1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย |
ปรสิตวิทยา (Parasitology) |
||
ภาควิชา |
ชีววิทยา |
||
2. สมาชิก |
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชโลบล วงศ์สวัสดิ์ (Assist.Prof. Dr. Chalobol Wongsawad) |
ผู้ประสานงาน |
|
2. อาจารย์ ดร.อำนาจ โรจนไพบูลย์ (Dr. Amnat Rojanapaibul)3. อาจารย์ ดร.กนกพร กวีวัฒน์ (Dr. Kanokporn Kaweewat) 4. อาจารย์ฉมาภรณ์ นิวาศะบุตร (Lecturer Shamaporn Niwasabutra) 5. นายธนู มะระยงค์ (Mr.Tanu Marayong) 6. นายสบชัย สุวัฒนคุปต์ (Mr. Sobchai Suwattanacoupt) |
สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล (ของการจัดตั้งห้องปฏิบัติการนี้)
ปรสิตมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งคนและสัตว์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม การศึกษาทางปรสิตวิทยาปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยกันมากอาทิเช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ การระบาดของระยะติดต่อ โครงสร้างของผิวหนังเพื่อดูการนำสารอาหารเข้าออกจากลำตัว เป็นต้น จะมีการศึกษาทั้งในระดับพื้นฐาน ระดับจุลภาค และระดับโมเลกุล เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการป้องกันเพื่อตัดวงชีวิตของพยาธิไม่ให้มีการระบาดจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ได้ ห้องปฏิบัติการวิจัยปรสิตวิทยาได้มีการศึกษาทางด้านปรสิตวิทยาทั้งพื้นฐานและจุลภาค และมีจุดมุ่งหมายที่จะนำไปสู่การศึกษาทางด้านนี้ให้กว้างขวางและมีประโยชน์ต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมในการป้องกันทางสาธารณสุข หากเราไม่ทราบว่าในท้องถิ่นที่เราอยู่มีปรสิตอะไร สภาวะเป็นอย่างไร มีวงชีวิตอย่างไร เมื่อเกิดปัญหาเช่นการระบาดของโรคขึ้นแล้วย่อมเป็นการยากที่จะแก้ปัญหาในขณะนั้นได้ การได้รับรู้ข้อมูลเบื้องต้นและมีการวิจัยอย่างต่อเนื่องย่อมเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อศึกษาปรสิตวิทยาของพยาธิในคนและสัตว์ ทั้งระยะตัวอ่อน ระยะติดต่อ และระยะตัวเต็มวัยโดยเฉพาะในสัตว์น้ำในลำน้ำสายสำคัญของเชียงใหม่คือลำน้ำแม่สา การศึกษาชีววิทยาของตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะติดต่อที่ติดถึงคน อาทิเช่น Stellantchamus, Haplorchis เป็นต้น
5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 ศึกษาความหลากหลายของหนอนพยาธิในลำน้ำแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ สนับสนุนโดย BRT
5.2 ศึกษาโครงสร้างระดับจุลภาคโดย paraffin section, SEM, TEM
5.3 ระบาดวิทยาและวงชีวิตพยาธิใบไม้ขนาดเล็กในลำไส้ใน family Heterophyidae
5.4 ศึกษาชีววิทยาพยาธิใบไม้ในกระเพาะผ้าขี้ริ้ว พยาธิหัวหนามและพยาธิใบไม้ที่ติดถึงคนบางชนิด
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
6.1 กล้อง stereo, compound พร้อมอุปกรณ์วาดรูปและถ่ายรูป
6.2 เครื่องวิเคราะห์คุณภาพน้ำแบบกระเป๋าหิ้ว
6.3 อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ และเก็บตัวอย่าง
6.4 อุปกรณ์ตัดเนื้อเยื่อและยืดเนื้อเยื่อ
6.5 อุปกรณ์ผ่าตัดและอุปกรณ์เครื่องแก้ว
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
8. การให้บริการวิชาการของห้องปฏิบัติการในด้านต่างๆ อาทิเช่น
1. ช่วยบริการแนะนำในการตรวจหาพยาธิในสัตว์ อาทิเช่น ปลา งู ไก่ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และตัวอ่อนเมตาเซอคาเรียซึ่งเป็นระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ เป็นต้น
2. ให้คำแนะนำวิธีการศึกษาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์โดยทั่วไป และ SEM
มีความพร้อมหากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องอยากจะมาร่วมวิจัยด้วย