กิจกรรมพิเศษ

.

การจัดประชุม วทท. 23

คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ ได้จัดประชุมวิชาการ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในภูมิภาค” ระหว่างวันที่ 20-22 ตุลาคม 2540 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว โดยกิจกรรมหลักของงานประกอบด้วย การบรรยายทางวิชาการของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา การเสวนางานวิจัยยอดเยี่ยมของ สวทช. การเสนอและประกวดผลงานวิจัยในรูปโปสเตอร์และนิทรรศการ Research’97 เป็นต้น

การจัดประชุมครั้งนี้ ทางคณะผู้จัดได้รับเกียรติอย่างยิ่งจาก Prof. David M. Lee เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ เมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งมาบรรยายในหัวข้อเรื่อง “ของไหลยิ่งยวด”

Prof. David M. Lee ได้รับปริญญาเอกทางฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยเยล ในปี 2502 และได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย เช่น รางวัล Sir Francis Simon Memorial ของ The Institute of Physics รางวัล Oliver E. Buckley ทางฟิสิกส์ของแข็ง ของสมาคมฟิสิกส์แห่งสหรัฐ อเมริกา เป็นต้น

.

หน่วยงานดีเด่น

ศูนย์วิจัยนิวตรอน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานที่ได้รับรางวัล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรประเทศไทย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลว่า คณะกรรมการ บริหารมูลนิธิฯ ได้เล็งเห็นว่า ศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง เป็นศูนย์วิจัยทางด้าน ฟิสิกส์นิวเคลียร์ชั้นนำของประเทศ มีความสำเร็จสูงในด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการ พัฒนาบุคลากร ด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์ ผลิตบุคลากรในระดับ ปริญญาตรี โท และเอก มีคณะทำงานผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมาก จากการพิจารณาของ คณะกรรมการถึงความเหมาะสม ของหน่วยงานที่ถูกเสนอชื่อ เข้ารับรางวัลได้ตัดสินให้ ศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติมีมูลค่า 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง คือ รองศาสตราจารย์ ดร. ถิรพัฒน์ วิลัยทอง และคณะได้เข้ารับรางวัลดังกล่าว ณ โรงแรมฮิลตัน อินเตอร์เนชั่นแนล ในวันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2541

 

ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นระดับอุดมศึกษา

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีการคัดเลือกครูวิทยาศาสตร์ ดีเด่น เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณของครู ที่มีความดีเด่นทางด้าน การสอนวิทยาศาสตร์และสร้างคุณประโยชน์ในด้านการให้การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ แก่ประเทศชาติ ตลอดจนเพื่อให้ครูที่มีผลงานดีเด่นทางการสอนวิทยาศาสตร์ ได้รับการยกย่องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ครูวิทยาศาสตร์ โดยในปี 2541 ผู้ได้รับรางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ระดับอุดมศึกษาคือ

รองศาสตราจารย์ บุญรักษา สุนทรธรรม

รองศาสตราจารย์ บุญรักษา สุนทรธรรม นอกจากเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ แล้ว ยังดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิชาการ ของคณะวิทยาศาสตร์ และเป็นประธานสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ อีกด้วย

.

บุคลากรดีเด่นของคณะวิทยาศาสตร์

บุคลากรดีเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ ปี 2540

คณะวิทยาศาสตร์ โดยคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกบุคลากรดีเด่น ได้ดำเนินการคัดเลือกบุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้ใน ประกาศของคณะวิทยาศาสตร์แล้ว เห็นสมควรยกย่องและเชิดชูเกียรติแก่ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานดีเด่น ในปี 2540 และได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2540 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ (ครุฑทองคำ) จากนายกรัฐมนตรี คือ

นายณรงค์ชัย ธงพิทักษ์

คุณณรงค์ชัย ธงพิทักษ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งพนักงานวิทยาศาสตร์ สังกัดภาควิชาเคมี มีหน้าที่ดูแล รับผิดชอบห้องปฏิบัติการพอลิเมอร์ รับผิดชอบเครื่องไออาร์ และช่วยงานวิจัยคณาจารย์และนักศึกษา

บุคลากรดีเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ ปี 2541

คณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกบุคลากรดีเด่นพิจารณาแล้วสมควรยกย่องเชิดชูเกียรติ แก่ข้าราชการที่ปฏิบัติงานดีเด่น ปี 2541 ของคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่

นางสาวพรรณนิภา คันธรส ,นางปราณี ปาลี ,นายประยูร ปันธิ

นางสาวพรรณนิภา คันธรส ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6 สังกัดภาควิชาธรณีวิทยา มีหน้าที่รับผิดชอบงาน ด้านบริหารและธุรการ โดยทำหน้าที่เป็นหัวหน้า ฝ่ายธุรการ ควบคุมดูแลงานในด้านธุรการของ ภาควิชา

นางปราณี ปาลี ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ 5 สังกัดภาควิชาชีววิทยา มีหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบงานพิพิธภัณฑ์พืช งานช่วยปฏิบัติการของภาควิชา และช่วยงานวิจัยของคณาจารย์

นายประยูร ปันธิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นักการภารโรง สังกัดภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่โรเนียวเอกสาร ถ่ายเอกสารและบริการ ในการจัดประชุมต่างๆของภาควิชา