1. ชื่อหน่วยวิจัย : | สมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ (Medicinal plants : Reproduction) |
ภาควิชา : | ชีววิทยา |
2. สมาชิก :
1. นางสาว กนกพร กวีวัฒน์ ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย
2. นายสุลักษณ์ วุทธีราพล สมาชิก
3. นายสุภาพ แสนเพชร สมาชิก
3.
หลักการและเหตุผล (ของการต่อการจดทะเบียนหน่วยวิจัยนี้)
สมุนไพรเป็นยาพื้นบ้านที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน
ปัจจุบันสมุนไพรไทยได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ
นอกจากนี้หลายหน่วยงานยังส่งเสริมให้มีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรโดยมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นยารักษาโรคและใช้เป็นเครื่องสำอางค์
มีสมุนไพรหลายชนิดที่มีสรรพคุณในแง่ของการสืบพันธุ์ เช่น มีฤทธิ์ในการคุมกำเนิดกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
กระตุ้นกำหนัด เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมุนไพรที่เชื่อกันว่ามีฤทธิ์กระตุ้นกำหนัดนั้น
ได้รับความนิยมอย่างสูง มีการนำมาบริโภคในหลายรูปแบบ เช่น ผลิตเป็นยาลูกกลอนหรือใช้ดองกับสุรา
อย่างไรก็ตามยังมีสมุนไพรบางชนิดที่มีการอ้างถึงสรรพคุณด้านการสืบพันธุ์โดยที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีสรรถคุณดังกล่าวจริงหรือไม่หรือเป็นเพียงความเชื่อที่สืบต่อกันมา
การซื้อสมุนไพรมาบริโภคตามความเชื่อหรือตามการโฆษณาสรรพคุณที่เกินจริงอาจทำให้ผู้บริโภคต้องเสียทรัพย์สินโดยไม่จำเป็นและอาจนำไปสู่การเสื่อมถอยของสุขภาพเพราะผลข้างเคียงสมุนไพรได้
จะเห็นได้ว่าการทดสอบถึงฤทธิ์ของสมุนไพรและการเผยแพร่ผลการทดสอบแก่ผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
4.
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
4.1 เพื่อศึกษาชนิดและฤทธิ์ของสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ในทุกๆด้าน
4.2 เพื่อนำไปสู่การศึกษาอย่างละเอียดต่อไปในการพัฒนาผลิตพันธุ์จากสมุนไพร
5.
งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 ศึกษาผลของน้ำสกัดจากเมล็ดมะละกอต่อการสืบพันธุ์ของหนูขาวเพศผู้
5.2 ได้รับทุนจากคณะวิทยาศาสตร์ให้ทำงานวิจัยเรื่อง
"การขจัดความเป็นพิษของกวาวเครือขาวโดยใช้รางจืด"
6.
อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
6.1 เครื่องโม่สมุนไพร
6.2 ชุดสกัดสารจากสมุนไพร
6.3 ตู้อบสมุนไพร
6.4 อุปกรณ์ตัดเนื้อเยื่อ
7.
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่จำนวน 4 เรื่อง
(ตามเอกสารที่แนบมา)
7.2 ได้รับการติดต่อผ่านสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ทำการทดสอบผลของหญ้าหวานต่อการสืบพันธุ์ของหนูขาว
8.
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
8.1 Saenphet, K., Saenphet, S. and
Luangpai, R. Abnormalities of sperm morphology in rats treated with kwao kreur.
The 3rd Asean Microscopy Conference. Chiang Mai, Thailand. Jan 30 - Feb 1, 2002.
8.2 Saenphet, S., Saenphet, K. and
Wutteeraphon, S. Effects of aqueous extracts from Gymnema inodorm Dicne on pancreatic
ultrastructural changes at diabetic capillaries. The 3rd Asean Microscopy Conference.
Chiang Mai, Thailand. Jan 30 - Feb 1, 2002.
8.3 Wutteeraphon, S., Kaweewat, K.,
Saenphet, S. and Luangpai, R. Effects of Mucuna colletii on reproductive organs
and its toxicity on male rats. 27th Cangron on Science and Technology of Thailand.
Songkla, Thailand 16-18 October. 2001.
8.4. Kaweewat, K. and Hofer, R. 2001.
Ontogeny of UV-resistance in a grawel spawning(Phoxinus phoxinus) and a surface
spawning (Rutilus rutilus) cyprinid. Arch.Hydrobiol. (Suppl.135/2-4). 12; 331-340.