1. ชื่อหน่วยวิจัย: | การแปรรูปน้ำตาล Sugars Transformation Research Unit |
ภาควิชา | เคมี |
2. สมาชิก:
1. อ. วีระศักดิ์ สหชัยเสรี (ภาควิชาเคมี) ผู้ประสานงานวิจัย
2. รศ. ดร. สายสมร ลำยอง (ภาควิชาชีววิทยา) สมาชิก
ที่ปรึกษา Prof. Ken Izumori, Department of Biochemistry and Food Science, Faculty of Agriculture, Kagawa University, Kagawa, Japan
3.
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
ทำให้ในแต่ละปีมีของเหลือทางการเกษตรเช่นฟางข้าว เปลือกผลไม้ และชิ้นส่วนต่างๆของพืชที่เป็นของเหลือ
ทั้งจากทั้งการทำการเกษตรหรือจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลการเกษตร ของเหลือเหล่านี้มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มคาร์โบไฮเดรทที่สามารถผ่านกระบวนการไฮโดรไลซีสด้วยกระบวนการทางเคมีหรือชีวเคมีให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว(monosaccharide)
ซึ่งหากสามารถพัฒนากระบวนการแปรรูปของเหลือทางการเกษตรเหล่านี้ให้เป็นสารผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงต่างๆ
เช่นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวในรูปไอโซเมอร์ที่หายาก(rare sugars) น้ำตาลแอลกอฮฮล์(sugar
alcohol) กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ เอทธานอลจะทำให้ได้กระบวนการที่มีความเป็นไปได้
และเป็นผลดีต่อภาคการกระเกษตรในประเทศ
4.
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย:
ศึกษาการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลโดย
1. เสาะหาจุลินทรีย์ที่สามารถแปรรูปหรือผลิตน้ำตาลจากธรรมชาติ
2. ศึกษาคุณสมบัติของจุลินทรีย์หรือเอนไซม์ที่แยกมาได้
3. ศึกษาปฏิกิริยาการแปรรูป
4. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เช่นการตรึงเซลล์
การตรึงเอนไซม์ การออกแบบและทดลองการใช้ในถังปฏิกิริยา(enzyme reactor)
5.
งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
1. การเสาะหาจุลินทรีย์แปรรูปน้ำตาลชนิดต่างๆ
จากธรรมชาติ
2. การศึกษาการแยกบริสุทธิ์และคุณสมบัติของเอนไซม์ไซลาเนส(xylanase)จากเชื้อรา
Thermoascus auranticus SL16W ที่คณะผู้วิจัยแยกมาจากธรรมชาติ
3. การศึกษาการตรึงเอนไซม์ D-arabinose
isomerase จากแบคทีเรีย Bacillus stearothermophilus 14a เพื่อผลิตน้ำตาล
D-altrose จากน้ำตาล D-psicose
6.
อุปกรณ์เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
1. อ่างควงคุมอุณหภูมิ
2. ตู้ปลอดเชื้อ
3. เครื่องปั่นเหวี่ยงตะกอน
4. เครื่องวัดการดูดกลืนแสง (Spectrophotometer,
Spectronic 20)
5. ตู้เย็น
6. เครื่องแก้วและสารเคมี
7.
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน:
1. ศึกษาการแยกบริสุทธิ์และคุณสมบัติของ
D-arabinose isomerase จากแบคทีเรีย Bacillus stearothermophilus 14a
2. ศึกษาการตรึงD-arabinose isomerase
จากแบคทีเรีย Bacillus stearothermophilus 14a
3. เสาะหาจุลินทรีย์ที่มีแอคติวิตีของไซลาเนสจากธรรมชาติ
และสามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นเชื้อรา Thermoascus auranticus และโดยกำหนดสายพันธุ์ย่อยเป็นSL16W
4. เสาะหาแบคทีเรียทนอุณหภูมิจากธรรมชาติ
ทำให้สามารถพบแบคทีเรียที่สามารถสร้างเอนไซม์ L-arabinose isomerase ได้ ซึ่งจะทำการศึกษาต่อไป
8.
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
Sahachaisaree, V., Takeshita, K., Takada,
G., Lumyong, S. and Izumori, K., Purification and Characterization of D-Arabinose
Isomerase from Thermotolerant Bacillus sterothermophilus Strain 14a, J. Biosci.
Bioeng. (ระหว่างการส่งตีพิมพ์)