1. ชื่อหน่วยวิจัย | นิเวศวิทยาแมลงในแหล่งน้ำไหล Lotic Insect Ecology |
ภาควิชา | ชีววิทยา |
2. สมาชิก
1. อาจารย์ ดร.ชิตชล ผลารักษ์ (ผู้ประสานงาน)
2. นายนิเวศน์ ศรีล้อม์ (สมาชิก)
3.
หลักการและเหตุผลของการจัดตั้ง
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์จำเป็นต้องใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภค และในขณะเดียวกันน้ำยังเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน
เช่น การชลประทาน การประมง การสาธารณูปโภค การคมนาคม การอุตสาหกรรมและพลังงาน ตลอดจนการระบายของเสียจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม
ซึ่งจะมีของเสียประเภทสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ เช่น โลหะหนัก และสารเคมีทางการเกษตร
จึงทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย
ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดความผิดปกติ อีกทั้งทำให้เสียสมดุลทางธรรมชาติอีกด้วย ในการดูแลตรวจสอบคุณภาพน้ำสามารถทำได้หลายวิธี
อันได้แก่ วิธีทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ ซึ่งการติดตามตรวจสอบกลุ่มแมลงน้ำก็เป็นวิธีทางชีวภาพวิธีหนึ่งที่นิยมใช้
เนื่องจากกลุ่มแมลงน้ำมีความไว (sensitive) ต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติน้ำทางด้านกายภาพและเคมี
ซึ่งปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อวัฏจักรน้ำและระบบนิเวศป่า
ทำให้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตลดลง และแมลงน้ำก็เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่ได้รับผลกระทบนี้
แมลงน้ำนับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำ ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บริโภคและเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญในห่วงโซ่อาหาร
ถ้าสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบต่อการกระจายตัวและชนิดของกลุ่มแมลงน้ำในบริเวณนั้นๆ
ด้วย ฉะนั้นการนำเอาแมลงน้ำมาเป็นเครื่องมือเพื่อบ่งชี้ถึงความเปลี่ยนแปลงหรือคุณภาพของแหล่งน้ำควบคู่ไปกับการศึกษาองค์ประกอบทางด้านเคมีและกายภาพของแหล่งน้ำจึงเป็นวิธีการที่น่าสนใจเพื่อการศึกษาคุณภาพแหล่งน้ำด้วย
การวิจัยนี้จึงต้องการสำรวจและศึกษาความหลากหลายของแมลงน้ำควบคู่ไปกับการนำแมลงน้ำเหล่านี้มาเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำไหลต่าง
ๆ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง
4.
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. ศึกษาความหลากหลายของแมลงน้ำ
2. ศึกษาการแพร่กระจายของกลุ่มแมลงน้ำ
3. ศึกษาการนำแมลงน้ำมาเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำ
5.
งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
1. ความหลากหลายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ในน้ำและความสัมพันธ์กับสารมลพิษในแม่น้ำปิง
จังหวัดเชียงใหม่
2. ศึกษาความหลากหลายของแมลงน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี
3. ศึกษาความหลากหลายของแมลงน้ำในลำน้ำน่าน
จังหวัดน่าน
4. ตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยคุณสมบัติทางกายภาพ
เคมี และชีวภาพ บริเวณสถานีสูบน้ำเพื่อการประปา จังหวัดเชียงใหม่
6.
อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
1. อุปกรณ์เก็บตัวอย่างแมลงน้ำ: Surber
sampler, Ekman Grab, Kick net
2. กล้องจุลทรรศน์สามมิติ (stereo microscope)
3. เครื่องวัด pH น้ำ ภาคสนาม
4. เครื่องวัด การนำกระแสไฟฟ้า (conductivity
meter)
5. Thermometer วัดอุณหภูมิน้ำ
7.
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
1. ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ BRT
ในการดำเนินงานวิจัย ในหัวข้อ "ความหลากหลายของแมลงพื้นท้องน้ำ ในโครงการทองผาภูมิ
72 พรรษา มหาราช อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี" เป็นระยะเวลา 2 ปี ขณะนี้ดำเนินการไปแล้วประมาณ
40 เปอร์เซ็นต์
2. ได้รับทุนสนับสนุนจาก โครงการพัฒนานักวิจัยใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการดำเนินงานวิจัยในหัวข้อ "ความหลากหลายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ในน้ำและความสัมพันธ์กับ
สารมลพิษในแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่" เป็นระยะเวลา 1 ปี ขณะนี้ดำเนินการไปแล้วประมาณ
90 เปอร์เซ็นต์
3. กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ทุนสนับสนุนจากโครงการ
BRT ในการดำเนินงานวิจัย ในหัวข้อ "ความหลากหลายของแมลงพื้นท้องน้ำ ในบางบริเวณของลำน้ำน่าน
จังหวัดน่าน" เป็นระยะเวลา 3 ปี ขณะนี้อยู่ในระหว่างการสำรวจพื้นที่ศึกษา
4. เป็นที่ปรึกษาด้านนิเวศวิทยา ในโครงการ"การตรวจสภาพและปรับปรุงคุณภาพดินด้วยวัสดุและสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น"
ของคณะวิจัยโรงเรียนบ้านโป่ง ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับทุนสนับสนุนจากโครงการวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น
(ภายใต้ สำนักงานกองทุนวิจัย)
8.
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
1. ชิตชล ผลารักษ์. 2538. การศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเภทเบนธอสในห้วยช่างเคี่ยนและห้วยหนองหอย
จังหวัดเชียงใหม่. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
2. ชิตชล ผลารักษ์. 2544. ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและความสัมพันธ์กับปริมาณสารอาหารในแม่น้ำแม่แตง
จ.เชียงใหม่. การประชุมวิชาการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางน้ำ จ. เชียงใหม่.
3. ชิตชล ผลารักษ์ และ เฉลิมลักษณ์ สังข์พิชัย.
2544. ความหลากหลายของแมลงพื้นท้องน้ำและความสัมพันธ์กับปริมาณโลหะหนักในแม่น้ำปิง
จังหวัดเชียงใหม่. ประชุม วทท. ครั้งที่ 27 สงขลา.
4. Phalaraksh C., Lenz E.M., Lindon
J.C., Nicholson J.K., Farrant R.D., Reynolds S.E., Wilson I.D.,Osborn D. and
Weeks J.M. 1999. NMR spectroscopic studies on the haemolymph of the tobacco
hornworm, Manduca sexta: assignment of 1H and 13C NMR spectra. Insect Biochemistry
and Molecular Biology 29; 795-805.