1. ชื่อหน่วยวิจัย

พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (Ethnobotany)

ภาควิชา

ชีววิทยา

2. สมาชิกประกอบด้วย

1. นางชูศรี ไตรสนธิ

2. นายปริทรรศน์ ไตรสนธิ

ผู้ประสานงาน

สมาาชิก

3. หลักการและเหตุผล

การดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของอารยธรรมตลอดมาจนปัจจุบัน ในกลุ่มชนพื้นเมืองของท้องถิ่นต่าง ๆ ได้อาศัยปัจจัยหลักจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัวซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากพืช การเรียนรู้ที่จะนำพืชมาใช้ประโยชน์นั้นเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงเพื่อการอยู่รอดในธรรมชาติ โดยที่อาจมีการดัดแปลงในบางสิ่งบางอย่างด้วยสติปัญญาความสามารถของแต่ละกลุ่มชนแต่ละกลุ่มเพื่อให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ได้ถ่ายทอดให้แก่ชนรุ่นหลังสืบต่อกันมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน เป็นความรู้เฉพาะของชนแต่ละกลุ่ม เรียกกันว่า " ภูมิปัญญาพื้นบ้าน "

ภาคเหนือของประเทศไทยมีชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งการดำรงชีวิตของกลุ่มชนเหล่านี้ยังคงมีลักษณะที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก แต่โดยที่ความเจริญและเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้แพร่เข้าไปยังกลุ่มชนเหล่านี้อย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีทางในการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป และกำลังละทิ้งภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากพืช หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน" จึงเป็นที่น่าเสียดายหากว่าความรู้เหล่านี้จะต้องสูญไป จึงควรที่จะต้องเร่งสำรวจและบันทึกข้อมูลความรู้เหล่านี้ไว้เพื่อที่จะนำมาพัฒนาต่อไปด้วยวิชาการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น

งานวิจัยด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทยกำลังได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ เพราะผลการวิจัยจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในอนาคต ในการวิจัยพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของคณะผู้วิจัยจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เน้นถึงการวิเคราะห์ผลจากการสำรวจ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พันธุ์พืชด้วย

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

เพื่อศึกษาและรวบรวมพืชที่ชนพื้นเมืองกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศไทยนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และได้ถ่ายทอดกรรมวิธีการใช้มาแต่บรรพบุรุษ โดยเน้นประชากรในภาคเหนือ

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

5.1 สำรวจการใช้พืชในชีวิตประจำวันของชาวกะเหรี่ยง ในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน

5.2 สำรวจการใช้พืขในชีวิตประจำวันของชาวเขาบนดอยภูคา จังหวัดน่าน

5.3 ศึกษาพรรณพฤกษชาติบนดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่

5.4 ศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ บนดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่

6. อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

6.1 อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างพืช

6.2 อุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

ชูศรี ไตรสนธิ และ เด่น เครือสาร . 2541 . ความหลากหลายของพืชป่าบริเวณห้วยตุ่น และ การใช้ประโยชน์ของคนพื้นเมืองในตำบลตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา . การประชุม วทท. ครั้งที่ 24 . ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ . กรุงเทพฯ .

ชูศรี ไตรสนธิ ทัศนีเวศ ยะโส พรอนันต์ บุญก่อน จิตติพร ทรรศนียากร และ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ . 2541 . การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอดำ หมู่บ้านห้วยโป่ง ชาวเขาเผ่าลีซอ หมู่บ้านสามกุลา และ ชาวเขาเผ่าอาข่า หมู่บ้านดอยสะโงะ จังหวัดเชียงราย . การประชุม วทท. ครั้งที่ 24.ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ . กรุงเทพฯ .

ชูศรี ไตรสนธิ วิทยา หงส์เวียงจันทร์ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ ไพบูลย์ สุทธิสุภา ฐานิศวร์ วงศ์ประเสริฐ และ สมเจตน์ วิมลเกษม . 2541 . ความหลากหลายของพรรณพืช และ การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวถิ่น และ ลัวะ ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน . การประชุมประจำปีโครงการพัฒนาองคความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย ครั้งที่ 2 . ขอนแก่น .

8. การให้บริการทางวิชาการ

8.1 เป็นวิทยากรในการอบรมครูในโครงการ สสวท. ในหัวข้อ Biodiversity ณ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 3 - 4 พฤษภาคม 2542.

8.2 วิทยากรบรรยายหัวข้อ " พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน " ในการอบรมมัคคุเทศก์ ภาควิชาการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 19 กรกฎาคม 2542

8.3 ประธานจัดการอภิปรายเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ในโอกาสวิทยาศาสตร์ แห่งประเทศไทย วันที่ 18 - 19 สิงหาคม 2542 .

8.4 จัดนิทรรศการวันวิทยาศาสตร์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ ในหัวข้อ " ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา " วันที่ 18 - 19 สิงหาคม 2542 .

8.5 ดำเนินงานพัฒนาการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชุมชน อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ วันที่ 6 ธันวาคม 2541

8.6 เป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น วิทยาลัยเกษตรกรรมลำพูน จังหวัดลำพูน มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา

8.7 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ในการผลิตบัณฑิต ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

9. ศักยภาพและความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน

มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการนำพืชมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ พร้อมที่จะให้ภาคเอกชนนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ จำหน่ายในท้องตลาด