ความร่วมมือกับนานาชาติ |
กิจกรรมภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการ |
.
ความร่วมมือด้านดาราศาสตร์
ทุนอุดหนุนการวิจัย
หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี ได้รับเงินทุนอุดหนุนการวิจัยร่วมกับกลุ่มนักวิจัยจากหอดูดาวยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ National Natural Science Foundation of China ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำการวิจัยเรื่อง " การวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและการวิวัฒนาการของระบบดาวคู่แบบเกือบแตะกันบางระบบ" โดยเป็นการวิจัยประเภทโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2542-2544
การเสนอและตีพิมพ์ผลงานวิจัย
1. เสนอผลงานวิจัย เรื่อง " Physical Properties of an Eclipsing Binary System, YY Eridani" ในการประชุม "4th East Asian Meeting on Astronomy : Observational Astrophysics in Asia and its Future" ณ เมืองคุนหมิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 3-10 กุมภาพันธ์ 2542 ผลงานวิจัยนี้ ตีพิมพ์ใน Proceedings ของการประชุมและในวารสารคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับเดือน มิถุนายน 2542
2. เสนอผลงานวิจัย เรื่อง " Short Time Scale Variation of a Near-contact Binary System, GR Tauri " ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับหอดูดาวยูนาน ในการประชุม " 1999 Pacific Rim Conference on Stellar Astrophysics" University of Hong Kong, Hong Kong China ระหว่าง 2-8 สิงหาคม 2542
3. เสนอผลงานวิจัย เรื่อง "A Hybrid Orbit-Finite Difference Treatment of Oblique Shock Acceleration" ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุม " 26th International Cosmic Ray Conference" ณ Salt Lake City , Utah, U.S.A. ระหว่างวันที่ 16-26 สิงหาคม 2542
4. เสนอผลงานวิจัยเรื่อง " การลุกจ้าในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้ของระบบดาวคู่ อาร์ เอส ซีวีเอ็น , เอช อาร์ 1099 " โดยเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ หอดูดาวปักกิ่ง (ระหว่างปี 2538-2542) ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งทื่ 25 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ระหว่างวันที่ 20-22 ตุลาคม 2542
อุปกรณ์สนับสนุนการวิจัย
ปี 2541 หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดซื้อ ระบบ CCD Spectrograph เพื่อใช้ในการศึกษาสเปกตรัมของระบบดาวคู่ สำหรับโครงการวิจัยที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต
.