1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย |
ดาราศาสตร์โฟโตเมตรี (Astronomical Photometry Research Unit) |
|||
ภาควิชา |
ฟิสิกส์ |
|||
2. สมาชิก |
(1) นายบุญรักษา สุนทรธรรม |
ผู้ประสานงาน |
||
(2) นายสุมิตร นิภารักษ์ (3) มล.อนิวรรต สุขสวัสดิ์ (4) นายวิม เหนือเพ็ง (5) น.ส.นวลวรรณ สงวนศักดิ์ |
สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตั้งหอดูดาวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2520 โดยมีอุปกรณ์หลักคือ กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสงชนิดคาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าาาศูนย์กลาง 16 นิ้ว (40 เซนติเมตร) ทางกลุ่มวิจัยดาราศาสตร์ ได้พยายามพัฒนาเทคนิคและ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อสามารถใช้กล้องดูดาวดังกล่าวในการวิจัยได้ งานวิจัยที่ได้ดำเนินไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถึงปัจจุบันนั้น มี 2 ลักษณะ คือ งานวิจัยของคณาจารย์ในกลุ่มดาราศาสตร์ โดยขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ ในการวิจัย และงานวิจัยของนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
งานวิจัยหลักที่ดำเนินการในขณะนี้ก็คือ การใช้ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี ร่วมกับกล้องดูดาว ในการวิเคราะห์คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุท้องฟ้าชนิดต่าง ๆ เช่น ดาวคู่ กระจุกดาว ดาวหาง สารที่อยู่ระหว่างดาว เป็นต้น งานวิจัยทางด้านโฟโตเมตรีนี้ได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มดาราศาสตร์อย่างต่อเนื่อง มีการจัดหากล้องดูดาวขนาดต่าง ๆ เครื่องวัดที่ทันสมัย ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม สัญญาณและเก็บข้อมูล ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคทันสมัย มาใช้ในการวิจัยทางโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดตั้งหน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี ทำให้เห็นทิศทางของงานวิจัยในแขนงดาราศาสตร์ ของภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในอันที่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในศาสตร์แขนงนี้ การสนับสนุนให้หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพของคณะวิทยาศาสตร์ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่ทางกลุ่มดาราศาสตร์มีความต้องการอย่างยิ่ง
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อรวมกลุ่มนักวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ที่มีทักษะความชำนาญทางด้านการใช้เทคนิคทางโฟโตเมตรี ในการศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุท้องฟ้าชนิดต่าง ๆ ตลอดทั้งการร่วมกันวิจัยและพัฒนาเพื่อให้งานดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ
5. งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่
งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่ ได้แก่ การใช้เทคนิคทางโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี ศึกษาวัตถุท้องฟ้า โดยมุ่งเน้น ดาวคู่อุปราคา (Eclipsing Binaries) ซึ่งจะศึกษาลักษณะทางกายภาพ กราฟแสง องค์ประกอบวงโคจรของดาวคู่เหล่านี้ และขณะนี้ทางกลุ่มวิจัยดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำความร่วมมือกับกลุ่มวิจัยจาก Yunnan Observatory ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยดาวคู่ดังกล่าวนี้
กลุ่มวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี กำลังเสนอขอทุนวิจัยร่วมระหว่าง ไทย-จีน จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ National Natural Science Foundation of China ในการวิจัยเรื่อง "Analysis of Physical properties and Evolutions of Some Near-Contact Binary Star System." ซึ่งบัดนี้ทางคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ และ National Natural Science Foundation of China ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
6.1 กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดคาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว
6.2 กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดชมิดท์-คาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 นิ้ว และ 8 นิ้ว
6.3 ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์ แบบหลอดโฟโตมัลติพลายเออร์ของบริษัท Thorn EMI Co. Ltd. พร้อมระบบแผ่นกรองแสงมาตราฐาน U, B, V
6.4 ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์ แบบโซลิดสเตทของบริษัท Optec Inc. พร้อมระบบแผ่น กรองแสงมาตราฐาน U, B, V, R, I
6.5 ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมและบันทึกสัญญาณจากระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์
6.6 ระบบ CCD ที่ใช้ในการควบคุมระบบติดตามดาวและถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าโดยคอมพิวเตอร์
-Photometrics
-Compuscope
6.7 ระบบการติดต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
6.8 ระบบ CCD Spectrograph
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัย ระหว่างปี พ.ศ.2541-2542
7.1 โครงการวิจัยและการดำเนินงาน
7.1.1 หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อสึกษาระบบดาวคู่ GR Tau โดยเทคนิคโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรีแล้ว และจะนำผลงานวิจัยเรื่อง "Short Tine Scale Variation of a Near-contact Binary System, GR Tauri" ในการประชุม "1999 Pacific Rim Conference on Stellar Astrophysics" ณ University of Hong Kong ระหว่างวันที่ 2-7 สิงหาคม 2542 นี้
7.1.2 โครงการวิจัยร่วมเกี่ยวกับระบบดาวคู่แบบใกล้ชิด ระหว่างหอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Yunnan Observatory กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
7.1.3 หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี กำลังเริ่มงานวิจัยทาง Stellar Spectroscopy โดยใช้เครื่อง CCD Spectrograph เพื่อสนับสนุนการวิจัยทางด้านโฟโตเมตรี
7.2 การประชุมวิชาการระหว่างปี 2541-2542
นายบุญรักษา สุนทรธรรม ได้เดินทางไปร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและเสนอผลงานทางวิชาการเรื่อง "Physical Properties of an Eclipsing Binary System, YY Eridani" ในการประชุม "The 4th East Asia Meeting on Astronomy : Observational Astrophsics in Asia and its Future" ณ เมืองคุนหมิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 2-12 กุมภาพันธ์ 2542
7.3ผลงานที่เสนอหรือเผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในช่วงปี 2541-2542เสนอและตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่อง "Physical propeties of an Eclipsing Binary System, YY Eridani" (ตามเอกสารแนบ) โดย
7.3.1 เสนอผลงานวิจัยในการประชุม 4th East Asia Meeting on Astronomy ณ เมืองคุนหมิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
7.3.2 ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ใน Science Journal ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่