1
โครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
(Science in Schools-SiS)
เพื่อเสริมสร้างความสามารถของโรงเรียนมัธยมด้านวิทยาศาสตร์
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
มีนโยบายชัดเจนที่จะวางรากฐานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้มแข็ง
โดยเล็งเห็นว่าการจะเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศจำเป็นที่จะต้องสร้างขีดความสามารถของบุคลากรในประเทศ
ดังนั้นจึงได้มีการตกลงในระดับนโยบายร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อที่จะร่วมมือและประสานพลังกันในการพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
เพราะถือว่าเป็นรากฐานเบื้องต้นที่สำคัญ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.)
ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ให้จัดทำโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
(Science in Schools-SiS)
โดยความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยต่างๆ
รวมทั้งหน่วยงานอื่นภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ร่วมดำเนินการในโครงการนำร่องโดยตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียน
จำนวน 15 โรงเรียน
ซึ่งกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง
ๆ ใน 5
ภูมิภาคของประเทศคือ
ภาคเหนือ ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้
เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบ
รวมทั้งเพื่อพัฒนาให้เกิดโรงเรียนตัวอย่างทางด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
และสามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบให้กับโรงเรียนในท้องถิ่นเดียวกันได้
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้รับมอบหมายจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันพี่เลี้ยงเครือข่าย
คือ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ให้เป็นสถาบันพี่เลี้ยงในโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
เพื่อดูแลโรงเรียนในภาคเหนือ
โดยในปี พ.ศ. 2543
มีโรงเรียนที่ได้ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
จำนวน 3 โรงเรียน คือ
โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม
จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนแม่จันวิทยาคม
จังหวัดเชียงราย และโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
และในปีการศึกษา 2544
ได้คัดเลือกโรงเรียนคณฑีวิทยาคม
จังหวัดกำแพงเพชร
เข้าร่วมอีก 1
โรงเรียน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้มีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ
โดยมุ่งส่งเสริมให้เด็กนักเรียนเข้าใจความหมายและบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาอาชีพ
เศรษฐกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อม
และใฝ่ใจศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของครูวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
ให้สามารถพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
เพื่อให้มีการขยายโอกาสทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพไปยังจังหวัดต่างๆ
อย่างทั่วถึงในระยะยาว
เพื่อพัฒนาให้เกิดโรงเรียนตัวอย่าง
ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบและให้ความช่วยเหลือโรงเรียนในท้องถิ่นเดียวกันได้
เพื่อประสานพลังและทรัพยากรของหน่วยงานต่างๆ
ทั้งภายนอกกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
เพื่อพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระยะยาวย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายโครงการ
พัฒนา
"โรงเรียนตัวอย่าง"
ทางด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์
และเทคโนโลยี
เป็นโครงการนำร่อง
จำนวน 15 โรงเรียน
ในปีแรกของโครงการ
คือ ปีงบประมาณ 2543
และขยายให้มีโรงเรียนตัวอย่างอย่างน้อยจังหวัดละหนึ่งโรงเรียนจนครบทุกจังหวัดในระยะเวลา
3 ปี
รวมทั้งให้โรงเรียนตัวอย่างสามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่น
ๆ
ในท้องถิ่นเดียวกันได้
กลยุทธ์ในการดำเนินงาน
การพัฒนาขีดความสามารถของโรงเรียนในโครงการ
เป็นลักษณะการพัฒนาทั่วทั้งโรงเรียน
(wholeschool approach)
การจัดการเรียนการสอนมุ่งการเรียนรู้ด้วย
problem-based, activity-based, project-based
learning
- จัดกิจกรรมหรือการให้ความช่วยเหลือแต่ละโรงเรียน
ควรจะต้องมีรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสมกับสภาพพื้นฐานและศักยภาพในการพัฒนาของแต่ละโรงเรียน
ต้องมีการวางแผนแม่บทในการพัฒนา
ซึ่งหมายรวมถึง
แผนแม่บทของโครงการโดยรวม
และแผนแม่บทของการพัฒนาแต่ละโรงเรียน
เพื่อในที่สุดสามารถประเมินผลและสามารถสร้างรูปแบบให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาได้
การส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียน
ต้องเป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้โรงเรียน
(ผู้บริหาร ครู
นักเรียน
ผู้ปกครอง)
เป็นผู้ทำกิจกรรม
ไม่ควรเป็นการไปทำให้
การพัฒนาต้องอยู่บนฐานของความร่วมมือ
คือ
โรงเรียนต้องพร้อมที่จะร่วมโครงการ
และมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่าจะเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของตนในเรื่องใด
อย่างไร
ซึ่งจะต้องเป็นการปรับทัศนคติและมุ่งเป้าหมายร่วมกันไม่ใช่การยัดเยียดให้
โรงเรียนทำ
ต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้ที่สนใจในเรื่องการพัฒนาการศึกษาในโรงเรียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนของแต่ละโรงเรียนซึ่งหมายรวมถึงกลุ่มบุคลากรของโรงเรียนเอง
กลุ่มผู้ปกครอง
กลุ่มประชาชนในชุมชน
เพราะความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้
ต้องอาศัยความพร้อมและการร่วมมืออย่างจริงจังภายในชุมชนด้วย
ต้องมีสถาบันพี่เลี้ยงหลักซึ่งเป็นแกนนำของแต่ละภูมิภาคและสถาบันพี่เลี้ยงหลักจะทำงานเป็นเครือข่ายกับสถาบันพี่เลี้ยงอื่นๆ
ที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน
สถาบันพี่เลี้ยงหลักและสถาบันพี่เลี้ยงเครือข่าย
ควรดูแลโรงเรียนเป็นลักษณะกลุ่มโรงเรียน
ซึ่งผสมผสานกันระหว่างโรงเรียนที่มีศักยภาพหรือมีความพร้อมมาก
ปานกลาง และน้อย
จะต้องไปเยี่ยมโรงเรียนเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้กำลังใจและช่วยแก้ไขปัญหาหรือศึกษาความต้องการช่วยเหลือในเรื่องใดและเพื่อวัดความก้าวหน้าของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
จะต้องทำให้โรงเรียนที่ได้รับการพัฒนา
เป็นตัวคูณให้กับโรงเรียนในท้องถิ่นเดียวกันให้ได้
ดังนั้นต้องคำนึงถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เป็นหลัก
มิฉะนั้นการขยายผลจะทำได้โดยยาก
ในปีการศึกษา
2544
ที่ผ่านมาคณะวิทยาศาสตร์
ร่วมมือกับโรงเรียนในโครงการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จัดกิจกรรมต่าง ๆ
ตามแผนการทำงานของโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
เช่น
การเยี่ยมโรงเรียนในโครงการทั้ง
3 โรงเรียน ประมาณ 18
ครั้ง
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง
"การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แบบองค์รวม"
ระหว่างวันที่ 22-26
เมษายน 2544 ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ครูจากโรงเรียนในโครงการ
ประมาณ 50 คน
รวมทั้งคณาจารย์ในสถาบันพี่เลี้ยง
ผู้ทรงคุณวุฒิ
อีกประมาณ 20 คน
การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
ณ
โรงเรียนคณฑีวิทยาคม
ระหว่างวันที่ 9-13
ตุลาคม 2544
โดยมีนักเรียน
ครู
นักศึกษาพี่เลี้ยง
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และมหาวิทยาลัยนเรศวร
ร่วมเข้าค่ายประมาณ
300 คน
การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ณ
โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย
จังหวัดระยอง
ระหว่างวันที่ 18-22
ตุลาคม 2544
การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ครั้งนี้
โดยความร่วมมือ
จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
และโรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย
ร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดค่าย
สำหรับผู้เข้าค่าย
ประกอบด้วย
นักเรียนและครูจากโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
โครงการ STARS*
คณาจารย์จากทั้ง
4 มหาวิทยาลัย
ผู้ทรงคุณวุฒิ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมเข้าค่ายประมาณ
300 คน
นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว
โครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนยังสนับสนุนให้ครู
นักเรียน
จากโรงเรียนในโครงการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อื่น
ๆ
อีกหลายกิจกรรม
2
โครงการโอลิมปิกวิชาการ
ตามที่ประเทศไทยได้ส่งนักเรียนไปแข่งขันวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
โดยมีเป้าหมายที่จะวัดมาตรฐานการศึกษามัธยมศึกษาของประเทศไทยเทียบเท่าสากล
และนำความรู้ที่ได้จากการแข่งขันมาช่วยยกระดับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของประเทศ
แต่การดำเนินการส่งเสริมเยาวชนไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการสาขาวิชาต่างๆ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532
จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า
10 ปีแล้ว
ยังไม่บรรลุเป้าหมาย
ด้วยเหตุผลหลายประการ
มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์(สอวน.)
และ มูลนิธิ สอวน. ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
10 ศูนย์
และส่วนกลางที่กรุงเทพฯ
5 ศูนย์
ดำเนินการเตรียมความพร้อม
และคัดเลือกนักเรียนเข้าไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับประเทศ
ตลอดจนเตรียมครูวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ให้มีคุณภาพ
ให้มีความพร้อมที่จะช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนในอนาคตต่อไป
สำหรับในเขตการศึกษา
8 คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้มีการร่วมมือกับโรงเรียนในเครือข่าย
8 จังหวัดภาคเหนือ
ได้แก่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
จังหวัดเชียงราย
โรงเรียนจักรคำคณาทร
จังหวัดลำพูน
โรงเรียนห้องสอนศึกษา
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
จังหวัดลำปาง
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
จังหวัดพะเยา
โรงเรียนสตรีศรีน่าน
จังหวัดน่าน
และโรงเรียนพิริยาลัย
จังหวัดแพร่
เพื่อดำเนินการตามโครงการโอลิมปิกวิชาการดังกล่าว
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เยาวชนไทยที่จะไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ
ได้รับการเตรียมความพร้อมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเต็มที่
สามารถเข้าร่วมแข่งขันกับเยาวชนจากนานาประเทศได้อย่างมั่นใจ
และประสบความสำเร็จในการแข่งขันได้มากขึ้น
เพื่อขยายจำนวนนักเรียนให้ได้มีโอกาสเข้ามารับการฝึกอบรมในโครงการโอลิมปิกวิชาการมากขึ้น
เพื่อเพิ่มจำนวนอาจารย์วิทยาศาสตร์
และอาจารย์คณิตศาสตร์ที่มีคุณภาพและมีความพร้อมที่จะช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับโรงเรียนให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล
เพื่อส่งเสริมให้มีการนำประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินการโครงการโอลิมปิกวิชาการมาพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ได้ระดับมาตรฐานเทียบเท่าสากล
เพื่อให้ได้หลักสูตรพิเศษที่สามารถนำไปใช้คัดเลือกนักเรียนที่ดีเด่นอย่างแท้จริง
เข้ามหาวิทยาลัยในประเทศในอนาคต
วิธีการดำเนินการ
สร้างและพัฒนาศักยภาพของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 ล่วงหน้า 1 ปี
ก่อนส่งเข้าโครงการโอลิมปิกวิชาการตามปกติ
ใน 5 สาขาวิชา ได้แก่
คณิตศาสตร์
คอมพิวเตอร์ เคมี
ชีววิทยา และฟิสิกส์
โดยจัดค่ายและดำเนินการในช่วงปิดภาคการศึกษาที่
1
และปิดภาคการศึกษาที่
2
และแบ่งการจัดค่ายเป็น
2 ครั้ง ดังนี้
ค่าย
1
จัดในช่วงปิดภาคการศึกษาที่
1
จำนวนนักเรียนสาขาวิชาละ
35 คน 5 สาขาวิชา
รวมทั้งหมด 175 คน
ระยะเวลาในการจัดค่ายประมาณ
15 วัน
ค่าย
2
จัดในช่วงปิดภาคการศึกษาที่
2
นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจากค่าย
1 สาขาวิชาละ 20 คน 5
สาขาวิชา
รวมทั้งหมด 100 คน
ระยะเวลาในการจัดค่ายประมาณ
15 วัน
นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจากการเข้าค่าย
2
จะได้รับการเสนอชื่อให้ไปแข่งขันเพื่อคัดเลือก
เข้าโครงการโอลิมปิกวิชาการ
ระดับประเทศ และสำหรับผู้ได้รับการคัดเลือกให้ไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติ
จะได้รับทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท
และระดับปริญญาเอก
ณ
ต่างประเทศทุกคน
ในปีการศึกษา
2543
มีนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการค่าย
1 และค่าย 2
และไปสอบแข่งขันเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการระดับประเทศ
เพื่อเข้าค่าย 3 ณ
สำนักงานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จำนวน 2 คน คือ คือ
นายธนิสร เหง้าจำปา
สาขาเคมี
จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ได้เหรียญทองแดง
และนายอดิศร ไชยบาง
สาขาชีววิทยา จากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
ได้เหรียญเงิน
สำหรับในปีการศึกษา
2544
คณะวิทยาศาสตร์ได้รับรับสมัครนักเรียน
ระดับมัธยมศึกษาปีที่
4 ปีการศึกษา 2544
โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ที่อยู่ในเขตการศึกษาเพื่อสอบคัดเลือกเข้า
ระหว่างวันที่ 13
มิถุนายน - 10 สิงหาคม 2544
โดยมีผู้สมัครสอบคัดเลือกทั้งหมด
812 คน จาก 43 โรงเรียน
และสอบแข่งขัน ณ
โรงเรียนเครือข่ายประจำจังหวัด
ในวันที่ 9 กันยายน 2544
โดยมีนักเรียนที่ผ่านคัดเลือกเข้าค่าย
1 จำนวน 165 คน จาก 25
โรงเรียน
และนักเรียนได้เข้าค่าย
1 เมื่อวันที่ 8-22
ตุลาคม 2544
หลังจากนี้จะได้คัดเลือกนักเรียนจากค่าย
1 เพื่อเข้าค่าย 2
สาขาวิชาละประมาณ 20
คน
ได้จำนวนนักเรียนรวม
101 คน
และนักเรียนจะเข้าค่าย
2 ณ คณะวิทยาศาสตร์
ระหว่างวันที่ 11-26
มีนาคม 2545
3
การอบรมครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ประจำภาคฤดูร้อน
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้ให้ความร่วมมือสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รับเป็นศูนย์อบรมครูวิทยาศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสาขาวิชาคณิตศาสตร์
เคมี ชีววิทยา
ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์
และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่ภาคฤดูร้อนปี
2542 เป็นต้นมา ณ
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้เข้าอบรมในแต่ละสาขาวิชาเป็นครูวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา
และจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน
โดยสาขาวิชาเคมีฝึกอบรมที่ภาควิชาเคมี
สาขาวิชาฟิสิกส์ฝึกอบรมที่ภาควิชาฟิสิกส์
สาขาชีววิทยา
และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมฝึกอบรมที่ภาควิชาชีววิทยา
สาขาคณิตศาสตร์ฝึกอบรมที่ภาควิชาคณิตศาสตร์
สาขาคอมพิวเตอร์ฝึกอบรมที่ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
การอบรมแต่ละสาขาวิชาแบ่งออกเป็น
3 หลักสูตร คือ
หลักสูตร 1, 2 และ 3
โดยหลักสูตร 1
และหลักสูตร 2
มุ่งเน้น
ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
ให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้
ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ในเนื้อหาวิชา
ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
ส่วนหลักสูตร 3
มุ่งเน้นทางด้านวิจัย
โดยให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้
ความเข้าใจ ในทฤษฏี
กระบวนการทำวิจัย
ฝึกปฏิบัติการทำวิจัย
และการเขียนรายงานการวิจัยในสาขาวิชาที่เข้าฝึกอบรม
สำหรับในภาคฤดูร้อนปี
2542, 2543 และ 2544
คณะวิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินการฝึกอบรมในหลักสูตร
1 ทุกสาขาวิชาที่ได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์ฝึกอบรม
ส่วนภาคฤดูร้อนปี 2545
คณะวิทยาศาสตร์
ได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมในหลักสูตร
1 และ 2
ของทุกสาขาวิชาดังกล่าวข้างต้น
ผู้เข้าอบรมจะได้รับการอบรมทั้งภาคทฤษฏี
และปฏิบัติ
ตลอดจนทัศนศึกษาในสถานที่ที่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาศาสตร์
ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาและส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ
และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เพื่อจะได้นำเอาความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาที่เข้าอบรมต่อไป
|