การบริการวิชาการแก่สังคม |
.
ในรอบปีที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการ สร้างต้นแบบความร่วมมือกับบริษัทเอกชนโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยคณะวิทยาศาสตร์ได้มีความร่วมมือกับบริษัทลานนาโปรดักส์ จำกัด ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนการวิจัยที่มีศักยภาพต่อการขยายผลสู่ภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคม นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อประยุกต์ พัฒนาและปรับเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัยให้เป็นเทคโนโลยีต้นแบบใหม่ ๆ เพื่อถ่ายทอดสู่ภาคการ ผลิตในอุตสาหกรรม โดยเริ่มต้นจากกลุ่มวิจัยที่มีความพร้อมและมีประสบการณ์ในการ ทำวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมก่อน และคณะวิทยาศาสตร์ได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจาก ภายในและภายนอกคณะมาร่วมเป็น Technology Liaison Group เพื่อแสวงหาความ ร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน
คณะวิทยาศาสตร์ได้สร้างฐานข้อมูล Supply List ซึ่งเก็บและรวบรวมข้อมูลความ สามารถและทักษะของคณาจารย์ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการแสวงหา ความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้คณะฯยังได้ริเริ่มจัดตั้งห้อง ปฏิบัติการกลางที่สามารถให้บริการทดสอบและสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO/IEC Guide 25-1990 เพื่อสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการให้บริการ ทดสอบและสอบเทียบของกรม วิทยาศาสตร์บริการ และเพื่อเป็นการประกันคุณภาพการศึกษาและการวิจัยภายใน คณะวิทยาศาสตร์อีกด้านหนึ่งด้วย
นอกจากนี้คณะวิทยาศาสตร์ยังได้ให้บริการวิชาการแก่สังคมในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อกระจายความ รู้สู่ชุมชน และเพื่อแก้ปัญหาของสังคม เช่น การฝึกอบรมสัมมนาด้านวิทยาศาสตร์ (
ดูภาคผนวกที่ 3) การบริการวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ทดสอบดิน ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้น คณาจารย์ของคณะก็ไปร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนนอกจากกิจกรรมเหล่านี้ คณะวิทยาศาสตร์ยังได้จัดพิมพ์จุลสาร "
วิทยาสาร" เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แก่ชุมชนเป็นประจำทุก 2 เดือน และได้บรรจุจุลสารดังกล่าวลงใน Web siteของคณะวิทยาศาสตร์ www.science.cmu.ac.th.