1. ชื่อหน่วยวิจัย |
ความหลากหลายของจุลินทรีย์ (Microbial Diversity Research Unit) |
|
ภาควิชา |
ชีววิทยา |
|
2. สมาชิก |
(1) รศ. ดร. สายสมร ลำยอง |
ผู้ประสานงาน |
(2) อ. เนาวรัตน์ ชีพธรรม (3) ผศ. มรกต สุกโชติรัตน์ |
สมาชิก สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพกำลังเป็นแนวทางการศึกษา ที่เป็นความต้องการเร่งด่วนของประเทศไทย รวมทั้งประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่มีทรัพยากรทางด้านนี้อยู่และกำลังอยู่ในระหว่างการรอเซ็นสัญญาภาคีชีวภาพ (Agenda 2000) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตพวกพืช สัตว์และจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติในพื้นที่ของแต่ละประเทศ ข้อมูลพื้นฐานนี้โดยเฉพาะทางด้านจุลินทรีย์ยังขาดอยู่มาก ทั้งที่เป็น microscopic และ macroscropic microorganism ซึ่งรวมทั้งชนิดและจำนวน การกระจายในแต่ละถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติ ทำให้ไม่สามารถที่จะประเมินความสำคัญ บทบาทในธรรมชาติและความเสี่ยงในสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการมีอยู่หรือหายไปของจุลินทรีย์เหล่านี้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้เรายังมีความจำเป็นที่จะต้องสำรวจและเก็บรวบรวมจุลินทรีย์ไว้เพื่อนำไปพัฒนาที่จะใช้ประโยชน์ต่อไป
4. วัตุถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อสำรวจความหลากหลายของจุลินทรีย์กลุ่มต่างๆ เช่นฟังไจ แบคทีเรีย และแอกติโนมายซีส ที่กระจายอยู่ในธรรมชาติ ทั้งชนิด และปริมาณ
2. เพื่อศึกษาบทบาทของจุลินทรีย์กลุ่มที่สำคัญ
3.เพื่อศึกษาถีงความเป็นไปได้ที่จะนำจุลินทรีย์ที่ได้เก็บรวบรวมและผ่านการคัดเลือกแล้วไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมและทางการเกษตร
5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินอยู่
1. การสำรวจการกระจายของจุลินทรีย์ ที่อาศัยในต้นพืช (endophytic microbe)
2. การประเมินการเก็บรักษาจุลินทรีย์ผสมในดิน โดยวิธีการทำแห้ง (liquid dry) และทำแห้งแบบแช่แข็ง (lyophilization) การเก็บแอกติโนมายซีสในกลีเซอรอล เก็บที่ -20 องศาเซลเซียส การเก็บฟังไจในน้ำกลั่นฆ่าเชื้อที่ 4 องศาเซลเซียส
3. การสำรวจหาจุลินทรีย์ที่สร้างเอนไซม์ที่สลายและหรือสังเคราะห์โพลี่แซคคาไรด์บางชนิด
4. การสำรวจจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายของเสีย
5. การสำรวจและเก็บรวบรวมจุลินทรีย์ที่สร้าง secondary metabolite เพื่อต่อต้านราหรือแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคพืชและโรคคน
6. อุปกรณ์ เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
1. หม้อนึ่งอัดไอ
2. ตู้บ่มเชื้อที่ปรับอุณหภูมิได้
3. ตู้ถ่ายเชื้อ
4. เครื่องบ่มเชื้อที่เขย่าได้และปรับอุณหภูมิได้
5. เครื่องเขย่า
6. อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ
7. เครื่องวัดความเป็นกรดด่าง
8. เครื่องเหวี่ยงที่รอบสูงๆ
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยที่ดำเนินการไปแล้วในปีงบประมาณ 2541 (มิย 41- มิย 42)
7.1. ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย
1.1 ได้รับทุนจาก สภาวิจัยแห่งชาติภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น สนับสนุนการเวิจัยเรื่องการพัฒนาวิธีการในการคัดเลือกและใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่อาศัยในต้นพืช ซึ่งผลิตกรดอินทรีย์และโอลิโกแซคคาไรด์ ประจำปีงบประมาณ2539-42 เป็นเวลา 3 ปี (พค40-เมษา43).
1.2 ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก รุ่นที่ 1
1.3 ได้ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก รุ่นที่2
1.4 ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยโครงการ BRT ในการศึกษา endophytic fungi จากพืชป่าที่เป็น ไม้เนื้ออ่อน ประจำปีงบประมาณ 2542-2543 เป็นเวลา 2 ปี (มิย. 42-มิย. 43)
7.2 การตีพิมพิ์ผลงาน
1. Khanongnuch, C., S. Lumyong, T. Ooi and S. Kinoshita. 1999. A non-cellulase producing strain of Bacillus subtilis and its potential use in pulp biobleaching. Biotechnology Letter 21:61-63.
7.3 การเสนอผลงานในการประชุม
1. การประชุมนานาชาติ
1.1 Charoenmark, W., S. Lumyong and F. Tomita. 1998. Xylanase of Thermophilic fungus, Thermoascus auranticus SL16W. Biotechnology for a self-sufficient economy. The 10th Annual meeting of the Thai Society for Biotechnology. Nov. 25-27. BKK. Thailand.
1.2 Boontim, N. and S. Lumyong. 1998. Ability of lactic acid bacteria for organic acids production. "-------------"
7.4 มีความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์กับบุคคลในสถาบันต่างประเทศ เพิ่มจากรายงานปี 2540 คือ No. 3
1. Associate Professor Dr. Kevin Hyde. Department of Ecology and Biodiversity. The University of Hong Kong เป็นที่ปรึกษาร่วมในโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก รุ่นที่ 1 (2541-2545)
2. Prof. Fusao Tomita Lab of Applied Microbiology, faculty of Agriculture, Hokkaido University, Japan ทำวิจัยร่วมในโครงการ Large Scale cooperation JSPS-NRCT (2540-2542) และเป็นที่ปรึกษาร่วมในโครงการปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยฮอกไกโด
3. Associate professor Dr. Bernard Dell. Department of Plant Science, Murdoch University, Perth, W.A. 6150, Australia เป็นที่ปรึกษาร่วมในโครงการปริญญาเอกกาจณาภิเษก รุ่นที่2 (2542-2546)
4. Prof. Tachiki, Rhizamakan University ญี่ปุ่น ได้มีความร่วมมือในการวิจัยโครงการ JSPS-NRCT ระหว่างปี 2541-2545