การวิจัย

 

.

การส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย

คณะวิทยาศาสตร์ได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมกิจกรรมวิจัยของคณาจารย์และข้าราชการในสังกัด เพื่อการพัฒนาทั้งองค์ความรู้ทางวิชาการและเพื่อพัฒนาการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคและด้านสารบรรณ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยในอนาคต ดังนั้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวคณะวิทยาศาสตร์จึงได้กำหนดพันธกิจสร้างระบบส่งเสริมการวิจัยอย่างครบวงจรซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมย่อย ๆ หลายประการ ในปีที่ผ่านมาคณะวิทยาศาสตร์ได้สนับสนุนด้านการเงิน การประชาสัมพันธ์ การจัดตั้งเครือข่ายการให้บริการเครื่องมือวิจัย การสนับสนุนการรวมกลุ่มนักวิจัยทุกแขนงวิชา การส่งเสริมศักยภาพในการทำวิจัยให้แก่นักวิจัยหน้าใหม่ และการยกย่องเชิดชูนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่นในรอบปีเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมวิจัยขององค์กร
ในปี 2544 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ได้สนับสนุนด้านการเงินในกิจกรรมวิจัยลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้

รายการ

จำนวน(ราย)

1. สนับสนุนค่าตีพิมพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการที่สำนักพิมพ์เรียกเก็บ

1

2. ตอบแทนผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานสากล

29

3. สนับสนุนการดำเนินการที่มีผลสัมฤทธิ์ของหน่วยวิจัยและห้องปฏิบัติการวิจัย

52

4. สนับสนุนนักวิจัยไปเสนอผลงาน ณ ที่ประชุมทางวิชาการต่างประเทศ

33

5. สนับสนุนนักวิจัยไปเสนอผลงาน ณ ที่ประชุมทางวิชาการในประเทศ

169

6. สนับสนุนไปร่วมฝึกอบรมดูงานและทำวิจัยต่างประเทศ

13

7. จัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนทุกประเภทที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของคณะกรรมการวิจัยประจำคณะ

8

รวม

305

ทุนอุดหนุนการวิจัย

ในปี 2544 นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 27,433,853.50 บาท มีทั้งโครงการวิจัยที่ได้รับทุนต่อเนื่องและโครงการวิจัยระยะสั้น ดังนี้

ลำดับ

แหล่งทุนอุดหนุน

จำนวน (โครงการ)

จำนวนเงิน (บาท)

1.

คณะวิทยาศาสตร์

7

692,000.-

2.

ดอกผลกองทุนคณะวิทยาศาสตร์

1

60,000.-

3.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่)

8

200,000.-

4.

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

6

1,307,600.-

5.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

12

7,435,777.-

6.

เมธีวิจัยอาวุโส สกว.

2

5,000,000.-

7.

ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก (สกว.)

7

1,400,000.-

8.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

1

200,00.-

9.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

1

1,452,793.50

10.

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

5

3,159,262.-

11.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ประเภทแผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัย

ประเภทโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศ

ไทย-จีน

ไทย-เยอรมัน

2

2

1

1,532,300.-

728,380.-

189,000.-

12.

Shell International Renewables Ltd.

1

1,113,234.-

13.

สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย

1

1,204,000.-

14.

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

1

509,307.-

15.

กรมควบคุมมลพิษ

1

1,250,000.-

รวม

59

27,433,853.50

การเผยแพร่ผลงานวิจัย

ในรอบปีที่ผ่านมา มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์โดยมีการตีพิมพ์ในวารสารและในการประชุมวิชาการต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ โครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ดังนี้
1. ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ จำนวน 26 เรื่อง (
ดูภาคผนวก 5)
2. ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 6 เรื่อง (
ดูภาคผนวก 6)
3. ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่นำเสนอในที่ประชุมระดับนานาชาติ จำนวน 33 เรื่อง (
ดูภาคผนวก 7)
4. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ จำนวน 20 เรื่อง (
ดูภาคผนวก 8)
5. โครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 59 โครงการ (
ดูภาคผนวก 9)


รายงานประจำปี 2544