การวิจัย

.

การส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยในอนาคตอันใกล้ ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมกิจกรรมวิจัยของคณาจารย์และข้าราชการในสังกัด เพื่อการการพัฒนาทั้งองค์ความรู้ทางวิชาการ และ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคและด้านสารบรรณ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงได้กำหนดพันธกิจสร้างระบบส่งเสริมงานวิจัยอย่างครบวงจร ที่ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ หลายประการ อาทิการสนับสนุนการรวมกลุ่มนักวิจัยทุกแขนงวิชา การให้โอกาสและส่งเสริมศักยภาพในการทำวิจัยให้แก่นักวิจัยหน้าใหม่ และ การเสริมสร้างวัฒนธรรมวิจัยขององค์กรเป็นต้น ในรอบปีงบประมาณ 2542 ที่ผ่านมาคณะวิทยาศาสตร์ได้สนับสนุนด้านการเงินในงานวิจัยและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้

รายการ

จำนวน

(ราย)

จำนวนเงิน(บาท)

1. สนับสนุนค่าตีพิมพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการที่สำนักพิมพ์เรียกเก็บ

5

44,904

2. ตอบแทนผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานสากล

24

64,500

3. สนับสนุนการดำเนินการที่มีผลสัมฤทธิ์ของหน่วยวิจัยและห้องปฏิบัติการวิจัย

37

350,000

4. สนับสนุนนักวิจัยไปเสนอผลงาน ณ ที่ประชุมทางวิชาการต่างประเทศ

23

321,629

5. สนับสนุนนักวิจัยไปเสนอผลงาน ณ ที่ประชุมทางวิชาการในประเทศ

96

ประมาณ 270,000

6. สนับสนุนไปร่วมฝึกอบรมดูงานและทำวิจัยต่างประเทศ

5

126,600

7. จัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนทุกประเภทที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของคณะกรรมการวิจัยประจำคณะ

26

2,205,000

รวม

 

3,382,633

ทุนอุดหนุนการวิจัย

ในปี 2542 นักวิจัยคณะวิทยาศาตร์ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 20,494,104.32 บาท มีทั้งโครงการวิจัยที่ได้รับทุนต่อเนื่องและโครงการวิจัยระยะสั้น ดังนี้

1. ทุนจากคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 21 โครงการ เป็นเงิน 2,025,000.-บาท

2. ทุนจากดอกผลกองทุนคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 โครงการ เป็นเงิน 130,000.-บาท

3. ทุนจากกองทุนจุลวิจัยวิทยาศาสตร์ ศ.ดร.นพ.ณัฐ ภมรประวัติ จำนวน 1 โครงการ เป็นเงิน 50,000.-บาท

4. ทุนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 4 โครงการ เป็นเงิน 87,000.-บาท

5. ทุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 11 โครงการ เป็นเงิน 1,564,674.-บาท

6. ทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จำนวน 12 โครงการ เป็นเงิน 10,169,654.-บาท

7. ทุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

7.1 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ จำนวน 4 โครงการ เป็นเงิน 2,761,206.-บาท

7.2 โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (สกว/ศช-สวช) จำนวน 1 โครงการ เป็นเงิน 507,550.-บาท

8. ทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

8.1 ประเภทกำหนดเรื่อง จำนวน 1 โครงการ เป็นเงิน 500,000.-บาท

8.2 ประเภทโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศ

9. ทุนจาก Shell International Renewables Ltd. จำนวน 1 โครงการ เป็นเงิน 1,113,233.66 บาท

การเผยแพร่ผลงานวิจัย

ในรอบปีที่ผ่านมา มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์โดยมีการตีพิมพ์ในวารสารและในการประชุมวิชาการต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ โครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ และมีหัวข้อวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ดังนี้

    1. ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ จำนวน 27 เรื่อง (ดูภาคผนวก 6/1)
    2. ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 11 เรื่อง (ดูภาคผนวก 6/2)
    3. ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่นำเสนอในที่ประชุมระดับนานาชาติ จำนวน 43 เรื่อง (ดูภาคผนวก 6/3)
    4. ผลงานทางวิชาการที่นำเสนอในการประชุมวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 25 จำนวน 96 เรื่อง (ดูภาคผนวก 6/4)
    5. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ จำนวน 38 เรื่อง (ดูภาคผนวก 6/5)
    6. โครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ (ดูภาคผนวก 6/6)
    7. หัวข้อวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จำนวน 84 เรื่อง (ดูภาคผนวก 6/7)

ศูนย์นวัตกรรมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ ในคราวประชุมที่ 13/2542 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2542 ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Innovation and Development Center) เพื่อประยุกต์และปรับเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ได้สั่งสมจากผลงานวิจัยให้เป็นเทคโนโลยีต้นแบบใหม่ๆ ทีสามารถถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีวิสัยทัศน์ว่าสิทธิประโยชน์อันเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาจะให้ผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรมชัดเจนต่อสถาบัน และประเทศชาติโดยรวม รายได้จากการดำเนินการดังกล่าวนอกจากสามารถทำให้สถาบันเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณสนับสนุนเป็นจำนวนมากจากภาครัฐแล้ว ยังก่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์อีกด้วย สำหรับในชั้นต้นนี้การดำเนินงานของศูนย์นวัตกรรมฯ ได้เริ่มจากกลุ่มนักวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีความพร้อมและมีประสบการณ์ในการทำวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมมาแล้ว ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและยาจากผลิตผลการเกษตรและสมุนไพร ร่วมกับบริษัทเอกชน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมวิจัยและพัฒนาลักษณะดังกล่าว คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดสรรงบประมาณเงินรายได้จำนวนหนึ่งเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ระดับโรงงานต้นแบบ อีกทั้งจัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งของอาคารเรียนรวมฯ (ตึก 9 ชั้น) เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการเฉพาะกิจอีกด้วย

รายงานประจำปี 2542

.