1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย | ห้องปฏิบัติการวิจัยพันธุศาสตร์ Genetics Research Laboratory |
ภาควิชา | ชีววิทยา |
2. สมาชิก
1. รองศาสตราจารย์
ดร.ดาวรุ่ง กังวานพงศ์ (Assoc. Prof. Dr. Daoroong Kangwanpong) |
ผู้ประสานงาน |
2. รองศาสตราจารย์
ดร. ทิพย์มณี ภะรตะศิลปิน (Assoc. Prof. Dr. Thipmani Paratasilpin) |
สมาชิก |
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ปริศนา จริยวิทยาวัฒน์ (Assist. Prof. Prisna Chariyavidhayawat) |
สมาชิก |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หัทยา กาวีวงศ์ (Assist. Prof. Hattaya Kawewong) |
สมาชิก |
5. รองศาสตราจารย์
ดร. อารยา จาติเสถียร (Assoc. Prof. Dr. Araya Jatisatienr) |
สมาชิก |
6. อาจารย์
ดร.ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา (Dr. Srisulak Dheeranupattana) |
สมาชิก |
3.
หลักการและเหตุผลของการจัดตั้ง
ในสภาวะปัจจุบันที่มนุษย์มุ่งใช้เทคโนโลยีใหม่
ๆ ในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ จนมีผลทำให้สูญเสียสภาพธรรมชาติที่สมดุลพร้อมทั้งความหลากหลายทางธรรมชาติไปอย่างน่าเสียดายนี้
ควรจะต้องมีการศึกษาสภาพความหลากหลายทางชีวภาพ อันเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต เพราะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตในการปรับตัวให้อยู่รอดได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
นอกจากนี้การใช้สารเคมีอย่างไม่ระมัดระวังในการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษต่าง
ๆ ทั้งในดิน น้ำ และอากาศ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืช
โดยอาจะมีผลถึงสารพันธุกรรมทั้งในระดับยีนและโครโมโซม ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคพันธุกรรมหรือโรคมะเร็ง
ตลอดจนความผิดปกติแบบอื่น ๆ ได้
ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงประสงค์ที่จะทำการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช
สัตว์ และมนุษย์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรม ตลอดจนความผันแปรของอัลลีลซึ่งเกิดจากพลังขับดันตามธรรมชาติหลาย
ๆ รูปแบบ นอกจากนั้นยังต้องการศึกษาสาเหตุและผลของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต
เพื่อที่จะนำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ กับปรับปรุงสายพันธุ์ของพืชและสัตว์
อันจะเป็นประโยชน์ในด้านการแพทย์ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม อีกด้วย
4.
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1.เพื่อศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรมของทั้งสัตว์
พืช และมนุษย์ ตลอดจนความผันแปรของอัลลีล อันทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว
2. ประยุกต์ใช้ความรู้พันธุศาสตร์พื้นฐาน
ในการติดตามผลทางชีวภาพเพื่อเตือนภัย ป้องกันและดูแลรักษา ประชากรมนุษย์ที่สัมผัสมลพิษในระดับที่เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
5.
งานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 ศึกษาพันธุศาสตร์ประชากร เพื่อดูอิทธิพลของการโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยต่อความถี่ของอัลลีลบางอัลลีล
ในชาวเขา 6 เผ่า จากจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน โดยใช้ Y chromosome
microsatellites
5.2 เปรียบเทียบโครงสร้างพันธุกรรมระหว่างชนกลุ่มน้อยในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
กลุ่มที่ใช้ภาษาตระกูลไท-กะได (ไทลื้อ, ไทยวน, ไทยอง, ไทเขิน) กับกลุ่มที่ใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมร
(ถิ่น, ปะหล่อง, ว้า, พล่าง) เพื่อพิสูจน์ว่าบรรพชนของคนไทยปัจจุบันมาจากที่ไหนกันแน่
5.3 วิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซม
การเกิด micronucleus และดีเอ็นเอที่ถูกทำลายในเซลล์เม็ดเลือดขาวของประชากรที่มีความเสี่ยงสูง
(จาก อ.สารภี) และมีความเสี่ยงต่ำ (จาก อ.จอมทอง) ต่อการเป็นมะเร็งปอดเนื่องจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม
5.4 ศึกษาผลของสารกำจัดศัตรูพืช ต่อการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเซลล์มนุษย์
5.5 ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชบนที่สูง
เช่น ข้าว และพืชสมุนไพรบางชนิด
5.6 ศึกษาผลของสารเคมีต่อความปกติทางพันธุกรรมในเซลล์เพาะเลี้ยง
5.7 การพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิค
สำหรับการเรียนการสอนและการวิจัยทางพันธุศาสตร์
6.
อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
6.1 ตู้ทำงานปลอดเชื้อและเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
6.2 ตู้เลี้ยงเซลล์พร้อมระบบจ่ายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
6.3 กล้องจุลทรรศน์ - ชนิดฟลูออเรสเซนต์
ชนิดเลนส์ประกอบ ชนิดเลนส์วัตถุอยู่ด้านล่าง
6.4 เครื่องวิเคราะห์ดีเอ็นเอ พร้อมอุปกรณ์ถ่ายภาพ
6.5 เครื่องเพิ่มปริมาณ DNA
6.6 เครื่องปั่นตกตะกอนสาร
6.7 ตู้เย็น และ ตู้แช่แข็ง
7.
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน (มิถุนายน 2544 ถึงพฤษภาคม 2545)
7.1 ศึกษาโครงสร้างพันธุกรรมเพิ่มเติมในชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
เย้าและม้ง โดยทำ X และ Y microsatellites typing กับ mitochondrial DNA sequencing
บริเวณ hypervariable I เพื่อดูว่าจะมีความแตกต่างของการกระจายและความถี่อัลลีลระหว่างประชากรที่เป็น
patrilocality และ matrilocality หรือไม่ อย่างไร (เป็นงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
1 คน) ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล
7.2 เก็บตัวอย่างเลือดจากประชากรชาวไทลื้อ,
ถิ่น, ปะหล่อง และพล่าง จำนวนทั้งสิ้น 397 ราย และสกัดดีเอ็นเอเรียบร้อย กำลังอยู่ระหว่างทดสอบการทำงานของเครื่องทำจีโนไทป์อัตโนมัติ
(ABI 310 ของบริษัท Perkin Elmer) และการจัด standard matrix สำหรับโปรแกรมวิเคราะห์ผล
เพื่อให้ได้มาตรฐานก่อนลงมือทำวิจัย (เป็นงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
1 คน และปัญหาพิเศษของนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต 2 คน)
7.3 วิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมและการเกิด
micronucleus ในเซลล์เม็ดเลือดขาวของประชากรจาก อ.สารภี 107 คน และจาก อ.จอมทอง
118 คน เสร็จเรียบร้อย และกำลังวิเคราะห์ผลของ ดีเอ็นเอที่ถูกทำลาย (เป็นงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
1 คน)
7.4 กำลังวิจัยผลทางพันธุพิษของสารกำจัดศัตรูพืชต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวของเกษตรกรที่ใช้สารกำจัดศัตรูพืชเป็นประจำ
เปรียบเทียบกับประชากรที่ไม่เคยใช้สารกำจัดศัตรูพืช (เป็นงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
2 คน)
7.5 เตรียมสีย้อมโครโมโซมจากเมล็ดข้าวเหนียวดำ
ซึ่งสามารถย้อมโครโมโซมให้ติดสีได้ชัดเจนเช่นเดียวกับสีสังเคราะห์ orcein
7.6 ศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอของข้าวพื้นเมืองบนที่สูงและข้าวนาชลประทาน
ด้วยเทคนิค HAT-RAPD โดยใช้ไพรเมอร์ ABO4, K9, K12 และ K16 สามารถบ่งบอกความแตกต่างทางพันธุกรรมของข้าว
7 สายพันธุ์ได้ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม (เป็นงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต
1 คน)
8.
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
8.1 Srikummool M., Kangwanpong D.,
Singh N., Seielstad M. 2001. Y-chromosomal variation in uxorilocal and patrilocal
populations in Thailand. In Jin L., Seielstad M., Xiao C. (Eds.), Genetics,
Linguistic and Archaeological Perspectives on Human Diversity in Southeast Asia,
New Jersey, World Scientific Press (Recent Advances in Human Biology V 8) pp.
69-82.