1. ชื่อหน่วยวิจัย : ฟิสิกส์บรรยากาศ
Atmospheric Physics
ภาควิชา ฟิสิกส์

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

(1) รศ.ดร.เจียมใจ เครือสุวรรณ ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย
(2) มล.อนิวรรต สุขสวัสดิ์ สมาชิก
(3) นายวัลย์ชัย พรมโนภาส สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล
ฟิสิกส์บรรยากาศเป็น สาขาวิชาที่นำหลักการและกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ประยุกต์ อธิบายใช้กับขบวนการณ์และปรากฏการณ์ต่างๆในบรรยากาศ อาทิเช่น การนำหลักการสมดุลพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานอื่นประกอบกับการซิมิวเลท ประมาณหาค่าตัวแปรต่างๆในบรรยากาศ เช่น อุณหภูมิ ปริมาณน้ำที่กลั่นได้ ปริมาณน้ำฝน เป็นต้น การนำหลักการทางกลศาสตร์และเทอร์โมไดนามิคส์ อธิบายการฟุ้งกระจายของสารพิษ หรือสิ่งแขวนลอยในอากาศ การเกิดเมฆและฝน และหลักการเลือกดูดกลืนพลังงานบางความยาวคลื่นของแก๊ซคาร์บอนไดอ๊อกไฃด์ มีเธน และโอโฃนในบรรยากาศที่ทำให้เกิด Atmospheric greenhouse effect หรือ ปรากฏการณ์โลกร้อน
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งอาจเป็นการเพิ่มหรือการลดอุณหภูมิ การเกิดฝนหนักอันเป็นสาเหตุของน้ำท่วม หรือฝนแล้ง ล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม เกษตรและป่าไม้ อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของประเทศ การศึกษาและวิจัยทางฟิสิกส์บรรยากาศ จะสามารถทำให้เข้าใจถึงสาเหตุและผลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนำไปสู่การหาวิธีป้องกัน และแก้ไขที่เหมาะสม หน่วยวิจัยฟิสิกส์บรรยากาศ จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับ การวิจัย การเรียนการสอนในวิชานี้

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
4.1 เพื่อดำเนินการศึกษา วิจัย ทางด้านฟิสิกส์บรรยากาศให้มีการพัฒนาขึ้น เท่าเทียมต่างประเทศ
4.2 เพื่อวิเคราะห์การจำลองสภาพอากาศ
4.3 เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานวิจัยทางฟิสิกส์บรรยากาศ ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

5. งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่
งานที่ดำเนินเป็นการวิจัย ศึกษา วิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การทำแบบจำลอง และการ ซิมิวเลทกระบวนการทางกายภาพในบรรยากาศ และการวิเคราะห์การแปรผันของ tropospheric ozone ในประเทศไทย
พอสรุปงานที่ดำเนินการได้ดังนี้
5.1 Thermal network simulation
5.2 Energy balance simulation
5.3 Modeling of Atmospheric processes
5.4 Numerical weather prediction
5.5 Variation of tropospheric ozone

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
6.1 ชุดเครื่องวัดโอโซน
6.2 เครื่องคอมพิวเตอร์

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 รศ.ดร.เจียมใจ เครือสุวรรณ เสนอผลงานเรื่อง "Variation of Tropospheric Ozone in Northern Thailand" ใน International Workshop on Tropospheric Ozone Variation in East Asia and The Pacific Rim Region จัดโดย University of Tokyo, Tokyo, ประเทศญี่ปุ่น, 2539
7.2 รศ.ดรเจียมใจ เครือสุวรรณ เสนอผลงานเรื่อง "Tropospheric Ozone Behavior on The Inthanon" ใน International Workshop on Measurements of Ozone in East Asia / West Pacific จัดโดย Limnological Institute, Irkutsk, ประเทศรัสเซีย, 2540
7.3 รศ.ดรเจียมใจ เครือสุวรรณ เสนอผลงานเรื่อง "Variation of Surface Ozone in Chiang Mai" ใน International Symposium on Tropospheric Ozone in East Asia and Its potential Impact on Vegetation" จัดโดย University of Tokyo, Tokyo, ประเทศญี่ปุ่น, 2541
7.4 รศ.ดรเจียมใจ เครือสุวรรณ ได้รับการสนับสนุนจาก Third World Academy of Science, Abdus Salam International Centre for Theoretical Physics (ICTP) และ International Centre for Climate and Environmental Sciences (ICCES), Institute of Atmospheric Physics (IAP), Chinese Academy of Science, Beijing ให้เข้าทำวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์จีน ที่ ICCES ช่วง สิงหาคม - ตุลาคม 2544

8. ผลงานที่เผยแพร่
8.1 Puranapan, K., and Kreasuwun, J., 1998: Variation of Surface Ozone in Chiang Mai. Proceedings of The International Symposium on Tropospheric Ozone in East Asia and Its potentials Impact on Vegetation, Tokyo, p 41-43.
8.2 Pochanart, P., Kreasuwun, J., et all.,2001: Tropical Tropospheric Ozone Observed in Thailand. Atm. Environ., 35(15):1352-2310.