นโยบายและแนวทางในการดำเนินงาน

 


1. ด้านการจัดการเรียนการสอน
  1. ดำเนินการรับนักศึกษา ตามแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษา โดยไม่เพิ่มการผลิตบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี แต่เพิ่มจำนวนรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

  2. ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของสังคม

  3. พัฒนาระบบการจัดการศึกษา และกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา รวมทั้งแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสร้างวัฒนธรรม และบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ในองค์กร

  4. จัดระบบการบริการวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ให้มีความสำคัญเทียบได้กับภารกิจการผลิตบัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์

  5. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการเพื่อเพิ่มศักยภาพทางวิชาการของอาจารย์และนักศึกษา

  6. ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้บัณฑิตวิทยาศาสตร์ เป็นผู้มีความรู้ คุณธรรม และปัญญา มีความเป็นผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

  7. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

  8. แสวงหาทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษา เพื่อใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนการหามาตรการเพื่อดำเนินการให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามแผนกำหนดการศึกษา

  9. พัฒนากลไกการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นระบบที่ก่อประโยชน์สูงสุดต่อภารกิจของคณะฯ ในทุกๆ ด้าน และเทียบได้กับมาตรฐานสากล

2. ด้านการวิจัย

  1. วางระบบและกลไกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. ส่งเสริมให้มีการดำเนินการวิจัยวิทยาศาสตร์เชิงลึก และงานวิจัยเชิงการเรียนการสอน ตลอดจนการวางแนวทางเกี่ยวกับระบบดูแลลิขสิทธิ์/สิทธิทางปัญญา

  3. ส่งเสริมให้มีความร่วมมือทางด้านการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์กับสถาบันการศึกษา/วิจัย ทั้งในและต่างประเทศ

  4. ส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่อย่างครบวงจร ทั้งด้านการให้ความรู้ในการทำวิจัย การแสวงหาแหล่งทุน การบริการงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย ทั้งนี้โดยสร้างกลไกให้นักวิจัยรุ่นใหม่ทำงานร่วมทีมกับกลุ่มวิจัยที่มีศักยภาพ

  5. ส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัย และศูนย์วิจัย ให้สามารถพัฒนาศักยภาพสู่มาตรฐานสากล และเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งมีการตีพิมพ์ผลงาน/ จดสิทธิบัตร และการเผยแพร่ผลงาน ตลอดจนการนำงานวิจัยมาแก้ปัญหาชุมชน

  6. สนับสนุนให้องค์กรภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาวิจัย การดำเนินงานวิจัย และนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้

  7. แสวงหาทรัพยากรการวิจัย และส่งเสริมการแสวงหาแหล่งทุนวิจัย เพื่อสนับสนุนการวิจัย

  8. จัดระบบ Teaching Assistantship เพื่อให้อาจารย์สามารถดำเนินภารกิจในด้านอื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการวิจัย

3. ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน

  1. ให้มีการบริการวิชาการต่อสาธารณชนในด้านต่างๆ อย่างหลากหลายโดยอาศัยความเชี่ยวชาญของบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเองในด้านงบประมาณ

  2. เชื่อมโยงการบริการวิชาการกับการวิจัยให้มากขึ้นโดยเฉพาะการศึกษา ค้นคว้า ในเชิงนวัตกรรมที่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ตอบสนองความต้องการของชุมชน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิตต่างๆ

  3. สนับสนุนให้มีศูนย์เครื่องมือกลางในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อสามารถดำเนินการด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนอย่างเป็นระบบ

  4. พัฒนาการบริการวิชาการโดยความร่วมมือกับสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อย่างเป็นระบบ

4. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  1. สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อความเข้าใจ เห็นคุณค่า และอนุรักษ์มรดกทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และตระหนักในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  2. ส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปสนับสนุนการค้นคว้า วิจัย ทางศิลปวัฒนธรรม การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

  3. จัดทำแผนและการดำเนินการด้านการพัฒนาภูมิทัศน์ของคณะวิทยาศาสตร์ ให้สะอาด ร่มรื่น และเขียวชะอุ่มตลอดปี

5. ด้านการบริหาร

  1. จัดระบบการพัฒนาผู้บริหารและบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง และปฏิบัติงานตามกรอบภารกิจที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ

  2. นำระบบคุณภาพมาใช้ในการบริหารงาน โดยมีการกำหนดแผนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับพันธกิจแต่ละด้าน มีการดำเนินการตามแผนโดยยึดถือการมีส่วนร่วมของบุคลากรในคณะฯ ตลอดจนมีการประเมินแผนเป็นระยะ เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน และแนวทางแก้ไข เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  3. พัฒนาระบบการบริหารงบประมาณ ตลอดจนการบริหารทรัพยากรอื่นๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และประหยัดเพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล

  4. สร้างกลไกการบริหารที่เอื้อต่อการแสวงหารายได้ และการใช้ประโยชน์จากรายได้ของหน่วยงานต่างๆ ในคณะฯ อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อประโยชน์แก่ส่วนรวม

  5. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การวางแผน ตลอดจนการบริหารงานวิชาการและการวิจัย

  6. พัฒนาระบบและกลไกในการระดมทุนให้เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ


รายงานประจำปี 2544