โครงการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ

 


ทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดทำโครงการขยายการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อแก้ปัญหาการถูกชะลอการเดินทางไปต่างประเทศของผู้รับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์ โดยส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้รับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์สามารถเข้าศึกษาต่อภายในประเทศตามแผนการศึกษาที่ได้วางไว้
หลักสูตรดุษฎีบัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการขยายการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อลดค่าใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอกของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสาขาวิชาที่ขาดแคลนและสอดคล้องกับความต้องการพัฒนากำลังคนของประเทศ ในระหว่างศึกษาผู้เรียนมีโอกาสไปศึกษาวิจัยในต่างประเทศอีกด้วย
ขณะนี้คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้เข้าอยู่ในโครงการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ 5 หลักสูตร ได้แก่

  1. หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี แขนงวิชาเคมีวิเคราะห์ ร่วมกับ
    University of Washington, Seattle/ สหรัฐอเมริกา ;
    Monash University/ ออสเตรเลีย
    Karlsruhe Research Centre/ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ;
    Birkbeck College/ อังกฤษ
    Liverpool John Moores University/ อังกฤษ ;
    University of Hull/ อังกฤษ
  2. หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี แขนงวิชาเคมีฟิสิกัล ร่วมกับ
    University of Leeds/ อังกฤษ ; Monash University/ ออสเตรเลีย
    Freiberg University of Mining and Technology, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
  3. หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ร่วมกับ
    Uppsala University/ สวีเดน ;
    Royal Institute of Technology(Stockholm)/ สวีเดน
    Lund University/ สวีเดน ;
    University of Leeds/ อังกฤษ
    Chalmer University of Technology/ สวีเดน
  4. หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ร่วมกับ
    School of Materials, University of Leeds/ อังกฤษ
  5. หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา ร่วมกับ
    The University of Birmingham/ อังกฤษ

สำหรับในปีงบประมาณ 2544 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทบวงมหาวิทยาลัยในโครงการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศทั้ง 5 หลักสูตร จำนวน 9,214,322.- บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ไทย ค่าใช้จ่ายในการประชุมสัมมนา ค่าครุภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายในการพัฒนาหลักสูตรด้านอื่นๆ
ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป ทบวงมหาวิทยาลัยโดยคณะอนุกรรมการโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนาอุดมศึกษาไทยได้เห็นชอบให้นำโครงการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เข้าร่วมโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนาอุดมศึกษาไทย (Postgraduate Education Development for the Development of Higher Education in Thailand-PED) เป็นโครงการระยะที่ 1 ดังนั้นคาดว่าจะได้รับงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 5 หลักสูตร จนสิ้นสุดโครงการฯ ในปี 2547 นอกจากนี้ ยังได้เสนอโครงการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก สาขาความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นแกนนำ เพิ่มเติมเป็นโครงการระยะที่ 2 อีกโครงการหนึ่งด้วย
ปัจจุบัน มีนักศึกษากำลังศึกษาในหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ(หลักสูตรนานาชาติ) ทั้ง 5 หลักสูตร รวม 20 คน รายละเอียดดูได้ที่ ภาคผนวก 12

ทุนศึกษาต่อของคณาจารย์

ในปีงบประมาณ 2544 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับจัดสรรทุนเพื่อพัฒนาอาจารย์ในลักษณะของทุนการศึกษา รวมทั้งสิ้น 17 ทุน แยกตามแหล่งทุนได้ดังนี้
ทุนศึกษาต่อในประเทศ จำนวน 9 ทุน ดังนี้
1. โครงการพัฒนาอาจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์ 5 ทุน
2. โครงการพฒนาอาจารย์ สาขาคณิตศาสตร์ 2 ทุน
3. โครงการพัฒนาอาจารย์ สาขาคอมพิวเตอร์ 1 ทุน
ทุนศึกษาต่อต่างประเทศ จำนวน 8 ทุน ดังนี้
1. ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 7 ทุน
2. ทุนสำนักงานนโยบายและพลังงานแห่งชาติ 1 ทุน


รายงานประจำปี 2544