1. ชื่อหน่วยวิจัย | หินอัคนีและแหล่งแร่เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง Igneous Rocks and Related Ore Deposits Research Unit |
ภาควิชา | ธรณีวิทยา |
2. สมาชิก
1. นายยืนยง ปัญจสวัสดิ์วงศ์ (ผู้ประสานงาน)
2. นายกิตติศัพท์ เรืองวัฒนาศิริกุล(สมาชิก)
3. นายบูรพา แพจุ้ย (สมาชิก)
4. อาจารย์ ดร. อภิเชษฐ์ บุญสูง(สมาชิก)
3.
หลักการและเหตุผลของการจัดตั้ง :
3.1
เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ เนื่องจากข้อมูลในปัจจุบันมีมากและกระจัดกระจาย
ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
3.2
วิเคราะห์ที่มาของข้อมูล เพื่อความถูกในการแปลความหมายของข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
3.3
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้ผลการวิจัยมีความสมบูรณ์ในตัวเอง
3.4
ศึกษาวิวัฒนาการการกำเนิดของหินอัคนีและแหล่งแร่ที่เกี่ยวข้อง ด้วยการแปลความหมายจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
3.5
ประเมินศักยภาพของแหล่งแร่ และเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ เพื่อผลในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
4.
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
4.1
ศึกษาวิวัฒนาการของหินอัคนีและแหล่งแร่ที่เกี่ยวข้อง จากลักษณะทางกายภาพ ศิลาวรรณนา
และธรณีเคมี เพื่อให้ทราบถึงสภาวะแวดล้อมของการเกิด
4.2 ศึกษาการแพร่กระจายของแหล่งแร่ในหินอัคนี
เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพ ศิลาวรรณนา และธรณีเคมี ระหว่างหินอัคนีที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับแหล่งแร่
เพื่อกำหนดบริเวณ
ที่มีศักยภาพทางแร่ สำหรับเป็นแนวทางในการสำรวจและพัฒนาให้เป็นแหล่งแร่ทางเศรษฐกิจ
4.3 ผลการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้วจะใช้เป็นแม่แบบในการศึกษาศักยภาพของแหล่งแร่ชนิดอื่นๆในประเทศไทย
5.
งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1
ศึกษาลักษณะทางศิลาวรรณนาและธรณีเคมีของหินอัคนีเมฟิก ที่โผล่ตามลำน้ำแม่ลาวตอนบน
อำเภอแม่ขะจาน จังหวัดเชียงราย โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อหาสภาวะทางเทคโทนิกของการเกิด
5.2 ศึกษาลักษณะทางศิลาวรรณนาของหินแกรนิต
จากหลุมเจาะของกรมชลประทาน ในบริเวณบ้านแม่สลิด จังหวัดตาก เพื่อ (1) จัดแบ่งชนิดหินแกรนิตและหาความสัมพันธ์ของหินแกรนิตชนิดต่างๆ
และ (2) บ่งบอกความลึกของการเย็นตัวและสภาวะทางเทคโทนิกของการเกิด ถ้ามีหลักฐาน
5.3 ศึกษาลักษณะทางศิลาวรรณนาของหินอัคนีสีจางเนื้อละเอียด
ในบริเวณรอยตะเข็บระหว่างอำเภอเกาะคาและอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง เพื่อบ่งบอกลักษณะปรากฏของหิน
5.4 ศึกษาลักษณะทางศิลาวรรณนาและธรณีเคมีของหินลาวาหลาก
ในบริเวณเขื่อนคลองท่าด่านจังหวัดนครนายก โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อหาสภาวะทางเทคโทนิกของการเกิด
6.
อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
6.1.
กล้องจุลทรรศน์
6.2. เครื่องบดหิน
6.3. เครื่องทำแผ่นหินบาง
7.
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
ตั้งแต่รายงานผลสัมฤทธิ์ปีก่อน
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยใหม่ มีดังนี้คือ
7.1 ผลงานที่เสนอในการประชุมวิชาการในประเทศ
-ไม่มี-
7.2 ผลงานที่เสนอในการประชุมวิชาการต่างประเทศ
Tectonic
Setting of Formation of Permo-Triassic Chiang Khong Volcanics, Northern Thailand
(การประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติเรื่อง Assembly and Breakup of Rhonidinia and
Gondwana, and Growth of Asia ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่
26-30 ตุลาคม 2544)
7.3 การเข้าร่วมประชุมวิชาการในประเทศ
-ไม่มี-
7.4 การเข้าร่วมประชุมวิชาการต่างประเทศ
การประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติเรื่อง
Assembly and Breakup of Rhonidinia and Gondwana, and Growth of Asia ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโอซากา
ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 26-30
ตุลาคม 2544)
7.5 งานวิจัย
Tectonic
Setting of Formation of Permo-Triassic Chiang Khong Volcanics, Northern Thailand
(Extended Abstract ตีพิมพ์ใน Gondwana Research, October 2001, v. 4, no. 4, p.
728)
7.6 งานบริการทางวิชาการ
-
ผู้ประเมินวิทยานิพนธ์ที่เสนอขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ
-
ศึกษาวิทยาหินและศิลาวรรณนาให้แก่ กรมชลประทาน
Right
Tunneling Co. Ltd.
GMT
Cooperation Co. Ltd.
Padaeng
Industry Co. Ltd.
8.
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ใหม่ มีดังนี้คือ
Tectonic
Setting of Formation of Permo-Triassic Chiang Khong Volcanics, Northern Thailand(Extended
Abstract ตีพิมพ์ใน Gondwana Research, October 2001, v. 4, no. 4, p. 728)