1. ชื่อหน่วยวิจัย |
หน่วยติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยใช้ริ้นน้ำจืด (Environmental Quality Monitoring by using midges (Chironomidae)) |
|
ภาควิชา |
ชีววิทยา |
|
2. สมาชิก |
1. อาจารย์วีระศักดิ์ รุ่งเรืองวงศ์ |
หัวหน้าหน่วยวิจัย |
2. นายสุทัศน์ สุภาษี |
สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยในปัจจุบันแนวความคิดในเรื่องของ "ความหลากหลายทางชีวภาพ" ได้มีการศึกษากันอย่างแพร่หลายในทั้งพืชและสัตว์ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการมุ่งเน้นไปที่สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นที่พบเฉพาะในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง องค์ความรู้นี้จะมีความสำคัญที่จะนำไปสู่การบ่งบอกถึงสภาพสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่ และยังสามารถที่จะประยุกต์ใช้ในการบ่งชี้ถึงสถานการณ์ของสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้นๆ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบมาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เพื่อที่จะได้หาแนวทางในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและในระดับประเทศต่อไป
แนวความคิดของการใช้สิ่งมีชีวิตกลุ่มแมลงน้ำ (Aquatic insects) มาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและบ่งชี้สภาพสิ่งแวดล้อม ได้มีการศึกษาและนิยมกันอย่างแพร่หลายในอเมริกาเหนือและประเทศในแถบยุโรป โดยใช้เป็นแนวทางในการจัดการแหล่งน้ำต่างๆ และการวางแผนในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยความรู้ในเรื่องของความหลากหลายและความไวในการตอบสนองของแมลงในกลุ่ม (taxa) และชนิดต่างๆ และยังใช้เป็นแนวทางในการบ่งชี้ถึงนิเวศวิทยาของแหล่งน้ำอีกด้วย
แมลงน้ำกลุ่มริ้นน้ำจืด (Chironomids) เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และสามารถที่จะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับในการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ โดยสามารถที่จะใช้เป็น Biological indicator ในการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำได้ โดยอาศัยหลักการตรวจวินิจฉัยลงไปถึงระดับ genus และ species ที่สัมพันธ์กับคุณภาพน้ำในแต่ละแหล่งที่สิ่งมีชีวิตชนิดนี้อยู่อาศัย ก็จะสามารถบ่งชี้คุณภาพน้ำได้
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อทำการวิจัยและติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งระบบนิเวศน้ำไหลและน้ำนิ่ง โดยใช้แมลงน้ำวงศ์ริ้นน้ำจืด (Chironomidae) เป็นดัชนีทางชีวภาพในการประเมินคุณภาพน้ำ
2. เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงน้ำวงศ์ริ้นน้ำจืดในระบบนิเวศแหล่งน้ำแบบต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการบ่งชี้คุณภาพน้ำ
5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
ความหลากหลายทางชีวภาพของตัวอ่อนริ้นน้ำจืดและคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่สำคัญบริเวณที่ราบแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว และที่สามารถจัดหาได้
6.1 เครื่องมือวัดสภาพแวดล้อมในสนาม
- Altimeter
- Oxygen meter
- pH meter
- Conductivity meter
- Spectrophotometer ชุดสนาม
- Secchi's disc
6.2 อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างในสนาม
- Water sampler
- Ekman's grab
- อุปกรณ์เก็บตัวอย่างแมลงน้ำ เช่น pondnet, surber sampler
- ภาชนะบรรจุ เช่น ขวดเก็บน้ำ ถุงพลาสติกสำหรับเก็บตัวอย่าง
6.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
- มีดผ่าตัด
- ถุงมือ
- forcep
- ตู้เย็น
- Incubator
- ตู้อบตัวอย่าง
- อุปกรณ์ร่อนตัวอย่าง (ตะแกรงร่อน)
- Atomic Absorption Spectrophotometer
- กล้องจุลทรรศน์
6.4 วัสดุเครื่องแก้วและสารเคมี
- ภาชนะบรรจุ เช่น ขวดเก็บน้ำ ขวดเก็บตัวอย่างและถุงพลาสติกเก็บตัวอย่าง
- เครื่องแก้ว
- Flask
- Beaker
- Sample tube
- อื่น ๆ
- สไลด์และแผ่นปิดสไลด์ (Slide and Cover Slip)
- อัลกอฮอล์ 70% และฟอร์มาลิน
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
- Roongruangwongse, W. and S. Supasi. 1999. Biodiversity of Benthic Macroinvertebrates in Main Wetland at Chiang Mai-Lumphun Basin. Abstract of International Conference on Water Resources Management in Intermontane Basins. Chiang Mai. University. Thailand 2-6 February 1999. The Phucome Hotel. Chiang Mai. Thailand.