ความร่วมมือกับนานาชาติ

กิจกรรมภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการ

.

ศูนย์วิจัยนิวตรอน

ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ต.ค. 2541 – 30 ก.ย. 2542 ศูนย์วิจัยนิวตรอนมีผลการดำเนินงาน รวมถึงความร่วมมือกับต่างประเทศสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. การศึกษาวิจัยทางด้านฟิสิกส์นิวตรอน

การพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ศูนย์วิจัยนิวตรอนมีอุปกรณ์หลักที่มีคุณภาพอันได้แก่ เครื่องเร่งอนุภาคผลิตรังสีนิวตรอนพลังงานสูงแบบห้วง และระบบอิเล็คทรอนิกส์บันทึก-วิเคราะห์ข้อมูลแบบหลายพารามิเตอร์ รวมถึงหัววัดรังสีชนิดต่างๆ ซึ่งได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัยทางด้านต่างๆ อันได้แก่

1.1 การพัฒนาเทคนิค Prompt Gamma Analysis (PGA) เพื่อการวิเคราะห์ธาตุเบา เช่น C, N และ O แบบ Bulk Elemental Analysis ซึ่งล่าสุดได้ประสพความสำเร็จในการใช้เทคนิคนี้ตรวจบันทึก fingerprint ของวัตถุระเบิดหลายชนิดอันได้แก่ TNT, M2, M112, แอมโมเนียมไนเตรทและยูเรีย

1.2 การวัดค่าสเปคตรัมของอนุภาคนิวตรอนที่กระเจิงหลุดออกมาจากนิวเคลียสของธาตุชนิดต่างๆ อันเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ สำหรับการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์ และเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการออกแบบเตาปฏิกรณ์ปรมาณูชนิดต่างๆ การวิจัยทางด้านนี้เป็นงานที่ละเอียดอ่อนและต้องใช้เวลามาก กล่าวคือสำหรับธาตุแต่ละชนิดจะต้องใช้เวลาในการทดลองแบบ real time ประมาณ 180 ชั่วโมง (โดยทั้งนี้ ยังไม่ได้นับรวมเวลาที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ภายหลัง) ขณะนี้เราได้ข้อมูลที่สมบูรณ์แล้วของธาตุ 2 ชนิด คือ เหล็กและบิสมัธ ส่วนธาตุที่จะทำการทดลองวัดต่อไปในอนาคตคือ ทังสเตน

2. การศึกษาวิจัยทางด้านไอออน – พลาสมา

ประสพการณ์ที่ได้รับจากการพัฒนาเครื่องเร่งอนุภาคขึ้นเองได้ถูกนำมาใช้สร้างเครื่องฝังไอออน (Ion Implanter) ขนาด 150 kV ซึ่งประสพความสำเร็จเป็นอย่างดี และปัจจุบันกำลังถูกนำมาใช้ในงานวิจัยต่างๆ ที่สำคัญได้แก่

2.1 การใช้ไอออนบีมชนิดต่างๆ ฝังลงบนผิวของ tool steel ซึ่งปรากฏผลว่าทำให้เหล็กกล้าแข็งขึ้นกว่าเดิม 2 – 3 เท่า การศึกษาในด้านลึกกำลังดำเนินไปอย่างขะมักเขม้น เพราะได้พบว่าผลสัมฤทธิ์ขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่างด้วยกัน เช่น ชนิดและสัดส่วนผสมของไอออนบีม เป็นต้น

2.2 การฝังไอออนลงบนเซลล์พืชและสัตว์ ซึ่งจะเป็นผลงานวิจัยที่เปิดพรมแดนใหม่ให้กับการศึกษาทางด้าน Biophysics ของเมืองไทย จากผลการศึกษาขั้นต้นที่ให้ผลลัพธ์ในเชิงบวก และได้รับความสนใจมากในการประชุมที่กรุงปักกิ่ง เมื่อ 21 กันยายน 2542 งานวิจัยทางด้านนี้จะได้รับการพัฒนาอย่างแข็งขันต่อไป

3. การศึกษาวิจัยทางด้าน Coherent Light Source

โครงการพัฒนา Far Infrared Coherent Light Source ความเข้มสูงกำลังก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Stanford แห่งสหรัฐอเมริกาก็เป็นจริงเป็นจังมากขึ้นด้วย ดังจะเห็นส่วนหนึ่งได้จากการมาร่วมปฏิบัติงานที่ศูนย์วิจัยนิวตรอนเป็นเวลา 2 อาทิตย์ ในระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม 2542 ถึง 8 พฤศจิกายน 2542 ของ Prof. Helmut Wiedemann จาก Department of Experimental Physics มหาวิทยาลัย Stanford

4. ในปีที่ผ่านมาศูนย์วิจัยนิวตรอนได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารนานาชาติ ดังนี้คือ

5. บุคลากรของศูนย์วิจัยนิวตรอน ได้ไปเสนอผลงานทางวิชาการในการประชุมนานาชาติ ดังนี้คือ

รายงานประจำปี 2542

.