1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย |
หอพรรณไม้และฐานข้อมูลของพืชพรรณ (Herbarium and Flora Database) |
||
ภาควิชา |
ชีววิทยา |
||
2. สมาชิก |
1. รศ. ดร. วิไลวรรณ อนุสารสุนทร |
ผู้ประสานงาน |
|
2. Mr. J.F. Maxwell |
สมาชิก |
||
3. Dr. Stephen Elliott |
สมาชิก |
||
4. นางปราณี ปาลี 5. นายเกริก ผักกาด 6. นางสาวรุ่งทิวา ปัญญายศ 7. นางสาวพินดา สิทธิสุนทร 8. Mr. Simon Gardner |
สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
ภาควิชาชีววิทยา นอกจากจะให้บริการทางด้านการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นแหล่งศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตภาคเหนือตอนบนอีกด้วย ปัจจุบันนี้ได้มีข้อมูลเกี่ยวกับพรรณไม้และงานวิจัยเกี่ยวกับแหล่งพรรณพืช (flora) ของบริเวณต่าง ๆ มากพอที่จะให้บริการและเผยแพร่ความรู้ไปยังนักวิชาการและชุมชนที่สนใจที่จะค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมในแนวประยุกต์ได้ สมาชิกที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหอพรรณไม้ได้ให้บริการแก่บุคคลภายนอกที่เข้ามาขอใช้บริการในการให้คำปรึกษา ตลอดจนช่วยบ่งบอกชนิด (identify) พรรณพืชเสมอมา และจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้บริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้มาขอใช้บริการได้แก่ นักวิจัยเกี่ยวกับพรรณไม้ บุคลากรจากองค์กรเอกชน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สมาชิกผู้ร่วมงานมีความเห็นว่าสมควรจะจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อให้มีการเก็บตัวอย่างพืชเพิ่มขึ้น มีการวิจัยเกี่ยวกับตัวอย่างเหล่านี้ เพื่อจะได้เป็นแหล่งวิชาการทางด้านพรรณพืชของคณะต่อไป
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อทำการวิเคราะห์พรรณไม้ตามวิธีทางพฤกษอนุกรมวิธาน
2. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเก็บพรรณไม้แห้ง และสร้างฐานข้อมูลของตัวอย่างพรรณไม้
3. เพื่อให้บริการแก่ชุมชนเกี่ยวกับแหล่งพืชพรรณ และในการบ่งชนิดของพรรณไม้
4. เพื่อให้บริการในการเก็บตัวอย่างพรรณไม้ ซึ่งจะใช้ในการวิจัยขั้นประยุกต์แก่หน่วยงานอื่น ๆ ที่ได้ขอมา
5. งานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 คู่มือศึกษาพรรณไม้ในเขตภาคเหนือ ได้รับทุนสนับสนุนจก IUCN (The world Conservation Union) และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย
6. อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว
6.1 อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่าง
6.2 เครื่องมือใช้ในการอัดแห้งของพืช
6.3 ตู้อบขนาดใหญ่
6.4 ตำราพรรณไม้ต่าง ๆ บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรูปวิธานในการบ่งชนิดของพืช
6.5 สารเคมีที่จะรักษาสภาพตัวอย่างพืชแห้ง
6.6 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 งานเกี่ยวกับพรรณไม้
7.1.1 การเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ปี 2542 เก็บตัวอย่างจำนวน 1,000 ตัวอย่าง
7.1.2 การให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ และนักศึกษาที่มาสอบถามหรือมาดูงานของหอพรรณไม้ เช่น สถาบันราชภัฏจอมบึง ราชบุรี, สถาบันราชภัฏเชียงราย, โรงเรียนดำรงศึกษาสงเคราะห์ เป็นต้น
7.1.3 สำรวจความหลากหลายของพรรณไม้มีท่อและการกระจายของพรรณไม่ทางภูมิศษสตร์ ณ.อุทยานแห่งชาติดอยหลวง จ. เชียงราย ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ BRT ส่งรายงานขั้นสุดท้ายเมื่อเดือน สิงหาคม 2542
7.2 ผลงานตีพิมพ์
Maxwell, J.F., S. Elliott, P. Palee and V. Anusarnsunthorn, 1995. The vegetation of Doi Khuntan National Park, Lamphun-Lampang Provinces, Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 43(2): 185-206.
Maxwell, J.F. 1996. Botanical Notes of the Flora of Northern Thailand, 5. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 44(1): 11-22.
Maxell, J.F. 1996. Vegetation of the Mae Soi Conservation Area, Chom Tong District, Chiang Mai Province, Thailand, Tigerpaper (FAO) 23:1, 22-27.
Maxwell, J.F., S. Elliott, P. Palee and V. Anusarnsunthorn, 1997. The vegetation of Jae Sawn National Park, Lamphun Province, Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 45(1): 71-97.
Maxwell, J.F.1998. Upland Vegetation of Doi Chiang Dao Wildlife Sancturary, Chiang Mai Province, Thailand. Tigerpaper 25:3, 5-11.
Maxwell, J.F. 1998. Botanical Notes on the Flora of Northern Thailand, 6. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 46:2, 151-159.
Maxwell, J.F. 1998. Description of jVegetation Types In Altobelli, A.; G. Daconto., E. Feoli, J.F. Maxwell, C. Milesi, and E. Rui. Environmental Protection and Community development in Siphandone Wetland; Champasak Province, Lao P.D.R. Environlment assesment of Siphanone Wetland, Interim Report, June 1998; CESVI (Italy); 30-43.
Maxwell, J.F. 1998. Botanical Note : Book Review, Alain Mauric. A Bibliography of Taxonomic Revisions for Vascular Plants in Thailand (October 1998). Nat. Hist. Bull., Siam Soc. 46:2, 245.
Maxwell, J.F. 1999. Vegetation of Doi Luang National Park, Northern Thailand. Tigerpaper (FAO), inpress.
8. การให้บริการทางวิชาการของหน่วยวิจัย
เดือนตุลาคม 2541- กันยายน 2452 ได้ให้บริการทางวิชาการดังนี้
8.1 ให้บริการทางวิชาการแก่ผู้มาใช้หอพรรณไม้ที่เป็นบุคคลทั่วไป จำนวนประมาณ 300 คน
8.2 ให้การอบรมแก่ผู้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของป่าไม้โดยใช้พรรณไม้ท้องถิ่น ของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ในวันที่ 24-25 มีนาคม 2542
8.3 ให้ความรู้แก่นักศึกษาวิชา General Plant Taxonomy เกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างแห้ง