว่า

4.2 เพื่อศึกษาและวิจัยสารมลพิษที่ตกค้างหรือปนเปื้อนในอากาศ ดิน น้ำ และอาหาร ฯลฯ และจะได้หาวิธีควบคุมและหลีกเลี่ยงต่อไป

4.3 พัฒนาเทคนิคหรือประดิษฐ์เครื่องมือหรือชุดอุปกรณ์สำหรับวิเคราะห์สารตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมด้วยความรวดเร็วและให้ข้อมูลเป็นที่เชื่อถือได้

เป้าหมายของห้องปฏิบัติการนี้ระยะแรกจะปรับปรุงห้องปฏิบัติการที่จดทะเบียนปี 2531 -2535 แล้วในด้านบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับวิเคราะห์สารตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วนระยะยาวจะได้หาแหล่งทุนสนับสนุนและ/หรือทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลหรือภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศต่อไป

5. งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่

งานวิจัยหลักของห้องปฏิบัติการนี้ได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาเคมี และคณะวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

5.1 A Study and Analysis of Water from Mae Ping Watershed.

5.2 Development of Flow Injection Analysis Technique for the analysis of Water and Stream Sediment.

5.3 Development of Injection Grade Sodium Chloride from Commercial Grade Sodium Chloride Manufactured in Thailand.

5.4 Determination of Pentachlorophenol (PCP) in Leather Products by Asselerated Solvent Extraction and High Performance Liquid Chromatography (HPLC)

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

1. Atomic absorption/emission spectrophotometer

2. Ultraviolet/visible spectrophotometer

3. Double distilled water apparatus

4. Gas chromatograph

5. High performance liquid chromatography

6. Home-made flow injection analysis systems

7. ชุดอุปกรณ์สำหรับหา BOD, COD และไนโตรเจน

8. pH meter

9. Conductivity meter

10. ICP-AES spectrophotometer

11. Ion chromatograph

12. Ion selective electrode

13. Polarograph

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยถึงปัจจุบัน

ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยที่ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ ได้ดำเนินการจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้

7.1 โครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน

7.1.1 ชื่อโครงการ

1. Development of low Cost Home-made Flow Injection Analysis(2531-2532)

2. A Study and Analysis of Water from Mae Ping Watershed (2532-2533)

3. A Study and Analysis of Ground Water from Chiang Mai Basin (2532-2534)

4. Development of Flow Injection Analysis Technique for the Anslysis of Water and Stream Sediment (2533-2534)

5. Environmental and Pollution Studies of the Mae Kuang River around the Northern Industrial Estate in Lamphun (2533-2534)

6. Development of Injection Grade Sodium Chloride from Commercial Grade Sodium Chloride Manufactured in Thailand (2538-2540)

7.1.2 แหล่งทุน

1. The Royal Society of Chemistry, London, England

2. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

6. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

7.2 การร่วมประชุมสัมมนา/ดูงาน/ฝึกอบรม/ศึกษาต่อ

7.2.1 การไปดูงาน ฝึกอบรมหรือร่วมกิจกรรมทางการวิจัย ณ ต่างประเทศ

1. ผศ.ดร.ยุทธศักดิ์ วณีสอน ได้ไปทำวิจัยและดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนเมษายน 2539

2. ผศ.ดร.สุรศักดิ์ วัฒเนสก์ ได้ไปดูงานวิจัยและสอนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนธันวาคม 2538 - เมษายน 2539

3. รศ.ดร.วิจิตร รัตนพานี ได้ไปดูงานที่ประเทศเยอรมนีและประเทศออสเตรเลียเมื่อเดือนพฤษภาคม 2540

4. นางสาวจุฬาลักษณ์ สิริลัพธ์ ได้ไปฝึกอบรมที่ประเทศอังกฤษเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม 2539

7.2.2 การไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ

1. อ.สุนันทา วังกานต์ ได้รับทุนการศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัยไปศึกษาต่อที่ Birkeck College, University of London ประเทศอังกฤษ ปี 2539

7.2.3 การไปดูงานฝึกอบรม/หรือร่วมกิจกรรมทางวิชาการภายในประเทศทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ

ก. การประชุมระดับนานาชาติ

1. ผศ.ดร.เสาวณีย์ รัตนพานี และ ผศ.ดร.สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ได้ไปร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการ The Third International Symposium of Esternet-APR : Convertion of the Hydrospheric Environment ในปี 1996 โดยเสนอผลงานวิจัยคนละ 1 เรื่อง

2. ผศ.ดร.สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ ได้ไปประชุมสัมมนาและเสนอผลงานวิจัยจำนวน 2 เรื่องในการประชุมสัมมนา The Second International Conference on Environmental and Industrial Toxicology Research and Its Application ในปี 1996

3. ผศ.ดร.สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์ ได้ไปร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการและเสนอผลงานวิจัยจำนวน 2 เรื่อง ในการประชุมสัมมนา The Third Princess Chulabhorn Science Congress Water and Development, Water is Life ในปี 1995

ข. การประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ

1. การประชุมสัมมนาทางวิชาการ วทท.21 จัดเมื่อวันที่ 25-27 ตุลาคม 2538 มีสมาชิกในห้องปฏิบติการฯ เข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานคือ

- รศ.ดร.วิจิตร รัตนพานี

- รศ.ดร.เกตุ กรุดพันธ์

- ผศ.ดร.เสาวณีย์ รัตนพานี

- ผศ.ดร.สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์

2. การประชุมสัมมนาทางวิชาการ วทท.22 จัดเมื่อวันที่ 16-18 ตุลาคม 2538 มีสมาชิกในห้องปฏิบัติการฯ เข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานคือ

- รศ.ดร.วิจิตร รัตนพานี

- รศ.ดร.เกตุ กรุดพันธ์

- ผศ.ดร.เสาวณีย์ รัตนพานี

- ผศ.ดร.สายสุนีย์ เหลี่ยวเรืองรัตน์

- อ.ธีรบุญ พจนการุณ

8. ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่

8.1 ผลงานที่ได้รับตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ

8.1.1 K. Grudpan, S. Liawruangrath and P. Sooksamiti, “Flow Injection Spectrophotometric Determination of Uraium with In-Valve Ion-Exchange Column Preconcentration and Separation”, Analyst (London), 120(1995)2107.

8.1.2 K. Grudpan, P. Sooksamiti and S. Liawruangrath, “Determination of Uranium in Tin Tailings Using 4-(2-pyridylazo) resorcinol by Flow-Injection Analysis”, Anal. Chim. Acta, 314(1995)51.

8.1.3 K. Grudpan et.al., “Determination of Lead in Soil Samples by In-valve Solid Phase Extraction Flow Injection Flame Atomic Absorption Spectrometry” Analyst, 121(1996)1413.

8.2 ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมวิชาชีพหรือวารสารทางวิชาการซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับของวงการวิชาการระดับชาติ

8.2.1 S. Liawruangrath and W. Ouangpipat, “Flow Injection Spectrophotometric Determination of Copper in Waters Using 4-(12-Pyridylazo)resorcinol)”, J. of Sci., in the press.

8.3 ผลงานวิจัยที่ได้ไปนำเสนอในการประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ (International Conference)

8.3.1 ผลงานวิจัยที่ได้รับตีพิมพ์เป็น full details ใน Proceedings

1. S. Liawruangrath and W. Boonchumji, “Monitoring of Some Trace Meatls in Water Samples from Ping River”, The Third International Symposium of Eternet-APR : Conservation of the Hydrospheric Environment, Proceedings, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, December B-4, 1996, pp.v11-102-v11-108.

2. S. Rattanaphani and A. Chaisena, ““Monitoring of Some Trace Meatls in Water Samples from Ping River”, The Third International Symposium of Eternet-APR : Conservation of the Hydrospheric Environment, Proceedings, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, December 3-4, 1996, pp.v11-95-v11-101.

8.3.2 ผลงานวิจัยที่ได้รับตีพิมพ์เฉพาะบทคัดย่อใน proceedings

1. S. Liawruangrath, et.al., “Development of Low-Cost Flow Injection Procedures for Nituate Nitrite and Sulphate Determination in Water from Ping River”, Princess in the Third Princess Chulabhorn Science Congress Water and Development, Water is Life, 11-15 December 1995.

2. S. Liawruangrath, et.al., “Some Trace Metals and Organochlorine Pesticides in Water Sample from Ping River”, Princess in the Third Princess Chulabhorn Science Congress Water and Development, Water is Life, 11-15 December 1995.

3. S. Liawruangrath, et.al., “Development of Simple Low-Cost Flow Injection Procedure for Chromium Determination in Waste Water”, The Second International Conference on Environmental and Industrial Toxicology Research and Its Application, 9-13 December 1996.

4. S. Liawruangrath, et.al., “Determination of Some Heavy Metals in Fish Sauce”, The Second International Conference on Environmental and Industrial Toxicology Research and Its Application, 9-13 December 1996.