1. ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการวิจัยฟังไจ

Fungal Research Laboratory

ภาควิชา ชีววิทยา

2. สมาชิก

1. อาจารย์ ดร.อุราภรณ์ สอาดสุด

ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย

2. รองศาสตราจารย์ ดร.สายสมร ลำยอง

สมาชิก

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ จาติเสถียร

สมาชิก

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิญญา ผลิโกมล

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดังนั้น ผลผลิต เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่ว ฯลฯ จึงมีอยู่มากและมีราคาถูก การนำวัตถุดิบเหล่านี้มาแปรให้เป็นผลผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนและอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญ ประชาชนมีรายได้มากขึ้น ช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น วัตถุดิบเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนได้ก็ต้องอาศัยจุลินทรีย์และเทคโนโลยีทางชีวภาพเข้าช่วย จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นี้ส่วนหนึ่งเป็นฟังไจ ฟังไจเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ประกอบไปด้วย เห็ด รา และยีสต์ ฟังไจหลายชนิดมีความสัมพันธ์กับคน สัตว์ และพืช ซึ่งมีผลต่อระบบนิเวศ ตลอดจนความเป็นอยู่ของประชากรในสังคม ยีสต์เป็นฟังไจเซลล์เดี่ยว มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น การผลิตแอลกอฮอล์และการทำขนมปัง ฯลฯ ฟังไจที่เป็นเส้นสายเรียกว่าเชื้อรา หลายชนิดมีความสำคัญในการผลิตเอนไซม์ กรดอินทรีย์ และสารปฏิชีวนะ รวมทั้งเกี่ยวข้องในการผลิตอาหารปรุงรส เช่น การทำเต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว และอาหารหมักพื้นเมือง ราหลายชนิดทำให้สิ่งของเสียหาย ตลอดจนเป็นสาเหตุของโรคในคน สัตว์ และพืช ฟังไจที่มีการสร้างฟรุตติงบอดีขนาดใหญ่เรียกว่าเห็ด เห็ดหลายชนิดรับประทานได้ และมีคุณค่าทางโภชนาการ ทางภาคเหนือมีเห็ดเผาะหรือเห็ดถอบที่มีรสอร่อย และยังไม่พบรายงานว่าสามารถเพาะเลี้ยงให้เป็นดอกเห็ดได้ในอาหารสังเคราะห์ เห็ดหลายชนิดเป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค หรือเป็นยาอายุวัฒนะ เช่น เห็ดหอม และเห็ดหลินจือ ฟังไจบางชนิดอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น อยู่ร่วมกับสาหร่าย เป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าไลเคนส์ อาจนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงระดับมลพิษของสภาวะแวดล้อม มีประโยชน์ในทางนิเวศวิทยา ฟังไจที่อยู่กับรากพืชเรียกว่าไมคอไรซา มีทั้งชนิดที่เป็นเชื้อรา และชนิดที่เป็นดอกเห็ด ช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตดี มีความต้านทานโรคพืช และทนต่อสภาพขาดแคลนอาหารได้ดีกว่าพืชที่ไม่มีไมคอไรซา การศึกษาไมคอไรซาจะมีประโยชน์อย่างยิ่งในแง่ของการปลูกป่า

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1. เพื่อศึกษา รวบรวม และเก็บรักษาฟังไจ

2. เพื่อพัฒนาการนำฟังไจที่มีประโยชน์ในด้านต่างๆ ไปใช้ให้ได้ผลจริง

3. เพื่อหาทางควบคุมฟังไจที่ทำให้เกิดความเสียหาย

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

1. การสำรวจ การเก็บรวบรวมและการเก็บรักษาเชื้อเห็ดรา

2. การผลิตกรดอินทรีย์ เอนไซม์และสารปฏิชีวนะจากฟังไจ และหาแนวทางการนำฟังไจ มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

3. การสกัดสารต้านเชื้อเห็ดราจากสมุนไพร

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

1. UV visible spectrophotometer

2. HPLC

3. Incubators

4. Autoclave

5. Water bath

6. Low temperature centifuge

7. pH meter

8. Lyophilizer

9. Transfer chamber

10. Lamina flow

11. Microwave oven

12. Stomacher

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

7.1 การเสนอผลงานวิจัยในการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ

อุราภรณ์ สอาดสุด อภิญญา ผลิโกมล ศักดิ์มนตรี นาชัยเวียง ศิริพร หัสสรังสี เสน่ห์ ชุมแสน อณิสณี แทนอาษา ดวงจันทร์ ก้อนทรัพย์ วนิดา ผ่อนมณี นิคม พุทธิมา ศุลิเชษฐ์ ทองกล่ำ นิฤมล ลิมปิโชติพงษ์ และ วารุณี บวรรัตโตภาค. 2541.เห็ดจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 2538-2539. การประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น “การศึกษาและสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว” 17 เมษายน 2541. โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ, เชียงใหม่.

Hassarangsri, S., U. Sardsud, M. Sukchotiratana and A. Plikomol. 1997. The Ganoderma on Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai. 23rd Cangress on Science and Technology of Thailand. Chiang Mai.

Plikomol, A., M. Supalaksanakorn and P. Sriyotha. 1997. Isolation of microorganisms for chitin degradation. The 2nd JSPS-NRCT-DOST-LIPI-VCC Seminar Biotechnology : An Essential Tool for Future Development?. Suranaree University of Technology (SUT) Nakhon Ratchasima.

Pongputhachat, D. and S. Lumyong 1997. Isolation and screening for xylanase production by endophytic fungi isolated from oak trees. The 2nd JSPS-NRCT-DOST-LIPI-VCC Seminar Biotechnology : An Essential Tool for Future Development?. Suranaree University of Technology (SUT) Nakhon Ratchasima.

Putimar, N., U. Sardsud, M. Sukchotiratana and A. Plikomol. 1997. Growth of Pleurotus ostreatus on ruzi grass, guinea grass and sawdust. 23rd Congress on Science and Technology of Thailand. Chiang Mai.

Rattanakit, N. and A. Plikomol. 1997. Screening of thermophilic microorganisms capable of chitinase production. 23rd Congress on Science and Technology of Thailand. Chiang Mai.

Sriburee, P., Jatisatienr, C., Khanjanasthiti, P., Vanittanakom N., Waraurai, S.(1997). Sex steroid hormones and conidium-to-yeast like transformation of Penicillium marneffei.กำหนดการและบทคัดย่อการประชุมวิชาการวันมหิดล ครั้งที่ 21 (24 กันยายน 2540) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่เวชสาร (Chiang Mai Medical Bulletin) 36 (3, suppl.), p 49.

Sriburee, P., Jatisatienr., C. Khanjanasthiti, P., Vanittanakom, N., Woraurai, S. 1997. The effect of the carbon source concentration, temperature, pH and CO2 on transformation of Penicillium marneffei from conidia. Proceeding of 23rd Congress on Science and Technology of Thailand,Chiang Mai. Tongkantha, S. and S. Lumyong. 1997. Isolation and screening for mannanase production by endophytic fungi isolated from bamboo. The 2nd JSPS-NRCT-DOST-LIPI-VCCSeminar Biotechnology : An Essential Tool for Future Development?. Suranaree University of Technology (SUT) Nakhon Ratchasima.

7.2 การได้รับทุนวิจัย

7.2.1 จากโครงการ BRT เพื่อสำรวจความหลากหลายของเห็ดในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และบริเวณใกล้เคียง

7.2.2 จาก EC ผ่านมหาวิทยาลัยสุรนารี โดยร่วมทำวิจัยกับนักวิจัยในมหาวิทยาลัย Notthingham ประเทศอังกฤษ