1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย | สาหร่ายประยุกต์
Applied Algal Research Laboratory |
ภาควิชา : | ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
2. สมาชิก
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร. ยุวดี พีรพรพิศาล (Assist. Prof. Dr. Yuwadee Peerapornpisal) |
ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย |
2. รองศาสตราจารย์วันชัย
สนธิไชย (Assoc. Prof. Wanchai Sonthichai) |
สมาชิก |
3.อาจารย์ ดร.ปานมุก
วัชระปิยะโสภณ ( Lecturer Dr. Panmuk Vacharapiyasophon) |
สมาชิก |
4. อาจารย์ ดร.ชิตชล
ผลารักษ์ (Lecturer Dr. Chitchol Palalak) |
สมาชิก |
5. อาจารย์ ดร.สมพร
จันทระ (Lecturer Dr. Somporn Chantara) |
สมาชิก |
6. น.ส.สุดาพร ตงศิริ ( Miss Sudaporn Tongsiri ) |
สมาชิก |
7. นายสาคร พรหมขัติแก้ว (Mr. Sakorn Promkutkaew) |
สมาชิก |
3.
หลักการและเหตุผลของการจัดตั้ง
ความก้าวหน้าของวิทยาการเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตพวกสาหร่าย
กำลังรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์จากคุณค่าในเซลล์ของสาหร่ายเอง
เช่น ทางด้านการแพทย์ เกษตรกรรม เภสัชกรรม ประมง และทางด้านโภชนาการในลักษณะของการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีต่าง
ๆ เช่น การเพาะเลี้ยง การคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายจากแหล่งที่อยู่อาศัยต่าง ๆ กัน
โดยเน้นสายพันธุ์ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ การผลิตสารต่างๆ ที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม
แม้กระทั่งสายพันธุ์ที่มีคุณค่าทางด้านโภชนบำบัดในการรักษาโรคต่าง ๆ อีกด้านหนึ่ง
คือ ด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำในลักษณะของการใช้สาหร่ายเป็นสิ่งมีชีวิตติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในลักษณะ
biomonitoring ซึ่งสามารถชี้ถึงคุณภาพของแหล่งน้ำนั้นก็กำลังเป็นที่สนใจกันอย่างกว้างขวาง
และอีกประการหนึ่ง คือ การจัดให้สาหร่ายเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในแหล่งน้ำโดยเฉพาะในเขตร้อน
ซึ่งมีการกระจายทั้งชนิดและจำนวนที่แตกต่างจากเขตอบอุ่น ดังนั้นการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ
(biodiversity) ของสาหร่ายจึงเป็นอีกจุดหนึ่งซึ่งควรจะให้ความสนใจเป็นอย่างสูง
ปัจจุบันการนำสาหร่ายมาใช้เป็นอาหารในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านกำลังเป็นที่นิยมกันพอสมควร
และนับวันจะได้รับความสนใจมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาทางด้านอนุกรมวิธาน รวมทั้งคุณค่าทางโภชนาการจากสาหร่ายเหล่านี้จึงน่าจะส่งเสริมให้เกิดขึ้น
ในภาควิชาชีววิทยามีการเรียนการสอนและงานวิจัยทางด้านสาหร่ายมากพอสมควร และมีอาจารย์และนักวิจัยที่ทำงานทางด้านสาหร่ายมากขึ้นกว่าในอดีต
พร้อมกันมีนักศึกษาให้ความสนใจมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเป็นจำนวนมากในทุก
ๆ ปี ดังนั้นการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยสาหร่ายประยุกต์จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ
และควรดำเนินการต่อไปในอนาคตอย่างต่อเนื่อง
4.
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ในห้องปฏิบัติการวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาหร่าย
7 ประการคือ
4.1 วิจัยเกี่ยวกับการนำสาหร่ายขนาดเล็ก
(microalgae) ของสายพันธุ์ที่พบในบริเวณภาคเหนือเพาะเลี้ยงในสูตรอาหารต่างๆ และศึกษาในแง่คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายชนิดนั้น
ๆ กับนำไปประยุกต์ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งอาหารเสริมของคน โดยมีเป้าหมายจะรวบรวมสายพันธุ์ของสาหร่ายขนาดเล็กที่มีประโยชน์ให้เป็นคลังสาหร่ายของของเขตภาคเหนือตอนบน
4.2 เพาะเลี้ยงสาหร่ายที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
เช่น สาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina platensis ) ในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม แล้วนำไปใช้ในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
หรือนำไปประยุกต์เป็นอาหารเสริมของคนต่อไป
4.3 วิจัยเกี่ยวกับการนำสาหร่ายน้ำจืดมาเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพของน้ำในระบบนิเวศน้ำจืดในเขตภาคเหนือ
4.4 ศึกษาความหลากหลายของสาหร่ายน้ำจืดทั้งชนิดที่เป็นแพลงก์ตอนพืช
สาหร่ายบริเวณท้องพื้นน้ำและสาหร่ายขนาดใหญ่ (macroalgae)
4.5 ศึกษาความหลากหลายทางด้านสัณฐานวิทยา
และชีวโมเลกุลรวมทั้งแยกเชื้อบริสุทธิ์ของสาหร่ายที่ทนอุณหภูมิจากบริเวณน้ำพุร้อน
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตสารต่าง ๆ ที่จะมีประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมต่อไป
4.6 ศึกษาการแพร่กระจายของสาหร่ายพิษ
Microcystis aeruginosa K?tz และสาหร่ายที่สร้างสารพิษอื่น ๆ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
4.7 ศึกษานิเวศวิทยา การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดใหญ่
ซึ่งมีศักยภาพในการนำมาเป็นอาหารและยา รวมทั้งการแปรรูปสาหร่ายให้เป็นอาหารในระดับท้องถิ่นและสามารถจัดจำหน่ายในท้องที่อื่น
ๆ ได้อย่างกว้างขวาง
5.
งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 ชื่อเรื่อง นิเวศวิทยาและพิษวิทยาของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
Microcystis aeruginosa Kutz ในอ่างเก็บน้ำบริเวณภาคเหนือตอบบนของประเทศไทย (ระยะเวลา
2 ปี)
ทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สาขาความร่วมมือกับต่างประเทศ (ไทย-อังกฤษ) โดยความร่วมมือกับ Dr. Tony Bailey-Watts
Institute of Freshwater Ecology, Edinburgh, และ Prof. Dr. G. Codd, University
of Dundee ประเทศสหราชอาณาจักร ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์
5.2 ชื่อเรื่อง การศึกษาความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย
Spirulina platensis ระดับนำร่องจากน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากระบบก๊าซชีวภาพฟาร์มเลี้ยงสุกร
ปีที่ 2 (ระยะเวลา 2 ปี)
ทุนวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5.3
ชื่อเรื่อง Production of organic substances from CO2 by thermotolerant autotrophic
microorganisms
ทุนวิจัย โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ
ระหว่าง Japan Society for the Promotion of Science ( JSPS) กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ประเทศไทย (NRCT) งานวิจัยเรื่องนี้ร่วมมือกับ Assoc. Prof. Dr. Masaharu Ishii
แห่ง Department of Biotechnology, Faculty of Agriculture and Life Science, Tokyo
University ประเทศญี่ปุ่น (ได้แนบผลงานการตีพิมพ์ร่วมกันระหว่างหัวหน้าคณะวิจัย
และ นักวิจัยชาวญี่ปุ่นมาด้วยแล้ว
5.4 ชื่อเรื่อง ศักยภาพของสาหร่ายในการนำมาใช้เป็นอาหารและยา
ทุนวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(อยู่ในระหว่างการดำเนินการทำสัญญา
แต่ได้ทำวิจัยไปบางส่วนแล้ว)
6.
อุปกรณ์เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว
- ชุดเก็บน้ำ
- เครื่องมือวัดคุณภาพน้ำพื้นฐาน
- กล้องจุลทรรศน์แบบเลนส์ประกอบ และ
inverted microscope
- ตู้เพาะเลี้ยงสาหร่ายอุณหภูมิปกติ
และอุณหภูมิสูงพร้อมอุปกรณ์การเลี้ยง
- ตู้บ่มเชื้อ และเก็บเชื้อ
- Spectrophotometer
7.
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายในด้านผลผลิตและการเพาะเลี้ยงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
รวม 16 เรื่อง
7.2 ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายในด้านควมหลากหลายทางชีวภาพในการใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำและสาหร่ายพิษ
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวม 30 เรื่อง
7.3 ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การและสถาบันต่าง
ๆ ให้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายในแง่ผลผลิตและการเพาะเลี้ยง ความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่าย
การใช้สาหร่ายเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำและสาหร่ายพิษ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวม
12 ทุน
7.4 ผลิตบัณฑิตตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในระดับต่าง
ๆ ดังนี้
ปริญญาตรี
23 คน
ปริญญาโท
18 คน
7.5 นักศึกษาในปัจจุบันมีดังนี้
ปริญญาตรี
7 คน
ปริญญาโท
8 คน
ปริญญาเอก
5 คน
7.6
เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมระดับปริญญาเอก นักศึกษาจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุรนารี
และระดับปริญญาโท นักศึกษาภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
7.7 เป็นที่ปรึกษาในด้านคุณภาพน้ำแก่ชุมชนต่าง
ๆ ที่มาขอความร่วมมือ รวมทั้งบริการการตรวจชนิดของสาหร่ายในแหล่งน้ำที่มีปัญหาหลายครั้ง
7.8 เป็นที่ปรึกษาของโครงการ BRT ส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยภาคเหนือ
และเป็นที่ปรึกษาของสถาบันราชภัฏเชียงราย และอุตรดิตถ์ในแง่การวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายและคุณภาพน้ำ
7.9 อาจารย์ในห้องปฏิบัติการฯบางคนได้รับเชิญไปเผยแพร่งานทางด้านสาหร่ายและคุณภาพน้ำทางหนังสือพิมพ์
หนังสือสารคดี รายการวิทยุ และโทรทัศน์หลายครั้ง
8.
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ (เฉพาะปี 2543-2545)
8.1 ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ
1.Peerapornpisal, Y., T. Pekthong,
P. Waiyaka and S. Promkutkaew. 2000. Diversity of Phytoplankton and Benthic
Algae in Mae Sa Stream, Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai, Thailand.
Journal of Natural History Bulletin of the Siam Society, Vol. 48: 193-211.
2. Ishii, M., S. Takishita, T. Iwasaki,
Y. Peerapornpisal, J. Yoshino, T. Kodama and Y. Igarashi. 2000. Purification
and Characterization of Membrane-bound Hydrogenase from Hydrogenobacter thermophilus
Strain TK-6, an Obligately Autotrophic, Thermophilic, Hydrogen-oxidizing Bacterium.
Journal of Biosci. Biotechnol. Biochem. Vol. 64(3):492-502.
3. Pekthong, T. and Y. Peerapornpisal.
2001. Fifty One New Record Species of Freshwater Diatoms in Thailand. Journal
of the Science Faculty of Chiang Mai University. Vol. 28(2):97-112.
8.2
ผลงานที่เผยแพร่ตีพิมพ์ในที่ประชุมวิชาการ
8.2.1 การประชุมทางวิชาการ เรื่อง The
Fifth International Conference on Toxic Cyanobacteria, 16-20 July 2001, Noosa,
Queensland, Australia.
1. Kiatpradub, S., Y. Peerapornpisal,
S. Lipikorkosol and S. Promkutkeaw. 2001. The Investigation of Toxic Cyanobacteria
in Bang Phra Reservoir, Thailand. Abstract on The Fifth International Conference
on Toxic Cyanobacteria, 16-20 July, 2001, Noosa Queensland, Australia.
2. Panuvanitchakorn, N., Y. Peerapornpisal,
S. Lipigorngoson and S. Promkutkeaw. 2001. Analysis of Toxic Cyanobacteria ing
Lamtakong Dam Reservoir, Nokorn Ratchasima Province, Thailand. Abstract on The
Fifth International Conference on Toxic Cyanobacteria, 16-20 July, 2001, Noosa
Queensland, Australia.
3. Ngearnpat, N., Y. Peerapornpisal,
S. Lipigorngoson and S. Promkutkeaw.2001. Toxic Cyanobacteria in Nong Han Reservoir,
Saconnakorn, Thailand. Abstract on The Fifth International Conference on Toxic
Cyanobacteria, 16-20 July, 2001, Noosa Queensland, Australia.
4. Prommana, R., Y. Peerapornpisal,
S. Lipigorngoson and S. Promkutkeaw. 2001. Distribution of Toxic Cyanobacteria
and Water Quality in Kwan Phayao, Phayao Province, Thailand in 1999-2000. Abstract
on The Fifth International Conference on Toxic Cyanobacteria, 16-20 July, 2001,
Noosa Queensland, Australia.
8.2.2
การประชุมทางวิชาการ เรื่อง The Seventh International Phycological Congress,
18-25 August 2001, Thessaloniki, Greece.
1. Khuanpet, A. and Y. Peerapornpisal.
2001. Pigment Analysis of some Green and Blue-Green Algae. Journal of the International
Phycological Society. Vol. 40(4):89.
2. Wanathong, P., Y. Peerapornpisal,
P. Preechapanya and S. Promkutkaew. 2001. Water Quality, Macroalgae and Benthic
Diatom Distribution in The Mae Chaem Stream, Chiang Mai, Thailand. Journal of
the International Phycological Society. Vol. 40(4):100-101.
3. Panyoo, W. and Y. Peerapornpisal.
2001. Green algae From Some Hot Springs in Thailand. Journal of the International
Phycological Society. Vol. 40(4):101.
4. Sompong, U. and Y. Peerapornpisal.
2001. Cyanophyta in Hot Spring Areas of Northern Thailand. Journal of the International
Phycological Society. Vol. 40(4):103.
5.Peerapornpisal, Y., T. Kunpradid
and P. Wiyaka. 2001. Diversity of Phytoplankton in Some Wetlands of the Chiang
Mai-Lamphun Basin, Thailand. Journal of the International Phycological Society.
Vol. 40(4):115.
6. Kunpradid, T. and Y. Peerapornpisal.
2001. Distribution of Macroalgae in Maesa Stream, Doi Suthep-Pui National Park,
Chiang Mai, Thailand. Journal of the International Phycological Society. Vol.
40(4):117.
8.2.3
การประชุมวิชาการประจำปี โครงการ BRT ครั้งที่ 5 วันที่ 8-11 ตุลาคม 2544 โรงแรมนภาลัย
จังหวัดอุดรธานี
1. คมสัน เรืองฤทธิ์ และยุวดี พีรพรพิศาล.
2544. ความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่าย สีเขียวกลุ่มเดสมิดส์ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย.
หน้า 38
2. ตรัย เป็กทอง และยุวดี พีรพรพิศาล.
2544. ความหลากหลายทางชีวภาพของเบนทิคไดอะตอมและการประยุกต์เพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในสำน้ำแม่สา
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เชียงใหม่. หน้า 34.
3. ทัตพร คุณประดิษฐ์ และยุวดี พีรพรพิศาล.
2544. ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายขนาดใหญ่ในลำน้ำแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
จังหวัดเชียงใหม่ . หน้า 33
4. ทัตพร คุณประดิษฐ์ และยุวดี พีรพรพิศาล.
2544. ความหลากหลายของสาหร่ายขนาดใหญ่ไดอะตอมพื้นท้องน้ำ และความสัมพันธ์กับวัฏจักรไนโตรเจนในลำน้ำที่สำคัญทางภาคเหนือ
. หน้า 35
5. พิษณุ วรรณธง และยุวดี พีรพรพิศาล.
2544.การสำรวจนิเวศวิทยาของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในลุ่มน้ำภาคตเหนือบางแห่งและการเพาะเลี้ยง.
หน้า 36
6. ยุวดี พีรพรพิศาล, สมร คลื่นสุวรรณ,
ฉมาภรณ์ นิวาศบุตร, กนกพร กวีวัฒน์, สาคร พรหมขัติแก้ว, ตรัย เป็กทอง, ประเสริฐ
ไวยะกา และ ทัตพร คุณประดิษฐ์. 2544.ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์
ไดอะตอมพื้นท้องน้ำและสาหร่ายขนาดใหญ่ในลำน้ำแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
จังหวัดเชียงใหม่. หน้า 32.
7.อุดมลักษณ์ สมพงษ์ และยุวดี พีรพรพิศาล.
2544. ความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่ายในน้ำพุร้อนบางแห่งในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย.
หน้า 37.
8.2.4
การประชุมทางวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 วันที่ 16-1ตุลาคม
2544 โรงแรมสีการ์เดนส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
1. ทัตพร คุณประดิษฐ์, ประเสริฐ ไวยะกา
และยุวดี พีรพรพิศาล. 2544. ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำบางบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำแอ่ง
เชียงใหม่-ลำพูน . หน้า 700
2. นพรัตน์ ภาณุวณิชชากร, ยุวดี พีรพรพิศาล,
สุวิเวก ลิปิกรโกศล และสาคร พรหมขัติแก้ว. 2544. การศึกษาสาหร่ายพิษในอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง
จังหวัดนครราชสีมา ปี 2543-2544. หน้า 671.
3. เนติ เงินแพทย์, ยุวดี พีรพรพิศาล,
สุวิเวก ลิปิกรโกศล และสาคร พรหมขัติแก้ว. 2544. การศึกษาสาหร่ายพิษในหนองหาร จังหวัดสกลนคร.
หน้า 673
4. พิษณุ วรรณธง, ทัตพร คุณประดิษฐ์,
ยุวดี พีรพรพิศาล, วันชัย สนธิไชย และ สาคร พรหมขัติแก้ว. 2544.ความหลากหลายและนิเวศวิทยาของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินขนาดใหญ่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน..
หน้า 494
5. เมธี ธีรรัตนสถิต และยุวดี พีรพรพิศาล.
2544. ความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตกับปริมาณรงควัตถุบางชนิดในสาหร่ายสีเขียงแกมน้ำเงินทนร้อน
Synechococcus lividus Copeland. หน้า 493.
6. ยุวดี พีรพรพิศาล,ไมตรี สุทธจิตต์,
ประสงค์ คุณานุวัฒนชัยเดช, วันชัย สนธิไชย, วีรวรรณ เรืองยุทธิการณ์, สุวิเวก ลิปิกรโกศล,
นันทฤทธิ์ โชคถาวร, ธีรศักดิ์ สมดี, คมสัน เรืองฤทธิ์, จีรพร เพกเกาะ, รัฐภูมิ
พรหมณะ, นพรัตน์ ภาณุวณิชชากร, เนติ เงินแพทย์, ศิริพงษ์ เกียรติประดับ และสาคร
พรหมขัติแก้ว. 2544. สถานการณ์ของสาหร่ายพิษในแหล่งน้ำดิบเพื่อการประปาในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2543-2544. หน้า 704.
7. วราภรณ์ ปานอยู่ และยุวดี พีรพรพิศาล.
2544. การแยกและศึกษาคุณสมบัติการทนอุณหภูมิสูงของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจากน้ำพุร้อนบางแหล่งบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย.
หน้า 492.
8. ศิริพงษ์ เกียรติประดับ, ยุวดี พีรพรพิศาล,
สุวิเวก ลิปิกรโกศล และสาคร พรหมขัติแก้ว. 2544. การตรวจสอบสาหร่ายพิษในอ่างเก็บน้ำบางพระ
จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย.หน้า 672.
9. สาคร พรหมขัติแก้ว, ยุวดี พีรพรพิศาล
และจีรพร เพกเกาะ. 2544. คุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่
ปี 2543-2544. หน้า 679.
10. อัญชลี เขื่อนเพชร และยุวดี พีรพรพิศาล.
2544. การคัดแยกและวิเคราะห์รงควัตถุของสาหร่ายสไปรูลินาสายพันธุ์ใหม่จากจังหวัดนครราชสีมา.
หน้า 491.
11. อุดมลักษณ์ สมพงษ์ และยุวดี พีรพรพิศาล.
2544. ความหลากหลายของสาหร่ายในแหล่งน้ำพุร้อนทางภาคเหนือของประเทศไทย. หน้า 701
8.2.5
การประชุมวิชาการ 3th ASEAN Microscopy Conference and 19th Annual Conference
of EMST, January 30 - February1, 2002, Chiang Mai. Thailand.
1. Pekthong, T. and Y. Peerapornpisal.
2002. Scanning Electron Micrographs of Freshwater Diatoms In Diatomite from
Lampang Province, Thailand. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand,
16(1):206-207.
2. Prommana, R., Y. Peerapornpisal
and S. Promkutkeaw. 2002. Two Species of Filamentous Cyanobacteria, Anabaena
spp. and Water Quality in Kwan Phayao, Phayao Province, Thailand in 1999-2000.
Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):208-209.
3. Kunpradid, T., Y. Peerapornpisal
and S. Promkutkeaw. 2002. Batrachospermum macrosporum Montague in Mae Sa Stream,
Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai, Thailand. Journal of Electron Microscopy
Society of Thailand, 16(1):248-249.
4. Pekkoh, J., Y. Peerapornpisal and
S. Promkutkeaw. 2002. Diversity of Staurastrum spp. in the Reservoir of Mae
Kuang Udomtara Dam, Chiang Mai, Thailand. Journal of Electron Microscopy Society
of Thailand, 16(1):250-251.
5. Khuanpet, A. and Y. Peerapornpisal.
2002. Morphology of Spirulina (Arthrospira) platensis Under Light Microscope.
Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):252-253.
6. Suphan, S., Y. Peerapornpisal and
T. Pekthong. 2002. The Use of Chloroplasts and Other Features of the Living
Cell in the Taxonomy of Freshwater Diatoms. Journal of Electron Microscopy Society
of Thailand, 16(1):254-255.
7. Panyoo, W. and Y. Peerapornpisal.
2002. Morphology of the Isolation Strain of Thermotolerant Blue-Green Algae
Mastigocladus laminosus Cohn from Hot Spring. Journal of Electron Microscopy
Society of Thailand, 16(1):256-257.
8. Kiatpradub, S., Y. Peerapornpisal
and S. Promkutkeaw. 2002. Morphology of Aulacoseira species Under Light and
Scanning Electron Microscopes. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand,
16(1):258-259.
9. Panuvanitchakorn, N., Y. Peerapornpisal
and S. Promkutkeaw. 2002. Volvox sp. in the Reservoir of Lamtakong Dam, Nakorn
Ratchasima Province, Thailand. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand,
16(1):260-261.
10. Wanathong, P., and Y. Peerapornpisal.
2002. Microscopic Morphologies for Blue Green Macroalgae Identification. Journal
of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):262-263.
11. Sompong, U., and Y. Peerapornpisal.
2002. Diatoms in the Thermal Springs of Northern Thailand. Journal of Electron
Microscopy Society of Thailand, 16(1):264-265.
12. Sompong, U., and Y. Peerapornpisal.
2002. Thermophilic Blue Green Algal in the Thermal Springs of Northern Thailand.
Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):266-267.
13. Ngernpat, N., Y. Peerapornpisal
and S. Promkutkeaw. 2002. Diversity of Desmids in Nong Han Reservoir, Skolnakorn
Province, Thailand. Journal of Electron Microscopy Society of Thailand, 16(1):268-269.