1 ชื่อหน่วยวิจัย เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาทรัพยากรการเกษตร
Biotechnology for Agricultural Resources Development
ภาควิชา เคมี

2 สมาชิก

2.1 ผ.ศ. ดร. นวลศรี รักอริยะธรรม ผู้ประสานงาน
2.2 อ. ดร. ภควรรณ หนองขุ่นสาร สมาชิก

3 หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมีผลผลิตทางการเกษตรมากมายที่ทำรายได้ให้กับประเทศ จากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรพบว่าประมาณ 30% ของผลผลิตทางการเกษตรมีการสูญเสียเนื่องจากโรคพืช หลังจากมีการใช้ยาปราบศัตรูพืชในกระบวนการเพาะปลูกพบว่าสามารถลดปริมาณการสูญเสียทางการเกษตรได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้ยาปราบศัตรูพืชจะมีผลกระทบต่อสมดุลย์ของระบบนิเวศน์และเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ดังนั้นหากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเพื่อช่วยลดการสูญเสียทางการเกษตรโดยใช้กลไกที่แตกต่างจากการใช้ยาปราบศัตรูพืชน่าจะเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์และปลอดภัยในอนาคต ซึ่งผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น สารประเภทฟีนอลิก หรือ อนุพันธ์ของสารที่มีวงแหวนสเตอรอยด์ จากพืชหลายชนิดในปัจจุบันได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเพราะสารดังกล่าว เป็นสารที่มีสมบัติทางชีววิทยาที่สามารถป้องกันโรคพืชได้เป็นอย่างดีโดยมีสมบัติในการฆ่าเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อีกทั้งยังมีสมบัติทางยา เช่น เป็นยาคุมกำเนิด ต้านเชื้อไวรัส มีสมบัติเป็นแอนติออกซิแดนซ์และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช แต่อย่างไรก็ตามความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสารดังกล่าวจากพืชในประเทศไทยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ยังไม่กว้างขวางมากนัก ดังนั้นการใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาประกอบกับความรู้ทางด้านเคมีในการเสาะหาสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการทำลายจุลินทรีย์และประยุกต์ใช้จึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจ เพราะนอกจากสามารถประยุกต์ใช้ทางการเกษตรแล้วยังสามารถประยุกต์ใช้ทางอาหารและการแพทย์อีกด้วย

4 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
4.1 4.1 เสาะหาสารสำคัญในพืชหรือสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ และหรือทำมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตทางการเกษตร
4.2 ทำการประยุกต์ใช้ทางด้านอาหารและยา

5 งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

ทำการแยกสารสำคัญจากพืชสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพและทำมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

6. อุปกรณ์/ เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
6.1 เครื่องเหวี่ยง
6.2 shaker bath
6.3 spectronic 21
6.4 gas chromatography
6.5 gas chromatography-mass spectrometry
6.6 HPLC
6.7 ตู้อบ

7. ผลสัมฤทธิ์ของการวิจัยจนถึงปัจจุบันและผลงานตีพิมพ์
7.1 Tinoi, R. and Rakariyatham, N. , Production and Characterization of Extracelular Lipase from Aspergillus sp. in Mustard Cake, 27th Congress on Science and Technology of Thailand, Hat yai, Songkla, Thailand, 16-18 Oct. 2001.
7.2 Chanwitheesuk, A. and Rakariyatham, N., Phenolic Antioxidant from Leucaena leucocephala de Wit., 27th Congress on Science and Technology of Thailand, Hat yai, Songkla, Thailand, 16-18 Oct. 2001.
7.3 Sathimapornpong, K. and Rakariyatham, N., Protease Production by Bacillus sp. Grown on Mustard Protein Media, 27th Congress on Science and Technology of Thailand, Hat yai, Songkla, Thailand, 16-18 Oct. 2001.
7.4 Wongkham, P., Rakariyatham, N. and Niamsup, H., Production of Kapi from Mung bean Protein Waste, Bio Thailand 2001, 7-10 Nov. 2001. Bangkok, Thailand.
7.5 Chanwitheesuk, A. and Rakariyatham, N., Antioxidant Activity from Stevia ( Stevia rebaudiana Bertoni) , Bio Thailand 2001, 7-10 Nov. 2001. Bangkok, Thailand.
7.6 Rakariyatham, N. and Sakorn, P., Allyl isothiocyanate Production from Brown Mustard seeds ( Brassica juncea ) by Aspergillus myrosinase , Bio Thailand 2001, 7-10 Nov. 2001. Bangkok, Thailand.
7.7 Butrindr, B. and Rakariyatham, N. Effect of Shaking on Mycelial Growth and Myrosinase Production by Liquid Culture of Aspergillus sp., Bio Thailand 2001, 7-10 Nov. 2001. Bangkok, Thailand.
7.8 Sakorn, P., Rakariyatham, N., Niamsup, H. and Nong kunsarn, P., Rapid Detection of Myrosinase-producing Fungi: a Plate Method Based on Opagene Barium Sulphate Formation, World J. Micro.& Biotech, 18: 73-74, 2002.
7.9 ได้รับทุนโครงการกาญจนาภิเษกรุ่นที่ 5 หนึ่งทุน
7.10 ได้รับทุน ส.กว. ผ่าย5 ร่วมกับภาคเอกชน เรื่อง การพัฒนาศักยภาพการผลิตไมโรซิเนสจากเชื้อราเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันหอมระเหยมัสตาร์ด 1 ทุน งบประมาณ 1 ล้านบาท