1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย |
ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity Research Laboratory) |
|
ภาควิชา |
ชีววิทยา |
|
2. สมาชิก |
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ดาวรุ่ง กังวานพงศ์ (Assoc. Prof. Dr. Daoroong Kangwanpong) |
ผู้ประสานงาน |
2. รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพย์มณี ภะระตะศิลปิน (Assoc. Prof. Dr. Thipmani Paratasilpin) |
||
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริศนา จริยวิทยาวัฒน์ (Assist. Prof. Prisna Chariyavidhayawat) |
||
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัทยา กาวีวงศ์ (Assist. Prof. Hattaya Kawewong) |
||
5. รองศาสตราจารย์ ดร. อารยา จาติเสถียร (Assoc. Prof. Dr. Araya Jatisatienr) |
||
6. อาจารย์ ดร.ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา (Dr. Srisulak Dheeranupattana) |
3. หลักการและเหตุผล
ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา โดยมุ่งเน้นไปทางด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ เราได้สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบถึงการสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติไปอย่างน่าเสียดาย การศึกษาสภาพความหลากหลายทางชีวภาพอันเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการอนุรักษ์ และการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้เริ่มมาเป็นเวลานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของชนิดหรือสปีซีส์ของสิ่งมีชีวิตทั้ง สัตว์ พืช และจุลินทรีย์ หรือความหลากหลายทางนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว แต่ยังขาดการศึกษาด้านความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตในการเตรียมพร้อมที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบตัว อันจะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ และเผ่าพันธุ์อยู่รอดได้ภายใต้พลังขับดันทางวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงประสงค์ที่จะทำการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของทั้งสัตว์ พืช และมนุษย์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมีประชากรหลายเผ่าพันธุ์ เพื่อศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรม ตลอดจนความผันแปรของอัลลีลซึ่งเกิดจากพลังขับดันตามธรรมชาติหลาย ๆ รูปแบบ นอกจากนั้นข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว ยังสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตอันจะเป็นประโยชน์ในด้านการแพทย์ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม อีกด้วย
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรมของทั้งสัตว์ พืช และมนุษย์ ตลอดจนความผันแปรของอัลลีล อันทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว
5. งานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
6.1 ตู้ทำงานปลอดเชื้อและเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
6.2 ตู้เลี้ยงเซลล์พร้อมระบบจ่ายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
6.3 กล้องจุลทรรศน์ ชนิดฟลูออเรสเซนต์ ชนิดเลนส์ประกอบ ชนิดเลนส์วัตถุอยู่ด้านล่าง
6.4 เครื่องวิเคราะห์ดีเอ็นเอ พร้อมอุปกรณ์ถ่ายภาพ
6.5 เครื่องเพิ่มปริมาณ DNA
6.6 เครื่องปั่นตกตะกอนสาร
6.7 ตู้เย็น และ ตู้แช่แข็ง
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยตั้งแต่ตุลาคม 2541 ถึงกันยายน 2542
7.1 การสำรวจสถานภาพช้างไทย มีผลงานตีพิมพ์ 2 เรื่อง
7.1.1 Lungka G, Siriaroonrat B, Kangwanpong D, Masuda R. Activities and status of the elephant conservation center of Lampang, Thailand. Jpn J Zoo Wildl Med 1999;4(1):39-43.
7.1.2 Siriaroonrat B, Angkawanish T, Kangwanpong D, Masuda R. A survey report on wild elephants at Huay Poo Ling, Mae Hong Son Province, Thailand with notes on their status. Jpn J Zoo Wildl Med 1999;4(1):65-71.
7.2 ศึกษาโครโมโซม และลำดับเบสของ mitochondrial D-loop DNA ของช้างไทยในศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ลำปาง มีผลงานตีพิมพ์ 1 เรื่อง เป็นบทคัดย่อในการสัมมนาวิชาการ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียม manuscript เพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
7.2.1 Srikummool M, Kangwanpong D, Rangsiyanan J, Parinyapattanaboot T, Pruksakorn S, Mahasavangkun S, Siriaroonrat B. Karyotypes and mitochondrial D-loop DNA sequences in captive Asian elephants (Elephas maximus). Abstract of the 11st National Genetics Congress. Nakornrachasrima, October, 1999.
7.3 ศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรในชาวเขา 6 เผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง เย้า อีก้อ มูเซอ ลีซอ และแม้ว โดยใช้ Y-microsatellites เป็นงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท 2 คน ภายใต้ชื่อเรื่อง
7.3.1 Analysis of Y Haplotypes in Karen and Hmong Based on Microsatellites.
7.3.2 Analysis of Y Haplotypes in Yao and Lahu Based on Microsatellites.
มีความสำเร็จของงานวิจัย 70% คือ ทราบความถี่ของอัลลีลที่ microsatellite 2 ตำแหน่งในทั้ง 6 ประชากร สามารถคำนวณหา genetic distance และหาความสัมพันธ์ระหว่างประชากรได้
8. การให้บริการวิชาการ
มีโครงการนำร่องชื่อ การตอบสนองทางเซลล์พันธุศาสตร์ของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด chronic myelogenous leukemia ซึ่งได้รับการรักษาด้วยยา alpha-interferon เพื่อประเมินว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ในการที่จะเปิดบริการวิเคราะห์โครโมโซมในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดโลหิตขาว ซึ่งเป็นการให้บริการวินิจฉัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่สามารถทำรายได้ให้แก่ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
โครงการดังกล่าวได้รับทุนวิจัยจากเงินดอกผลกองทุนคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2541 ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมรายงานขั้นสุดท้าย
สืบเนื่องจากโครงการนี้ มีผลงานตีพิมพ์ข้อมูลที่เกี่ยวเนื่อง 1 เรื่อง
8.1 ดาวรุ่ง กังวานพงศ์, วิชัย อติชาตการ, แสงสุรีย์ จูฑา, สุนทรี อภิบาล, วรภา หีบจันทร์ตรี, พัชรินทร์ เอื้อวิวัฒน์สกุล. โครโมโซมผิดปกติและการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดโลหิตขาวชาวไทย. ใน: ไพศาล เหล่าสุวรรณ, บรรณาธิการ. รวมผลงานสัมมนาวิชาการพันธุศาสตร์ ครั้งที่ 11. นครราชสีมา, 2542, (in press).
9. ศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน
มีศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยเพื่อให้บริการการทดสอบ และให้คำปรึกษาด้านเวชพันธุศาสตร์ หากมีโรงพยาบาลเอกชนสนใจ (ถ้าสามารถสร้างความร่วมมือในระดับนโยบายกับคณะแพทยศาสตร์ได้ จะมีศักยภาพสูงขึ้นในการดำเนินงาน)