1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย | เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
Postharvest Technology |
ภาควิชา | ชีววิทยา |
2. สมาชิก
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำนงค์ อุทัยบุตร | ผู้ประสานงาน |
2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กอบเกียรติ แสงนิล | สมาชิก |
3) อาจารย์ ดร.กานดา หวังชัย | สมาชิก |
4) อาจารย์ อุษาวดี ชนสุต | สมาชิก |
5) นางสาวศิริรัตน์ เตปินยะ | สมาชิก |
3.
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งยังต้องพึ่งพารายได้ของภาคการเกษตรอยู่
ดังนั้นจึงพบปัญหาเกี่ยวกับผลผลิตเสมอ โดยในบางปีผลผลิตมีมาก แต่ในบางปีผลผลิตมีน้อย
ซึ่งมีผลทำให้ราคาและปริมาณของพืชผลมีความผันแปร นอกจากนี้ผลิตผลบางชนิดที่เน่าเสียได้ง่าย
สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจ และวิธีการปฏิบัติต่อผลิตผลที่ถูกต้อง
ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (postharvest technology)
เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น จึงเป็นงานช่วยเหลือแก่เกษตรกร (ผู้ผลิต) พ่อค้าคนกลางและผู้บริโภค
ปัจจุบันงานวิจัยและพัฒนาทางด้านนี้ได้เข้ามามีส่วนอย่างมากในแง่การผลิต การตลาด
และการใช้ผลิตผลต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
เป็นต้น ต่างให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพร้อมกับพยายามหาวิธีที่จะลดการสูญเสียผลิตผลและใช้ผลิตผลต่างๆ
อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเข้าไปมีบทบาทช่วยลดการสูญเสียของผลิตผลหลายชนิด
และช่วยในการส่งออกพืชผลสดของไทยไปยังต่าง-ประเทศ อย่างไรก็ตามงานทางด้านนี้ยังมีน้อยและไม่เพียงพอ
จึงต้องมีการวิจัยและพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ
หลายสาขาวิชา และต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ รวมทั้งการประยุกต์เพื่อนำผลงานวิจัยพื้นฐานไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4.
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของทีมวิจัยในสายงานทางด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวของพืชและร่วม-ทำงานวิจัยด้วยกัน
2) เพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนและทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
3) เพื่อให้คำปรึกษาและเผยแพร่ผลงานวิจัยแก่ผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
5.
งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินอยู่
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และสรีรวิทยาระหว่างการเจริญเติบโตของพืชผล
เพื่อหาดัชนี การเก็บเกี่ยวพืชผล และหาวิธีการในการยืดอายุการเก็บรักษารวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม
โดยคำนึงถึงคุณภาพของพืชผลควบคู่กันไปด้วย
ศึกษาและวิจัยถึงผลของการปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยวที่มีต่อคุณภาพและการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวของพืชผลต่างๆ
นอกจากนี้ยังศึกษาหาวิธีป้องกันและลดการเน่าเสียของพืชผลเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์
โดยการใช้สารเคมี สารที่สกัดจากพืชและการกระตุ้นให้พืชผลสามารถสร้างสารต่าง ๆ ขึ้นมาป้องกันตัวเอง
6.
อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
1) Gas Chromatography (GC) with TCD
and FID detectors
2) Chromameter and data processing
system
3) Automatic Tritrator and Conductometer
4) Firmness Tester
5) Refractometers
6) UV-VIS spectrophotometer
7) UV radiometer
8) High speed centrifuge
9) Cold room
10) Crude fiber extraction set
11) Ozone generator
12) Autoclave
7.
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ (เฉพาะในปี
พ.ศ.2544)
Whangchai, K., H. Gemma, J. Uthaibutra
and S. Iwahori. 2001. Postharvest physiology and microanalysis of mineral elements
of 'Nam Doc Mai' mango fruit grown under different soil composition. J. Japan.
Soc. Hort. Sci. 70 (4) : 463-465.
7.2 ผลงานวิจัยที่เสนอในงานประชุม วทท.
27 (16-18 ตุลาคม 2544) 3 เรื่อง (ตามเอกสารที่แนบมา)
7.3 ความร่วมมือกับภาคเอกชนได้ดำเนินการโครงการวิจัยเกี่ยวกับมะม่วงพันธุมหาชนก
และให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนเกี่ยว-กับเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
7.4 ความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันวิจัยอื่นๆ
คณาจารย์ในห้องปฏิบัติการ ได้ร่วมเป็นวิทยากรและเป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยเกษตร-ศาสตร์
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมทั้งเข้าร่วมโครงการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวของโครงการ
ADB
8.
การให้บริการวิชาการ
ให้คำปรึกษาในด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวของผลไม้แก่
เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ และมะม่วง รวมทั้งเข้าร่วมกับสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้บริการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพของพืชผล