1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย |
ธรณีวิทยาแหล่งน้ำ (Geology of Water Resources) |
|
ภาควิชา |
ธรณีวิทยา |
|
2. สมาชิก |
(1) รองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์พอ อาสนจินดา |
ผู้ประสานงาน |
(2) ศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ ระมิงค์วงศ์ (3) อาจารย์ ดร.พิษณุ วงศ์พรชัย (4) นางมยุรี พรหมพุทธา (5) Mr William G. Prewett (6) นายวันชาติ ริมวิทยากร |
3. หลักการและเหตุผล(ของการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยนี้) :
ห้องปฏิบัติการวิจัยธรณีวิทยาแหล่งน้ำ ภาควิชาธรณีวิทยา จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับการศึกษาวิจัยแหล่งน้ำธรรมชาติในเชิงปริมาณและคุณภาพ หรือในแง่มุมทางอุทกธรณีวิทยาและอุทกธรณีเคมี ห้องปฏิบัติการวิจัยนี้ยังจะเป็นกำลังส่วนหนึ่งของศูนย์วิจัยน้ำคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งจัดตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2530 โดยความร่วมมือของ 4 ภาควิชาในคณะวิทยาศาสตร์ อันได้แก่ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และธรณีวิทยา นอกจากนี้ยังเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยที่สนับสนุนการศึกษาวิจัยของคณะทำงานพลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมทรัพยากรธรณี และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยปฏิบัติงานภายใต้ คณะอนุกรรมการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ.2539 เป็นต้นมา
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย :
วัตถุประสงค์ของห้องปฏิบัติการวิจัยธรณีวิทยาแหล่งน้ำมีด้วยกัน 3 ข้อใหญ่ๆ :-
1. ศึกษาวิจัยสภาพธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา และอุทกธรณีเคมีของแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป
2. ศึกษาวิจัยมลภาวะของแหล่งน้ำผิวดิน/ใต้ดิน และแนวทางป้องกันแก้ไข และ
3. ศึกษาวิจัยแหล่งน้ำพุร้อน ทั้งในด้านแหล่งพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ
โดยเป้าหมายในระยะแรก (พ.ศ.2539-2542) ได้มุ่งเน้นไปที่การเก็บข้อมูลโดยการสำรวจทางธรณีวิทยา และธรณีเคมีเพื่อประโยชน์ในการจัดการและการควบคุมมลพิษในแหล่งน้ำธรรมชาติ บริเวณแอ่งเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง สำหรับเป้าหมายในระยะที่สอง (พ.ศ.2543-2546) จะมุ่งเน้นที่การวิจัยร่วมกับสถาบัน หรือ องค์กรอื่นๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในด้านสภาวะแวดล้อมของแหล่งน้ำ และ การพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่มีศักยภาพ
5. งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่ :
5.1 ธรณีเคมีและสภาพอุทกธรณีวิทยาของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในภาคเหนือ
โครงการวิจัย :
(1.) Investigation of the hydrology of the Fang geothermal system by isotope and geochemical tools..
(2.) Regional database (Thailand, Indonesia, Philippines and China) on geothermal waters.
(3.) Interlaboratory comparison (Thailand, Indonesia, Philippines and China).
ทุนสนับสนุน : จากทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ระยะเวลาทำการวิจัยต่อเนื่อง 3 ปี(1998-2000)
5.2 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ชุ่มน้ำในบริเวณแอ่งเชียงใหม่
โครงการวิจัย : การสำรวจสารพิษในระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญบริเวณแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน.
ทุนสนับสนุน : จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณ 2542 จำนวน 120,000 บาท ระยะเวลาทำการวิจัย 1 ปี
5.3 การศึกษาวิจัยอื่นๆ
5.3.1 Impact of fluorite ore bodies on quality of groundwater and on incidence of dental fluorotoxicosis in the local population of Ban Hong, Changwat Lamphun. (นาง มยุรี พรหมพุทธา และ Mr.William G. Prewett)
5.3.2 Regional database (Thailand, Indonesia, Philippines and China) on geothermal waters (อ.ดร.พิษณุ วงศ์พรชัย)
5.3.3 Interlaboratory comparison (Thailand, Indonesia, Philippines and China).(นาง มยุรี พรหมพุทธา และ Mr.William G. Prewett)
5.3.4 การสร้างและพัฒนาอุปกรณ์เก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อบาดาลที่ระดับความลึกที่ต้องการ (นายวันชาติ ริมวิทยากร)
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว :
- Atomic Absorption Spectrophotometer (Perkin Elmer, Mod. 2380)
- UV-Visible Spectrophotometer (ATI Unicam, Mod. SP 500 Series 2)
- pH/Ion/Conductivity Meter (Fisher Scientific, Mod. 50)
- Turbidimeter Series 965
- เครื่องแก้วต่างๆ เช่น บิวเรต, ปิเปต, ขวดรูปชมพู่, บิกเกอร์ เป็นต้น
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยตั้งแต่ ตุลาคม 2541 - ธันวาคม 2542 :
7.1 ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ ในวารสารของสมาคมวิชาชีพหรือวารสารทางวิชาการซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับของวงการวิชาการระดับนานาชาติ
1. Prewett, W.G., and Promphutha, M., 1999. Evaluation of an algorithm for interpreting atomic absorption data. Spectrochemica Acta Part B, v. 54/3-4, p. 571-580.
2. Kiratisewee, S., Prewett, W.G., and Asnachinda, P., 1999. Synthetic manganese dioxide as a collector for sensitive streamwater surveys. Jour. Geochemical Exploration, Elsevier, (in press)
7.2 ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ ในวารสารของสมาคมวิชาชีพหรือวารสารทางวิชาการซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับของวงการวิชาการระดับชาติ
1. พงษ์พอ อาสนจินดา และ มยุรี พรหมพุทธา, 2541. การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟลูออไรด์เป็นพิษ โดยอาศัยค่าฟลูออไรด์กัมมันตภาพสัมพัทธ์ที่คำนวณได้จากองค์ประกอบทางเคมีของน้ำดื่ม, วิทยาสาร, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , กันยายน-ตุลาคม 2541, หน้า 6-7
7.3 ผลงานที่เสนอในที่ประชุมระดับนานาชาติ
1. Asnachinda, P., Praserdvigai, S., Prewett, W.G., and Promputha, M.,1999. Geochemical and isotopic investigations of Fang geothermal system, northern Thailand. Paper presented at the IAEA Regional Workshop on Assesmant of Achievment on Project RAS/8/075, 15-19 November 1999, Bandung, Indonesia.
2. Asnachinda, P., Praserdvigai, S., Prewett, W.G., and Promputha, M.,1999. Geochemical and isotopic investigations of Fang geothermal system, northern Thailand. Paper presented at "Group Training on Geothermal Conceptual Modeling and Production Geochemistry" organized by PNOC-EDC and the IAEA on May 4th, 1999 at Leyte Geothermal Project, Ormoc City, Philippines.
3. Ramingwong, T., Lertsrimongkol, S., Asnachinda, P. and Praserdvigai, S., 1998. Update on Thailand Geothermal Energy Research and Development. Paper presented at "Workshop on Utilization of Geothermal Energy Resources" organized by the IAEA on 16-20 November 1998 at Morelia, Mexico.
7.4 ผลงานเสนอในที่ประชุมระดับชาติ
1. Asnachinda, P., Praserdvigai, S., Prewett, W.G., and Promputha, M.,1999. Geochemical and isotopic investigations of Fang geothermal system, northern Thailand. Presented at the Symposium on "Mineral Energy and Water resources of Thailand : Towards the year 2000" October 28-29, 1999. Chulalongkorn University, Bangkok.
2. พงษ์พอ อาสนจินดา, สุรชัย ประเสริฐวิกัย, วิลเลียม จี. พรูเอท, และ มยุรี พรหมพุทธา, 2541. การศึกษาทางธรณีเคมีและไอโซโทปของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง จังหวัดเชียงใหม่. โปสเตอร์นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการ วทท.24 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ , 19-21 ตุลาคม 2541 กรุเทพฯ.
8. การให้บริการวิชาการของห้องปฏิบัติการวิจัยด้านต่างๆ :
8.1 ให้บริการวิคราะห์และตรวจสอบคุณภาพน้ำแก่องค์กรภาครัฐ และเอกชนทั่วไป
8.2 บรรยายพิเศษด้านคุณภาพน้ำของเชียงใหม่แก่หน่วยงานภายนอก
8.3 ให้คำปรึกษาทั่วไปด้านธรณีวิทยาแหล่งน้ำ
9. ศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน
คณะทำงานของห้องปฏิบัติการวิจัยธรณีวิทยาแหล่งน้ำ มีศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนในเรื่อง
1. การสำรวจ การพัฒนา และ การป้องกันการปนเปื้อน แหล่งน้ำใต้ดิน และ
2. การพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ