ผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการ

 

 

ตั้งแต่ ตุลาคม 2542 - กันยายน 2543

ก. ผลการปฏิบัติตามแผนในพันธกิจ ข้อที่ 1 "สร้างกลไกประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ"

ในรอบปีที่ผ่านมาได้มีการดำเนินงานสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการทุกประการ โดยได้รับการตรวจสอบคุณภาพภายในอย่างเป็นทางการจากมหาวิทยาลัยไป เมื่อวันที่ 27 - 29 เมษายน 2543 ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบสามารถดูได้ www.science.cmu.ac.th/inter_audit.html ขณะเดียวกันได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการตรวจสอบคุณภาพภายนอกจากทบวงมหาวิทยาลัย ภายในเดือนธันวาคม 2543 - มกราคม 2544

นอกจากนั้น คณะวิทยาศาสตร์ ยังได้ถูกเชิญให้เป็นกรณีศึกษา เพื่ออบรมผู้ตรวจสอบคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 8 -10 พฤศจิกายน 2542 และ ถูกเชิญโดยทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นกรณีศึกษาในการอบรมผู้ตรวจสอบคุณภาพภายนอกระหว่างวันที่ 12- 14 กรกฏาคม 2543

ข. ผลการปฏิบัติตามแผนในพันธกิจ ข้อที่ 2 "สร้างระบบส่งเสริมงานวิจัยอย่างครบวงจร"

งานในส่วนนี้ได้ดำเนินการไปตามแผนเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมีบางกิจกรรม ที่ดำเนินการได้ล่าช้า ด้วยปัญหา อุปสรรคบางประการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

การประชาสัมพันธ์หน่วยวิจัยและห้องปฏิบัติการวิจัยได้ทำต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาโดยระบุใน Webpage ของคณะ นอกจากนั้นยังได้จัดทำ "รวม Link งานวิจัย" ใน Webpage เพิ่มเติม เพื่อความสะดวกของนักวิจัย ตลอดจนจัดทำแผ่นปลิวเพื่อประชาสัมพันธ์งานของคณะ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับงานวิจัยประมาณเดือนละสองครั้ง ซึ่งทำให้การสื่อสารในเรื่องงานวิจัยได้ผลดียิ่งขึ้น

การปรับปรุงแก้ไขฐานข้อมูลนักวิจัย ยังทำไม่สำเร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้งานเดิมมีปัญหา ขณะนี้อยู่ระหว่างติดตั้งโปรแกรมใหม่ลงในระบบ MIS และ Webpage ของคณะฯ นอกจากนี้ยังดำเนินการปรับข้อมูลนักวิจัยให้ถูกต้อง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ธันวาคม 2543

ขณะนี้ได้รวบรวมรายชื่อเครื่องมือวิจัยที่จัดซื้อด้วยงบประมาณครุภัณฑ์กลาง จำนวน 14 รายการ พร้อมกำหนดหลักการให้บริการตามความเห็นชอบและข้อเสนอแนะของที่ประชุมผู้บริหารคณะฯ ไปแล้ว ซึ่งจะต้องจัดทำเป็นประกาศในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ หลักการให้บริการดังกล่าวจะรวมถึงครุภัณฑ์ราคาเกิน 500,000 .- บาท ซึ่งมิได้จัดซื้อจากงบประมาณครุภัณฑ์กลางอีก 22 รายการ ด้วย

มีการพัฒนา Link กับคลินิกวิจัยได้ทันที โดยจัดทำ Webpage ขึ้นใน www.science.cmu.ac.th เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อสอบถามและให้คำปรึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานวิจัยแก่นักวิจัยของคณะฯ และผู้สนใจทั่วไป

ในส่วนของการส่งเสริมการทำวิจัย นอกจากกิจกรรมที่ทำต่อเนื่องมาทุกปี อาทิ การแสวงหาแหล่งทุนแก่นักวิจัยหน้าใหม่ สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งด้านการตีพิมพ์ และนำเสนอในที่ประชุมระดับชาติและนานาชาติ สนับสนุนเงินแก่กลุ่มวิจัยที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมาก็ได้จัดกิจกรรมเพิ่มเติมได้แก่

สำหรับการสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน สามารถดำเนินไปได้ตามวัตถุประสงค์ โดยอาศัยเงินดอกผลกองทุนคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2543 วงเงินรวม 80,000 บาท โดยได้จัดสรรเงินอุดหนุนการวิจัยไปแล้ว 2 โครงการ

ค. ผลการปฏิบัติตามแผนในพันธกิจ ข้อที่ 3 "สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ และหน่วยงานภายนอกฯ"

การดำเนินงานในแผนปฏิบัติการข้อนี้ เป็นไปตามที่ระบุในแผนดังนี้ ในช่วงต้นของปTechnology Liaison Group ได้ดำเนินการหาโครงการความร่วมมือป้อนแก่คณะฯ โดยมีการลงนามสัญญาข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับบริษัทกรีนวิว อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2543 ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะวิจัยและพัฒนาน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชและสมุนไพรเพื่อนำไปสู่ผลิตภัณฑ์อาหารและยาในเชิงพาณิชย์ และเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 ก็ได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล รองรับการบริการทั้งแก่ภาครัฐ และภาคธุรกิจเอกชนต่อไป

นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2543 สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความเห็นชอบการจัดตั้ง Link กับ สถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับภารกิจของสถานฯ มีอยู่ 4 ด้าน ได้แก่ งานนวัตกรรมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี งานเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์และสารสนเทศ งานวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ และงานอบรมสัมมนา สำหรับงานด้านนวัตกรรมขณะนี้มีงานเข้ามาแล้ว 2 โครงการคือ โครงการทำธูปหอมจากเปลือกลำไย และโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว สำหรับงานด้านเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ฯ ก็ดำเนินการต่อเนื่อง โดยหน่วยพิมพ์ออฟเซ็ท ส่วนงานด้านวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ คาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในเดือนมกราคม 2544

ง. ผลการปฏิบัติตามแผนในพันธกิจ ข้อที่ 4 "การดำเนินการจัดระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพฯ"

คณะฯ ได้ดำเนินการเรื่อง 5 ส. อย่างต่อเนื่อง โดยถือว่า 5 ส. เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพสำหรับบุคลากรสนับสนุนวิชาการ ปัจจุบันมีกลุ่ม 5 ส. ในคณะวิทยาศาสตร์ รวม 34 กลุ่ม ในด้านการพัฒนาคุณภาพบุคลากรด้านอื่น ๆ ก็ได้ให้การสนับสนุนการไปร่วมประชุม/สัมมนา/อบรม ตามโครงการหรือหลักสูตรที่เหมาะสม ซึ่งจัดโดยหน่วยงานภายนอก และในปัจจุบันคณะฯ ได้จัดเตรียมโครงการอบรม 19 หลักสูตร เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2543 จนถึงเดือนตุลาคม 2545 โดยเป็นหลักสูตรด้าน IT จำนวน 11 หลักสูตร และหลักสูตรอื่น ๆ อีก 8 หลักสูตร ในส่วนของคณาจารย์และผู้บริหารได้มีการจัดสัมมนาอาจารย์ใหม่ จัดสัมมนาอาจารย์ทั้งคณะ ตลอดจนจัดโปรแกรมเตรียมความพร้อมแก่หัวหน้าภาควิชาใหม่อีกด้วย

สำหรับการปรับปรุงภูมิทัศน์ ได้มีการดำเนินการต่อเนื่องตามแผนแม่บท แต่ทั้งนี้มีความล่าช้าเกิดขึ้นในบางโครงการเนื่องจากจำเป็นต้องรองบประมาณเพื่อดำเนินการ ดังนั้น จึงได้ขยายเวลาปฏิบัติงานตามแผนออกไปจนถึงปี พ.ศ. 2545

ในด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ยานพาหนะ/อาคาร ได้ดำเนินการต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ส่วนการยุบรวมหน่วยงานนั้น ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพียงแต่มีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ตลอดจนข้อดีและข้อด้อยของการรวมภาควิชา โดยในเบื้องต้นจะศึกษาเฉพาะกรณีรวมภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ได้กำหนดให้คณะทำงานรายงานผลภายในเดือนกรกฏาคม 2544

สำหรับการดำเนินการจัดสร้างมาตรการประหยัดฯ ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้าในภาพของคณะฯยังไม่ลดลง ดังนั้น จึงอยู่ระหว่างพิจารณาหามาตรการที่เหมาะสมมาใช้เพิ่มเติม รวมถึงการจัดสรรค่าสาธารณูปโภคให้ภาควิชาควบคุมเองหากใช้เกินภาควิชาจำเป็นต้องจ่ายจากเงินรายได้ของภาควิชา

ในส่วนของการจัดทำฐานข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้คณะนี้ระบบ MIS ของคณะฯ เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพระบบหนึ่ง

รายงานประจำปี 2543