1. ชื่อหน่วยวิจัย : หน่วยวิจัยหินอัคนีและแร่เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง |
Igneous Rocks and Related Ore Deposits Research Unit |
ภาควิชา
ธรณีวิทยา2. สมาชิก
1. นายยืนยง ปัญจสวัสดิ์วงศ์ |
ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย |
2. นายกิตติศัพท์ เรืองวัฒนาศิริกุล |
สมาชิก |
3. นายบูรพา แพจุ้ย สมาชิก |
สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล :
1. เก็บรวบรวมข้อมุลอย่างเป็นระบบ เนื่องจากข้อมูลในปัจจุบันมีมากและกระจัดกระจาย ไม่สามารถนำมาใข้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
2. วิเคราะห์ที่มาของข้อมูล เพื่อความถูกในการแปลความหมายของข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
3. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้ผลการวิจัยมีความสมบูรณ์ในตัวเอง
4. ศึกษาวิวัฒนาการการกำเนิดของหินอัคนีและแหล่งแร่ที่เกี่ยวข้อง ด้วยการแปลความหมายจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
5. ประเมินศักยภาพของแหล่งแร่ และเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ เพื่อผลในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. ศึกษาวิวัฒนาการการกำเนิดของหินอัคนีและแหล่งแร่ที่เกี่ยวข้อง จากลักษณะทางกายภาพ ศิลาวรรณนา และธรณีเคมี เพื่อให้ทราบที่มาของต้นกำเนิด และสภาวะแวดล้อมที่ทำให้มีการเกิดของแหล่งแร่
2. ศึกษาการแพร่กระจายของแหล่งแร่ในหินอัคนี เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพ ศิลาวรรณนา และธรณีเคมี ระหว่างหินอัคนีที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับแหล่งแร่ เพื่อกำหนดบริเวณที่มีศักยภาพทางแร่ สำหรับเป็นแนวทางในการสำรวจและพัฒนาให้เป็นแหล่งแร่ทางเศรษฐกิจ
3. ผลการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้วจะใช้เป็นแม่แบบในการศึกษาศักยภาพของแหล่งแร่ชนิดอื่นๆในประเทศไทย
5. งานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่
1. ศึกษาการแผ่กระจายของหินอัคนีและแหล่งแร่ที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษาลักษณะทางศิลาวรรณนา และธรณีเคมีของหินอัคนี
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว :
1. กล้องจุลทรรศน์
2. เครื่องบดหิน
3. เครื่องทำแผ่นหินบาง
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
ตั้งแต่รายงานผลสัมฤทธิ์ปีก่อน ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยใหม่ มีดังนี้คือ
ผลงานที่เสนอในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
(1) Geochemistry and tectonic setting of eruption of central Loei volcanics in the Pak Chom area, Loei, Northeast Thailand. (เอกสารหมายเลข 1)
(2) Geology of the Doi Suthep metamorphic complex and adjacent Chiang Mai Basin.