1. ชื่อหน่วยวิจัย

สมุนไพรและการสืบพันธุ์ (Medicinal plants and Reproduction)

ภาควิชา

ชีววิทยา

2. สมาชิก

1. นางสาว กนกพร กวีวัฒน์ Ms. Kanokporn Kaweewat

2. นางสาลิกา อริธชาติ Mrs. Salika Aritajat

3. นาย สุภาพ แสนเพชร Mr. Supap Saenphet

3. หลักการและเหตุผล

สมุนไพรเป็นยาพื้นบ้านที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน ปัจจุบันสมุนไพรไทยได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้หลายหน่วยงานยังส่งเสริมให้มีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรโดยมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นยารักษาโรคและใช้เป็นเครื่องสำอาง มีสมุนไพรหลายชนิดที่มีสรรพคุณในแง่ของการสืบพันธุ์ เช่น มีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด กระตุ้นการหลั่งน้ำนม กระตุ้นกำหนัด เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมุนไพรที่เชื่อกันว่ามีฤทธิ์กระตุ้นกำหนัดนั้นได้รับความนิยมอย่างสูง มีการนำมาบริโภคในหลายรูปแบบ เช่นผลิตเป็นยาลูกกลอนหรือใช้ดองกับสุรา อย่างไรก็ตามยังมีสมุนไพรบางชนิดที่มีการอ้างถึงสรรพคุณด้านการสืบพันธุ์โดยที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีสรรพคุณดังกล่าวจริงหรือไม่หรือเป็นเพียงความเชื่อที่สืบต่อกันมา นอกจากนี้สมุนไพรที่ได้รับความหลายนิยมชนิดยังไม่ได้รับการทดสอบว่ามีอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ การทดสอบถึงฤทธิ์และพิษของสมุนไพรและการเผยแพร่ผลการทดสอบแก่ผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง หน่วยวิจัยสมุนไพรและการสืบพันธุ์ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาถึงชนิดและผลของสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ รวมทั้งจะได้ศึกษาพิษและผลกระทบของสมุนไพรต่อสัตว์ทดลองด้วย

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

4.1 เพื่อศึกษาชนิดและฤทธิ์ของสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ในทุกๆด้าน

4.2 เพื่อศึกษาพิษและผลกระทบของสมุนไพรนั้นๆต่อสัตว์ทดลองทั้งในระยะสั้นและระยะ ยาว

4.3 เพื่อนำไปสู่การศึกษาอย่างละเอียดต่อไปในการพัฒนาผลิตพันธุ์จากสมุนไพร

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

ได้รับทุนจากสถาบันแพทย์แผนไทยกระทรวงสาธารณสุขให้ทำการวิจัยเรื่อง " ผลของกวาวเครือแดงต่อการสืบพันธุ์ของหนูขาวเพศผู้"

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว

6.1 เครื่องโม่สมุนไพร

6.2 ชุดสกัดสารจากสมุนไพร

6.3 ตู้อบ

6.4 อุปกรณ์ตัดเนื้อเยื่อ

6.5 กล้องจุลทรรศน์

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยตั้งแต่ตุลาคม 2541 ถึงกันยายน 2542

7.1. สาลิกา อริธชาติ และ วาที คงบรรทัด. 2541. การศึกษาทางอีสโตเคมีของเซลล์ในต่อมน้ำนมและต่อมหมวกไตของหนูที่ได้รับสารสกัดจากเปลือกสดของต้นนมนาง (Pouteria cambodiana) การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 24 กรุงเทพ ฯ.

7.2. สุภาพ แสนเพชร และ กนกพร กวีวัฒน์. 2542. ผลของกระชาย (Bosenbergia pandurata Holtt.) กำลังเสือโคร่ง ( Betula alnoides Buch.-Ham) และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่อสีของปลาหางนกยูงเพศเมีย.การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 25 พิษณุโลก.

7.3. Aritajat, S., Kaweewat, K., Manosroi, J. and Manosroi, A. 1999. Dominant lethal test in rats treated with some plant extracts. 5th Joint international tropical and medical meeting. Bangkok, Thailand.

8. การให้บริการวิชาการของหน่วยวิจัย

ให้คำปรึกษาและตรวจสอบเกี่ยวกับพืชสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรที่อาจมีผลต่อการสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

9. ศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน

มีความพร้อมด้านการวิจัยในสัตว์ทดลองเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปสู่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรที่ประชาชนบริโภคได้อย่างปลอดภัย