1. ชื่อ หน่วยวิจัย | ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ
Bioindicators Research Unit |
ภาควิชา | ชีววิทยา |
2. สมาชิก
1. อาจารย์ ดร.สุทธาธร สุวรรณรัตน์ | (ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย) |
2. อาจารย์ ดร.สมพร จันทระ | (สมาชิก) |
3. อาจารย์ ดร.วนารักษ์ ไซพันธ์แก้ว | (สมาชิก) |
3. หลักการและเหตุผลของการจัดตั้ง
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับการพัฒนาประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้เนื่องจากความเจริญเหล่านั้นล้วนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศต่างๆไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม
การตรวจสอบและติดตามถึงผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นจึงมีความจำเป็นยิ่ง เพื่อที่จะสามารถทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
หรือกำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และ สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงที
Bioindicator หรือตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ
เป็นการใช้คุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งหรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตในการบ่งชี้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือติดตามปริมาณของมลพิษต่างๆ
ซึ่งมีข้อดีที่แตกต่างจากการใช้เครื่องมือวัดทางกายภาพอื่นๆ คือ สามารถบอกถึงผลโดยรวมที่เกิดขึ้นจริงต่อระบบนิเวศได้
ในขณะที่การใช้เครื่องมือจะสามารถวัดได้เพียงปริมาณของสารต่างๆ หรือปัจจัยแยกเป็นตัวๆเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการใช้เครื่องมือ และยังเป็นเทคโนโลยีที่เราสามารถพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศเราได้
อย่างไรก็ดี การใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในประเทศไทยนั้นยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
และยังต้องการการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้และการนำมาใช้ต่อไป
4.
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อศึกษาการตรวจวัด และ ติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
และ มลพิษ โดยใช้ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Bioindicators)
2. เพื่อพัฒนาวิธีการ และ ตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย
5.
งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยุ่
1. การใช้ไลเคนเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของคุณภาพอากาศ
2. การใช้เปลือกไม้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของคุณภาพอากาศ
6.
อุปกรณ์และเครื่องมือที่มีอยู่
- - GPS
- pH - meter
- Portable UV lamp
- กล้องถ่ายภาพดิจิตอล
- เครื่องวัดแสง
เครื่องมือที่ได้รับการสนับสนุนจากสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม,
ภาควิชาชีววิทยา และ ภาควิชาเคมี
- กล้องจุลทรรศน์
- Autoclave
- Spectrophotometer
- เครื่อง HPLC
7.
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
-
8.
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
Poster
presentation
วนารักษ์
ไซพันธ์แก้ว และ ปาลี ทรัพย์ศรี. 2544.การใช้เปลือกของต้นมะม่วงเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในการ
ตรวจสอบมลภาวะทางอากาศในตัวเมืองเชียงใหม่.การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27. โรงแรมลีการ์เดนส์ สงขลา.16 -18 ตุลาคม 2544.
สมพร
จันทระ. 2544. การหาปริมาณพีเอเอชที่สะสมบนเปลือกมะม่วงเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศ.การ
ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27. โรงแรมลีการ์เดนส์
สงขลา.16 -18 ตุลาคม 2544.
สุทธาธร
สุวรรณรัตน์. 2544. การย่อยสลายของสารอินทรีย์วัตถุในพื้นที่สวนป่าสัก และ สวนป่าสน.
การ ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27. โรงแรมลีการ์เดนส์
สงขลา.16 -18 ตุลาคม 2544.