โครงการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ



ทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดทำโครงการขยายการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อแก้ปัญหาการถูกชะลอการเดินทางไปต่างประเทศของผู้รับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์ โดยส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้รับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์สามารถเข้าศึกษาต่อภายในประเทศตามแผนการศึกษาที่ได้วางไว้

หลักสูตรดุษฎีบัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการขยายการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อลดค่าใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอกของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสาขาวิชาที่ขาดแคลนและสอดคล้องกับความต้องการพัฒนากำลังคนของประเทศ ในระหว่างศึกษาผู้เรียนมีโอกาสไปศึกษาวิจัยในต่างประเทศอีกด้วย

ขณะนี้คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้เข้าอยู่ในโครงการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ 5 หลักสูตร ได้แก่

1) หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี แขนงวิชาเคมีวิเคราะห์ ร่วมกับ

University of Washington, Seattle: สหรัฐอเมริกา

Karlsruhe Research Centre/ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

Monash University/ ออสเตรเลีย

Birkbeck College/ อังกฤษ

Liverpool John Moores University/ อังกฤษ

University of Hull/ อังกฤษ

2) หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี แขนงวิชาเคมีฟิสิกัล ร่วมกับ

University of Leeds/ อังกฤษ

Monash University/ ออสเตรเลีย

Freiberg University of Mining and Technology, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

3) หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ร่วมกับ

Uppsala University/ สวีเดน

Royal Institute of Technology(Stockholm)/ สวีเดน

Lund University/ สวีเดน

University of Leeds/ อังกฤษ

Chalmer University of Technology/ สวีเดน

4) หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ร่วมกับ

School of Materials, University of Leeds/ อังกฤษ

5) หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา ร่วมกับ

The University of Birmingham/ อังกฤษ

สำหรับในปีงบประมาณ 2543 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทบวงมหาวิทยาลัยในโครงการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศทั้ง 5 หลักสูตร จำนวน 8,772,535.- บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ไทย ค่าใช้จ่ายในการประชุมสัมมนา ค่าครุภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายในการพัฒนาหลักสูตรด้านอื่นๆ

ปัจจุบัน มีนักศึกษาผู้รับทุนอุดหนุนการศึกษาโครงการขยายการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตร จำนวน 9 คน ได้แก่

1. นายอุดมรัตน์ ทิพวรรณ

2. นางสาวอารียา เอี่ยมบู่

3. นายสามารถ คงทวีเลิศ

4. นายธีระชัย บงการณ์

5. นางสาวอรวรรณ อุดมพร

6. นายยุทธพงษ์ อุดแน่น

7. นางสาวนภาพร ยังวิเศษ

8. นางสาวสุมาลี ธนิกกุล

9. นายสุรินทร์ อินทะยศ

สาขาวิชาฟิสิกส์

สาขาวิชาฟิสิกส์

สาขาวิชาวัสดุศาสตร์

สาขาวิชาวัสดุศาสตร์

สาขาวิชาวัสดุศาสตร์

สาขาวิชาเคมี แขนงวิชาเคมีวิเคราะห์

สาขาวิชาเคมี แขนงวิชาเคมีวิเคราะห์

สาขาวิชาเคมี แขนงวิชาเคมีวิเคราะห์

สาขาวิชาธรณีวิทยา

รายงานประจำปี 2543