1. ชื่อหน่วยวิจัย : | ดาราศาสตร์โฟโตเมตรี
Astronomical Photometry Research Unit |
ภาควิชา | ฟิสิกส์ |
2. สมาชิก : ประกอบด้วย
(1) นายบุญรักษา สุนทรธรรม | ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย |
(2) นายสุมิตร นิภารักษ์ | สมาชิก |
(3) มล.อนิวรรต สุขสวัสดิ์ | สมาชิก |
(4) นายวิม เหนือเพ็ง | สมาชิก |
(5) นายมาโนช นาคสาทา | สมาชิก |
(6) นายวิเชียร ไกรวัฒนวงศ์ | สมาชิก |
(7) นายสมสวัสดิ์ รัตนสูรย์ | สมาชิก |
3.
หลักการและเหตุผล
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้ตั้งหอดูดาวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2520 โดยมีอุปกรณ์หลักคือ
กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสงชนิดคาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4 เมตร ทางกลุ่มวิจัยดาราศาสตร์
ได้พยายามพัฒนาเทคนิคและ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อสามารถใช้กล้องดูดาวดังกล่าวในการวิจัยได้
งานวิจัยที่ได้ดำเนินไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถึงปัจจุบันนั้น มี 2 ลักษณะ คือ งานวิจัยของคณาจารย์ในกลุ่มดาราศาสตร์
โดยขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ ในการวิจัย และงานวิจัยของนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
งานวิจัยหลักที่ดำเนินการในขณะนี้ก็คือ
การใช้ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี ร่วมกับกล้องดูดาว ในการวิเคราะห์คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุท้องฟ้าชนิดต่าง
ๆ เช่น ดาวคู่ กระจุกดาว ดาวหาง สารที่อยู่ระหว่างดาว เป็นต้น งานวิจัยทางด้านโฟโตเมตรีนี้ได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มดาราศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
มีการจัดหากล้องดูดาวขนาดต่าง ๆ เครื่องวัดที่ทันสมัย ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม
สัญญาณและเก็บข้อมูล ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคทันสมัย มาใช้ในการวิจัยทางโฟโตอิเลกตริก
โฟโตเมตรี อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดตั้งหน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี
ทำให้เห็นทิศทางของงานวิจัยในแขนงดาราศาสตร์ ของภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในอันที่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในศาสตร์แขนงนี้ การสนับสนุนให้หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี
สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพของคณะวิทยาศาสตร์ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่ทางกลุ่มดาราศาสตร์มีความต้องการอย่างยิ่ง
4.
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อรวมกลุ่มนักวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ที่มีทักษะความชำนาญทางด้านการใช้เทคนิคทางโฟโตเมตรี
ในการศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุท้องฟ้าชนิดต่าง ๆ ตลอดทั้งการร่วมกันวิจัยและพัฒนาเพื่อให้งานดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ
5.
งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่
งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่ ได้แก่
การใช้เทคนิคทางโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี ศึกษาวัตถุท้องฟ้า โดยมุ่งเน้น ดาวคู่อุปราคา
(Eclipsing Binaries) ซึ่งจะศึกษาลักษณะทางกายภาพ กราฟแสง องค์ประกอบวงโคจรของดาวคู่เหล่านี้
และขณะนี้ทางกลุ่มวิจัยดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำความร่วมมือกับกลุ่มวิจัยจาก
Yunnan Observatory ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยดาวคู่ดังกล่าวนี้
กลุ่มวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี ได้รับทุนวิจัยร่วมระหว่าง
ไทย-จีน จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ National Natural Science Foundation of
China ในการวิจัยเรื่อง "Analysis of Physical properties and Evolutions
of Some Near-Contact Binary Star System" ระหว่างปี 2543-2545
6.
อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
6.1 กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดริชชี-เครเทียน
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เมตร
6.2 กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดคาสซิเกรน
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4 เมตร
6.3 กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดชมิดท์-คาสซิเกรน
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.275 เมตร และ 0.2 เมตร
6.4 ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์ แบบหลอดโฟโตมัลติพลายเออร์ของ
University of Nebraska, Lincoln, U.S.A. ที่มอบให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมระบบแผ่นกรองแสงมาตราฐาน
B, V (Wide Band) และ u,v,b,y (Intermediate Band)
6.5 ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์ แบบโซลิดสเตทของบริษัท
Optec Inc. พร้อมระบบแผ่นกรองแสงมาตราฐาน U, B, V, R, I
6.6 ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมและบันทึกสัญญาณจากระบบโฟโตอิเลกตริก
โฟโตมิเตอร์
6.7 ระบบ CCD ที่ใช้ในการควบคุมระบบติดตามดาวและถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าโดยคอมพิวเตอร์
-Photometrics
-Compuscope
-
Apogee
6.8 ระบบการติดต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
6.9 ระบบ CCD Spectrograph
7.
ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัย ระหว่างปี พ.ศ.2544-2545
7.1 โครงการวิจัยและการดำเนินงาน
7.1.1 หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี
ได้ทำการวิจัยตามโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศ (ไทย-จีน) ในหัวข้อ "การวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและการวิวัฒนาการของระบบดาวคู่แบบเกือบแตะกันบางระบบ"
กับคณะนักวิจัยจากหอดูดาวยูนนาน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2542 โดยการสนับสนุนจากสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
และ National Natural Science Foundation of China และ ได้ส่งรายงานความก้าวหน้า
-
ครั้งที่ 3 ( ธันวาคม 2543 - พฤษภาคม 2544)
-
ครั้งที่ 4 ( มิถุนายน 2544 - พฤศจิกายน 2544)
-
ครั้งที่ 5 ( ธันวาคม 2544 - มกราคม 2545)
7.1.2 สมาชิกหน่วยวิจัย 2 คน เดินทางไปทำวิจัย
ณ หอดูดาวยูนนาน ประเทศสาธารณประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 9-12 ธันวาคม 2544 โดยสังเกตการณ์ดาวคู่อุปราคาแบบแตะกัน
2 ระบบ คือ
(1)
ดาวคู่อุปราคา RZ Tauri
(2)
ดาวคู่อุปราคา V523 Cassiopiea โดยใช้กล้องดูดาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร และ
ระบบ ซีซีดี โฟโตมิเตอร์ในช่วงความยาวคลื่นสีเหลือง (V) และ สีน้ำเงิน (B)
7.2 ผลงานวิจัยที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอและตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
นายบุญรักษา สุนทรธรรม ได้รับเชิญให้ไปเสนอผลงานทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ และ เป็น
Scientific Organizing Committee (SOC) ของการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
(7.2.1)
การประชุม Pacific Rim Conference on Stellar Astrophysics ณ เมือง Xian ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
โดยจะไปเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "Hot Spot Model for GR Tauri"
(7.2.2)
การประชุม ICHA/IAU International Conference on Astronomical Instruments and
Archives from the Asia-Pacific Region ณ เมือง Cheongju ประเทศเกาหลี โดยจะไปเสนอผลงานวิจัยเรื่อง
"Solar Shadow and City Walls of Chiang Mai"
7.3 สมาชิกหน่วยวิจัยได้รับเชิญไปทำวิจัยทางดาราศาสตร์
ณ ต่างประเทศ
นาย
วิเชียร ไกรวัฒนวงศ์ได้รับเชิญจาก Gunma Astronomical Observatory, Tagayama, Japan
ให้ไปทำวิจัยทางด้านโฟโตเมตรี สเปกโทรสโคปี และ อินฟราเรดทางดาราศาสตร์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม
2544 - กุมภาพันธ์ 2545 ( 8 เดือน)