1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย |
อาคารวิจัยนิวตรอนพลังงานสูง (Fast Neutron) |
2. รายชื่อสมาชิก |
คณาจารย์ Lecturer 1. นายถิรพัฒน์ วิลัยทอง Mr. Thiraphat Vilaithong 2. นายนรา จิรภัทรพิมล Mr. Nara Chirapatpimol 3. นายวิวัฒน์ ตียาสุนทรานนท์ Mr. Viwat Teeyasoontranont 4. นายสมศร สิงขรัตน์ Mr. Somsorn Singkarat 5. น.ส. ดุษฎี สุวรรณขจร Ms. Dusudee Suwannakachorn 6. นายธีรวรรณ บุญญวรรณ Mr. Dheerawan Boonyawan 7. นายอุดมรัตน์ ทิพวรรณ Mr. Udomrat Tippawan 8. นายประดุง สวนพุฒ Mr. Pradoong Suanpoot 9. นายมิญช์ เมธีสุวกุล Mr. Min Medhisuwakul นักวิทยาศาสตร์/วิศวกรวิจัย Scientist/Engineer 10. นายเสวต อินทรศิริ Mr. Saweat Intarasiri 11. นายบุญรักษ์ พันธ์ไชยศรี Mr. Boonrak Phanchaisri 12. น.ส.ช่ออัญชัน ประพันธ์ศรี Ms. Chowunchun Prapunsri 13. นายสตานิสลาฟ ดาวิด็อฟ Mr. Stanislav Davydov 14. นายยู เหลียงเติ้ง Mr. Yu Liangdeng 15. นายไมเคิล โรดส์ Mr. Michael Rhodes เทคนิคเชี่ยน Technician 16. นายราเชนทร์ เจริญนุกูล Mr. Rachen Charoennugul 17. นายโฉม ทองเหลื่อม Mr. Chome Thongleurm 18. นายปถม วิชัยศิริมงคล Mr. Prathom Vichaisirimongkol 19. นายศักดิ์ชัย อ่ำแก้ว Mr. Sakchai Aumkaew 20. นายสุวิชา รัตนรินทร์ Mr. Suvicha Rattanarin 21. นายทวนศักดิ์ ทิพย์ประสิทธิ์ Mr. Tuansak Tipprasith 22. นายวิฑูร อะโน Mr. Vithun A-no 23. นายระเบียบ สุวรรณโกสุม Mr. Rabiab Suwanakosom 24. นายทองสุข กลัดภิรมย์ Mr. Thongsuk Kradpirom 25. นายวิฑูรย์ จินะมูล Mr. Vithun Jinamul เลขานุการ/ธุรการ Secretaries 26. นางสุมัทนา ธารารักษ์ Ms. Sumattana Tararux 27. นางกุสุมาลย์ เดชธรรมรงค์ Ms. Kusumal Dechthummarong นักการ Housekeeper 28. นายปิยะ ทัศนศรี Mr. Piya Tassanasri 29. นายธนศักดิ์ ฟักทอง Mr. Tanasak Fakthong 30. นายพินิจ แสนแปง Mr. Pinij Sanpang |
3. หลักการและเหตุผล
วิชาฟิสิกส์เป็นหัวใจของวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นวิชาเคมี, ชีววิทยา, แพทย์ศาสตร์ ฯลฯ เมื่อต้องการคำอธิบายระดับลึกล้วนหนีไม่พ้นหลักการพื้นฐานจากวิชาฟิสิกส์ ในปัจจุบันวิชาฟิสิกส์ได้รับการพัฒนาไปไกลมากแล้ว ประเทศที่เจริญแล้วทุกประเทศล้วนมีห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ที่เทียบพร้อมด้วยอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ขั้นสูง อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่มีคุณค่ามากมายทั้งในแง่ทฤษฎีและในแง่ประยุกต์ ซึ่งปัจจุบันมีใช้อยู่ในแทบจะทุกวงการ
อาคารวิจัยนิวตรอนพลังงานสูง จึงได้ถือกำเนิดขึ้นโดยความตั้งใจที่จะพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนี้ขึ้นมาในประเทศไทย ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ปัจจุบันนี้เราได้ประสพความสำเร็จในการใช้เครื่องเร่งอนุภาคผลิตรังสีนิวตรอน เพื่อการศึกษาทางด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์และประยุกต์ เพื่อในการใช้เครื่องเร่งอนุภาคผลิตไอออนชนิดต่างๆ เพื่อการศึกษาทางด้านการเคลือบแข็งผิวโลหะ ฯลฯ
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
4.1 เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ควบคู่กับเครื่องเร่งอนุภาค อันได้แก่เทคโนโลยีสูญญากาศระดับสูง แม่เหล็กไฟฟ้าความละเอียดสูง พลาสมา และการเคลือบฝังไอออน (Ion Implantation)
4.2 เพื่อรักษาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ทางด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์ของประเทศ มิให้สูญหายและ/หรือขาดตอน
4.3 เพื่อนำความก้าวหน้าทางด้านฟิสิกส์นิวตรอนมาประยุกต์ใช้งานในทางด้านการเกษตร การแพทย์ การอุตสาหกรรม ความมั่นคงของประเทสและการเรียนการสอน
4.4 เพื่อเป็นแหล่งพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีพื้นฐานประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อเป็นทรัพยากรต้นทุนที่มีความสามารถของประเทศ
4.5 เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยและเผยแพร่ผลงานของนักวิทยาศาสตร์ไทย จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. งานวิจัยที่ดำเนินการอยู่
5.1 การพัฒนาเทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนสมบัติเชิงผิว (Surface Modification) ด้วยอนุภาคชนิดต่างๆ เช่น ไนโตรเจนไอออน, อิเล็กตรอน, และพลาสมา
5.2 การพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือวิจัย เพื่อเสริมสร้างเทคโนโลยีพื้นฐานทางด้านระบบสูญญา-กาศ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์อินเตอร์เฟสและระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ แม่เหล็กไฟฟ้า การเคลื่อนที่ของไอออนและการปรับลำไอออนซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต
5.3 การศึกษาฟิสิกส์นิวเคลียร์พื้นฐาน ทางด้านปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใช้นิวตรอนเป็นอนุภาคกระตุ้น ทั้งในเชิงทดลอง (Pulsed Neutron Time-of-Flight Experiment) และในเชิงทฤษฎี (Nuclear Reaction Calculation)
5.4 การประยุกต์นิวตรอนทางด้านการเกษตรและการแพทย์ และการนำเทคนิคทางด้านนิวเคลียร์มาใช้ในการวิเคราะห์ธาตุ เช่น การวิเคราะห์ธาตุในอัญมณี การตรวจสอบวัตถุระเบิด ฯลฯ หรือการศึกษาชีวฟิสิกส์ ของขบวนการ Neutron Capture Therapy
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่
เครื่องเร่งอนุภาคแบบ Nanosecond Pulsed Beam ระบบแต่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หัววัดรังสีชนิดต่างๆ ระบบเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ มูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 15 ล้านบาท
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยตั้งแต่ตุลาคม 2541 ถึงกันยายน 2542
7.1 ประสพความสำเร็จในการจัดทำ finger print ของวัตถุระเบิด โดยใช้เทคนิค Prompt Gamma Analysis
7.2 ประสพความสำเร็จในการพัฒนาเทคนิคใหม่ ใช้สำหรับการอ่านสเปคตรัมแสงของ TLD (Thermoluminescence Dosimeter)
8. การให้บริการวิชาการของหน่วยวิจัย/ห้องปฏิบัติการวิจัยในด้านต่างๆ อาทิ
การให้บริการทดสอบ ตรวจสอบ การให้คำปรึกษา ฯลฯ
9. ศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน
มีความพร้อมที่จะทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับเอกชน ในด้านการเพิ่มความคงทนต่อการสึกหรอให้กับเครื่องมือกล และการพัฒนาระบบ Freeze Dry