1. ชื่อหน่วยวิจัย

หินอัคนีและแร่เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง (Igneous Rocks and Related Ore Deposits)

ภาควิชา

ธรณีวิทยา

2. รายชื่อสมาชิก

1. นายยืนยง ปัญจสวัสดิ์วงศ์

2. นายกิตติศัพท์ เรืองวัฒนาศิริกุล

3. นายบูรพา แพจุ้ย

ผู้ประสานงาน

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล :

1. เก็บรวบรวมข้อมุลอย่างเป็นระบบ เนื่องจากข้อมูลในปัจจุบันมีมากและกระจัดกระจาย ไม่สามารถนำมาใข้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

2. วิเคราะห์ที่มาของข้อมูล เพื่อความถูกในการแปลความหมายของข้อมูลที่มีอยู่แล้ว

3. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้ผลการวิจัยมีความสมบูรณ์ในตัวเอง

4. ศึกษาวิวัฒนาการการกำเนิดของหินอัคนีและแหล่งแร่ที่เกี่ยวข้อง ด้วยการแปลความหมายจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว

5. ประเมินศักยภาพของแหล่งแร่ และเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ เพื่อผลในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1. ศึกษาวิวัฒนาการการกำเนิดของหินอัคนีและแหล่งแร่ที่เกี่ยวข้อง จากลักษณะทางกายภาพ ศิลาวรรณนา และธรณีเคมี เพื่อให้ทราบที่มาของต้นกำเนิด และสภาวะแวดล้อมที่ทำให้มีการเกิดของแหล่งแร่

2. ศึกษาการแพร่กระจายของแหล่งแร่ในหินอัคนี เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพ ศิลาวรรณนา และธรณีเคมี ระหว่างหินอัคนีที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับแหล่งแร่ เพื่อกำหนดบริเวณที่มีศักยภาพทางแร่ สำหรับเป็นแนวทางในการสำรวจ และพัฒนาให้เป็นแหล่งแร่ทางเศรษฐกิจ

3. ผลการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้วจะใช้เป็นแม่แบบในการศึกษาศักยภาพของแหล่งแร่ชนิดอื่นๆในประเทศไทย

5. งานวิจัยที่ดำเนินการอยู่

1. ศึกษาการแผ่กระจายของหินอัคนีและแหล่งแร่ที่เกี่ยวข้อง

2. ศึกษาลักษณะทางศิลาวรรณนา และธรณีเคมีของหินอัคนี

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่

1. กล้องจุลทรรศน์

2. เครื่องบดหิน

3. เครื่องทำแผ่นหินบาง

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยตั้งแต่ตุลาคม 2541 ถึงกันยายน 2542

7.1 ผลงานที่เสนอในการประชุมวิชาการในประเทศ

Petrology and Tectonic Setting of Eruption of Basaltic Rocks Penetrated in Well GTE-1, San Kamphaeng Geothermal Field, Chiang Mai, Northern Thailand (International Symposium on Shallow Tethys 5 : 1-5 February 1999)

7.2 งานวิจัย

Petrology and Tectonic Setting of Eruption of Basaltic Rocks Penetrated in Well GTE-1, San Kamphaeng Geothermal Field, Chiang Mai, Northern Thailand (ตีพิมพ์ใน Proceedings of the International Symposium on Shallow Tethys 5 : 1-5 February 1999)

8. การให้บริการวิชาการของหน่วยวิจัย/ห้องปฏิบัติการวิจัยในด้านต่างๆ

: ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียกชื่อหินแก่นักธรณีวิทยาจากกรมชลประทาน (ตุลาคม, 2541)

: ตรวจสอบตัวอย่างทางด้านศิลาวรรณนาแก่กรมชลประทาน (เมษายน, 2542)

9. ศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน

ศึกษาส่วนประกอบและเนื้อ ตลอดจนจัดแบ่งชนิดหิน และลำดับการเกิดแร่ ของหินตัวอย่าง ด้วยตาเปล่าและกล้องจุลทรรศน์ (petrography)