1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย | พฤกษศาสตร์พื้นบ้านและพรรณพฤกษชาติในภาคเหนือ Ethnobotany and Northern Thai Flora |
ภาควิชา | ชีววิทยา |
2. สมาชิก
1. นางชูศรี ไตรสนธิ | ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย |
2. นายปริทรรศน์ ไตรสนธิ | สมาชิก |
3. นายประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ | สมาชิก |
4. นางสาวอรุโณทัย จำปีทอง | สมาชิก |
5. นางสาวอังคณา อินตา | สมาชิก |
3.
หลักการและเหตุผล
การดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของอารยธรรมตลอดมาจนปัจจุบัน
ในกลุ่มชนพื้นเมืองของท้องถิ่นต่าง ๆ ได้อาศัยปัจจัยหลักจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัวซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากพืช
การเรียนรู้ที่จะนำพืชมาใช้ประโยชน์นั้นเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงเพื่อการอยู่รอดในธรรมชาติ
โดยที่อาจมีการดัดแปลงในบางสิ่งบางอย่างด้วยสติปัญญาความสามารถของแต่ละกลุ่มชนแต่ละกลุ่มเพื่อให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
ความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ได้ถ่ายทอดให้แก่ชนรุ่นหลังสืบต่อกันมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
เป็นความรู้เฉพาะของชนแต่ละกลุ่ม เรียกกันว่า " ภูมิปัญญาพื้นบ้าน "
ภาคเหนือของประเทศไทยมีพรรณพืชแตกต่างจากภาคอื่นๆ
ของประเทศไทยอย่างชัดเจน ผนวกกับการที่มีชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งการดำรงชีวิตของกลุ่มชนเหล่านี้ยังคงมีลักษณะที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก
แต่โดยที่ความเจริญและเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้แพร่เข้าไปยังกลุ่มชนเหล่านี้อย่างรวดเร็ว
ทำให้วิถีทางในการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป และกำลังละทิ้งภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากพืช
หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน" จึงเป็นที่น่าเสียดายหากว่าความรู้เหล่านี้จะต้องสูญไป
จึงควรที่จะต้องเร่งสำรวจและบันทึกข้อมูลความรู้เหล่านี้ไว้เพื่อที่จะนำมาพัฒนาต่อไปด้วยวิชาการทางวิทยาศาสตร์
เพื่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น
งานวิจัยด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทยกำลังได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ
เพราะผลการวิจัยจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในอนาคต ในการวิจัยพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของคณะผู้วิจัยจากภาควิชาชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เน้นถึงการวิเคราะห์ผลจากการสำรวจ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พันธุ์พืชด้วย
4.
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อศึกษาและรวบรวมพืชที่ชนพื้นเมืองกลุ่มต่าง
ๆ ในประเทศไทยนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และได้ถ่ายทอดกรรมวิธีการใช้มาแต่บรรพบุรุษ
โดยเน้นประชากรในภาคเหนือ
5.
งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาเผ่าต่าง
ๆ ในเขตพัฒนาโครงการหลวง เพื่อรวบรวมสมุนไพรบนที่สูง
5.2 การศึกษาสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของตะไคร้ต้นที่พบจากแหล่งต่าง
ๆ บนที่สูง
5.3 การพัฒนาเชิงเศรษฐกิจของพืชสมุนไพรท้องถิ่นบนที่สูง
5.4 พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ในเขตอำเภอขุนยวม
จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ ดอยภูคา จังหวัดน่าน
6.
อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
6.1 อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างพืช
6.2 อุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล
7.
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 เป็นวิทยากรในการประชุมและอบรมทางวิชาการ
7.1.1 เป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการเรื่อง
"หลักสูตรความหลากหลายทางชีวภาพ" ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 13
- 14 มิถุนายน 2544
7.1.2 เป็นวิทยากรในการอบรมครู สาขาชีววิทยา
ณ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 29 - 30 เมษายน 2545
7.1.3 เป็นวิทยากรบรรยายในการอบรม นักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น
ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ วันที่ 13 พฤษภาคม 2545
7.2 จัดนิทรรศการเรื่อง "พฤกษศาสตร์พื้นบ้านในเขตอำเภอขุนยวม
จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ บนดอยภูคา จังหวัดน่าน " วันที่ 21 - 23 มิถุนายน 2544
7.3 การนำเสนอผลงานวิจัย
7.3.1 Ethnobotanical Study of Lawa
and H'tin in Doi Phuka National Park, Nan Province, Thailand. International
Symposium on Biodiversity Management and Sustainable Development in the Lancang-Mekong
River Basin. Xishuangbanna, China . December 4 - 7, 2001.
7.3.2 Local Uses of Plant Species on
Doi Inthanon . International Congress on Forest and People in Thailand . Kasetsart
University . Bangkok .
8.
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
8.1 ชูศรี ไตรสนธิ . 2544 . พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
. ชีวปริทรรศน์ 3 (2) : 2 - 5 .
8.2 ชูศรี ไตรสนธิ และ คณะ . 2544 .
การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงบ้านอ่างกาน้อย จังหวัดเชียงใหม่ . การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ครั้งที่ 27 จังหวัดสงขลา หน้า 444 .
8.3 รัชชุพร สภานุชาต ชูศรี ไตรสนธิ
และ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ . 2544 . พืชเครื่องเทศในสกุล Zanthoxylum บางชนิดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
. การประชุมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 จังหวัดสงขลา หน้า
442 .
8.4 บรรณารักษ์ ปันทะรส ปริทรรศน์ ไตรสนธิ
และ ชูศรี ไตรสนธิ . 2544 . การสำรวจและเก็บรวบรวมพืชสมุนไพรบริเวณหมู่บ้านนาขวาง
อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน . การ ประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่
27 จังหวัดสงขลา หน้า 443.
8.5 อังคณา อินตา และ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ
. 2544 . สัณฐานวิทยาและกายวิภาคของเจียวกู้หลาน (Gynostemma pentaphyllum Makino)
ในเขตภาคเหนือตอนบน. การประชุม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่
27 จังหวัดสงขลา หน้า 445
8.6 Olsen C.S., C. Traynor, C. Trisonthi
and I. Burikam . 2001 . The Forest as a Resource for Non-timber Produce. In
Forest in Culture - Culture in Forest . Research Centre on Forest and People
in Thailand. p. 131 - 145 .