การพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 


ทุนการศึกษา

สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษาที่ผ่านมามีนักศึกษา ได้รับทุนรวม 150 ราย เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,272,947 บาท และเงินช่วยเหลือพิเศษสมทบเงินทุนการศึกษา จำนวน 19 ราย เป็นเงิน 33,200 ทั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์ได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัท มูลนิธิและผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาและเงินช่วยเหลือพิเศษ ดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา

ทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2543 มีนักศึกษาระดับปริญญาเอกได้รับทุนจำนวน 9 ราย จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รวมเป็นเงิน 755,000 บาท และนักศึกษาระดับปริญญาโทได้รับทุนจำนวน 18 ราย จาก สวทช. บริษัทและมูลนิธิต่างๆ รวมทั้งทุนที่จัดสรรโดยภาควิชาเคมี รวมเป็นเงิน 502,000 บาท

เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือผู้ที่มีรายได้น้อยนั้น ในปีการศึกษา 2543 หน่วยกิจการนักศึกษาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการรับสมัคร พิจารณาคัดเลือกและเสนอชื่อให้มหาวิทยาลัย ตลอดจนการทำสัญญากู้ยืมเงินสำหรับนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ โดยมีผู้สนใจสมัครและทำสัญญากู้ยืมเงินทั้งรอบที่ 1 และรอบที่ 2 จำนวน 906 คน (เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา จำนวน 36 คน) เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 35,559,670 บาท (เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาจำนวน 1,112,116 บาท)

การสนับสนุนกิจกรรมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาหลายรูปแบบ ดังนี้

1) ค่าตอบแทนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาช่วยสอนตามที่ภาควิชามอบหมาย โดยในปีการศึกษาที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุนทั้งสิ้น 685,790 บาท

2) ค่าใช้จ่ายสมทบในการไปเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมวิชาการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยในปีการศึกษาที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาไปเสนอผลงานทั้งสิ้น 411,063 บาท (ในประเทศ 73,381 บาท และต่างประเทศ 337,682 บาท)

3) จัดโครงการพัฒนาวิชาการบัณฑิตศึกษา โดยจัดการอบรมภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาเอก เรื่อง การเขียนวิทยานิพนธ์และการเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ มีนักศึกษาปริญญาเอกสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 41 คน

การมีงานทำและอาชีพของบัณฑิต

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สัดส่วนการมีงานทำจากการสำรวจเมื่อวันรับพระราชทานปริญญาบัตร (24 มกราคม 2543) เป็นดังนี้

- มีงานทำ

- ศึกษาต่อ

- ยังไม่มีงานทำ

ร้อยละ 61.49

ร้อยละ 24.85

ร้อยละ 13.66

สำหรับนักศึกษาที่ทำงานพบว่า

- ทำงานเอกชน

- ทำงานราชการ

- ทำงานรัฐวิสาหกิจ

- อาชีพส่วนตัวอิสระ

- อื่นๆ

ร้อยละ 67.68

ร้อยละ 19.70

ร้อยละ 2.02

ร้อยละ 6.06

ร้อยละ 4.54

(รายละเอียดสถานภาพการทำงานและลักษณะหน่วยงาน ดูภาคผนวกที่ 1)

การประกันคุณภาพการศึกษา

การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ ในรอบปี 2543 ที่ผ่านมา ได้มีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นหลายกิจกรรม ภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาด้านต่างๆ โดยคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการ ด้านนักศึกษาและงานพัฒนานักศึกษา ด้านวิจัย ด้านบริหารและงบประมาณ ได้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อหาระบบและกลไกที่จะพัฒนาคุณภาพในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพแต่ละด้านที่รับผิดชอบ มีการกำหนดกิจกรรม มาตรฐานของกิจกรรมและเงื่อนไขเวลาที่ต้องบรรลุ เช่น

คณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการ กำลังหาแนวทางการประเมินวิธีการวัดผลการเรียนการสอน เพื่อนำมาปรับปรุงและประเมินวิธีการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม

คณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาด้านนักศึกษาและงานพัฒนานักศึกษา ได้จัดโครงการอบรมภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษเพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น

คณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาด้านวิจัย ได้วางแนวทางในการนำงานวิจัยไปสู่การบริการชุมชนให้มากขึ้น โดยมีการดำเนินการผ่านสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาด้านบริหารและงบประมาณ ได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ ตั้งแต่ ผู้บริหารระดับคณะ/ภาควิชา ผู้บริหารระดับกลาง(หัวหน้างาน/หน่วย/เลขานุการภาควิชาฯ) ข้าราชการสาย ข/ สาย ค /ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว โดยในรอบปีที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้ว 1 โครงการ มีการจัดกิจกรรมการพัฒนาการบริหารงานด้วย 5 ส นอกจากนั้นกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสำนักงานเลขานุการคณะฯ

นอกเหนือจากการสร้างระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาโดยคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ แล้วคณะฯ ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชาขึ้น เพื่อทำให้การนำนโยบาย แนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษา ตลอดจนระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาที่คณะอนุกรรมการฯ แต่ละชุดได้สร้างขึ้น ไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างกว้างขวางและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

โดยคณะฯ ได้กำหนดให้คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชา จัดทำรายงานการศึกษาตนเองขึ้น เพื่อให้ภาควิชาได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาควิชา รายงานผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพ และมีการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของภาควิชา ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป ในรอบปีที่ผ่านมาภาควิชามีการทำรายงานการศึกษาตนเองไปแล้ว 2 ครั้ง

สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพนั้น ในเดือนพฤศจิกายน 2542 คณะวิทยาศาสตร์ได้ให้ความร่วมมือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นกรณีศึกษาในการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบคุณภาพของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากนั้นในเดือนเมษายน 2543 คณะวิทยาศาสตร์ได้เสนอมหาวิทยาลัย เพื่อขอรับการตรวจสอบระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา โดยได้เชิญกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการตรวจสอบฯ ซึ่งผลการตรวจสอบฯ พบว่าคณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้ให้การรับรองทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ โดยมีข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นบางประการเพื่อให้คณะฯ นำไปปรับปรุงและแก้ไข และต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2543 คณะวิทยาศาสตร์ได้ให้ความร่วมมือทบวงมหาวิทยาลัย เป็นกรณีศึกษาในการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ เป็นคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอนบน

ในด้านการรายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาเสนอต่อชุมชนนั้น ได้มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารการประกันคุณภาพการศึกษาของใน website ของคณะฯ นอกจากนี้ในรอบปีที่ผ่านมาได้มีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เข้าศึกษาดูงานการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่หน่วยงานต่างๆ อีกด้วย

ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์

ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ได้เริ่มดำเนินการพร้อมๆ กับการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันห้องสมุดได้เปิดให้บริการเป็นการถาวรแก่นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ณ อาคาร 30 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มีเนื้อที่ประมาณ 765 ตารางเมตร ที่นั่งอ่านประมาณ 300 ที่นั่ง

ปัจจุบันห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ ไม่เพียงเป็นหน่วยงาน ซึ่งส่งเสริมการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นหน่วยสนับสนุนเพื่อการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร เพื่อการเรียนในระดับสากลมากขึ้น ตอบสนองภารกิจสำคัญของคณะวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัย ที่มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาการเรียนการสอนไปสู่มหาวิทยาลัยในอนาคต

การพัฒนาระบบบริการห้องสมุด เพื่อเป็นแหล่งแห่งการค้นคว้าวิจัยในทุกแขนงวิชาที่สมบูรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยคำนึงถึงบทบาทที่ห้องสมุดต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและสอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการโดยรวมด้วย

เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพ ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย

1. การให้บริการข้อมูลสารนิเทศแก่นักวิจัย ในศูนย์วิจัย 37 หน่วยวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์

2. สนับสนุนให้มีการสืบค้นบทความวิชาการด้านการวิจัยด้วยระบบการสืบค้นออนไลน์

3. การสั่งซื้อและสำเนาเอกสารงานวิจัยที่ต้องการจากแหล่งบริการต่างๆ จากฐานข้อมูลต่างประเทศ

4. ให้บริการด้านข้อมูล คำปรึกษา การชี้แนะแหล่งข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการเสนอผลวิจัยรูปแบบต่างๆ

5. จัดรวบรวมผลงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อการอ้างอิงไว้ให้บริการในห้องสมุด

6. ประเมินผลการให้การบริการเชิงคุณภาพ เพื่อพัฒนาปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพในระดับสูงขึ้น

บริการของห้องสมุด

    1. บริการยืม-คืน
    2. บริการการอ่าน
    3. บริการการหนังสือสำรอง
    4. บริการของหนังสือ
    5. บริการสืบค้นข้อมูลสารนิเทศ
    6. บริการตอบคำถาม และช่วยการค้นคว้า
    7. บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary loan)
    8. บริการขนส่งเอกสารระหว่างห้องสมุดภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(Document Delivery)
    9. บริการแฟ้มข้อมูลสารนิเทศเฉพาะเรื่อง (Informationfile)
    10. บริการโสตทัศนศึกษา
    11. บริการข่าวสารทันสมัย / Hotnews
    12. บริการวารสารฉบับปัจจุบัน ฉบับล่วงเวลา และเย็บเล่ม
    13. บริการคัดเลือกเอกสารเผยแพร่เฉพาะกลุ่มผู้ใช้
    14. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด การใช้ OPAC และ Internet ฯลฯ
    15. บริการรวบรวมบรรณานุกรมเฉพาะสาขาวิชา
    16. บริการแสดงนิทรรศการหนังสือใหม่

ทรัพยากรสารสนเทศ

หนังสือทั่วไป

- ภาษาไทย

- ภาษาต่างประเทศ

หนังสืออ้างอิง (ภาษาไทยและต่างประเทศ)

สิ่งพิมพ์รัฐบาล

เอกสารสิ่งพิมพ์ภาคเหนือ

โครงงานวิทยาศาสตร์

วิทยานิพนธ์

รายงานการค้นคว้าอิสระของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

วารสารภาษาต่างประเทศ

วารสารภาษาไทย

หนังสือพิมพ์

วัสดุโสตทัศนศึกษา

แฟ้มข้อมูลสารนิเทศเฉพาะเรื่อง

16,574 รายการ

32,491 รายการ

3,150 รายการ

2,544 รายการ

450 รายการ

2,084 รายการ

2,005 รายการ

2,910 รายการ

150 รายการ

134 รายการ

9 รายการ

463 รายการ

264 รายการ

ทรัพยากรสนับสนุนเพื่อการบริการเทคโนโลยีสานสนเทศของห้องสมุด

ห้องสมุดส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับคุณภาพมากขึ้น โดยการจัดทรัพยากรสนับสนุนอื่นๆด้านเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้เข้าให้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลสารนิเทศที่ต้องการได้โดยตรง และในมุมมองอันกว้างไกล เป็นการเปิดโลกทัศน์แห่งความรู้แก่ผู้เรียนได้มากขึ้นโดย

- จัดบริการข้อมูลข่าวสารผ่านดาวเทียม ตลอดเวลาทำการห้องสมุด

- จัดเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการสืบค้นสารนิเทศออนไลน์

- จัดบริการวีดีทัศน์เพื่อการศึกษา

- จัดบริการโทรทัศน์และเครื่องเล่นวีดีทัศน์

- บริการการสืบค้น CD เฉพาะสาขาวิชา

32 จุดบริการ

250 รายการ

10 จุดบริการ

38 รายชื่อ

บริการโสตทัศนศึกษา

หน่วยโสตทัศนศึกษา มีภาระหน้าที่หลักในการส่งเสริมวิชาการ ทั้งการให้บริการยืมอุปกรณ์สื่อการสอน การจัดทำสื่อการสอน และงานบริการทั่วไป ซึ่งให้บริการแก่ภาควิชาและสำนักงานของคณะวิทยาศาสตร์ ตลอดจนหน่วยงานภายนอก อุปกรณ์สื่อการสอนที่บริการให้ยืมประกอบด้วย เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ, เครื่องฉายสไลด์, เครื่อง Computer Projector/Video Projector เครื่องเล่นวีดีโอ, เครื่องรับโทรทัศน์, เครื่องขยายเสียง/ไมโครโฟน/ลำโพงฮอร์น, แผ่นใส นอกจากนี้ยังได้บริการจัดทำสื่อการสอนและอื่น ๆ อาทิ ถ่ายสไลด์สี/ก๊อปปี้สไลด์, ทำแผ่นใสสี/ขาวดำ, ทำสไลด์นำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์, ผลิตรายการวิดีทัศน์, งานออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์, ทำ HOME PAGE, สแกนภาพจากคอมพิวเตอร์ ตัดต่อวีดีโอ/อัดวีดีโอ, ป้ายผ้า/โปสเตอร์/โปสเตอร์นำเสนอ, ถ่ายรูป

ทุนศึกษาต่อของคณาจารย์

ในปีงบประมาณ 2543 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับจัดสรรทุนเพื่อพัฒนาอาจารย์ในลักษณะของทุนการศึกษา รวมทั้งสิ้น 12 ทุน แยกตามแหล่งทุนได้ดังนี้

1. ทุนศึกษาต่อในประเทศ จำนวน 7 ทุน ดังนี้

โครงการพัฒนาอาจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์ 5 ทุน

โครงการพัฒนาอาจารย์ สาขาอัญมณีและเครื่องประดับ 1 ทุน

ทุนสำนักงานนโยบายและพลังงานแห่งชาติ 1 ทุน

2. ทุนศึกษาต่อต่างประเทศ จำนวน 5 ทุน ดังนี้

ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 4 ทุน

ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น 1 ทุน

รายงานประจำปี 2543