การบริการวิชาการชุมชน

 


โครงการค่ายโอลิมปิกวิชาการ (สอวน.)
ในปีการศึกษา 2544 มีนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการค่าย 1 และค่าย 2 และไปสอบแข่งขันเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการระดับประเทศ เพื่อเข้าค่าย 3 ณ สำนักงานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 4 คน คือ
1. นายศรัณย์ อาฮูยา จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เข้าค่าย มช. สาขาคณิตศาสตร์ เมื่อปี 2544
2. นางสาวเป็นหญิง โรจนกุล จากโรงเรียนดาราวิทยาลัย เข้าค่าย มช. สาขาคณิตศาสตร์ เมื่อปี 2544
3. นายวริทธิ์ หวังซื่อกุล จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เข้าค่าย มช. สาขาคณิตศาสตร์ เมื่อปี 2544
4. นางสาววรผกา มโนสร้อย จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เข้าค่าย มช. สาขาชีววิทยา
เมื่อปี 2543
สำหรับในปีการศึกษา 2545 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับรับสมัครนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2545 ที่อยู่ในเขตการศึกษาเพื่อสอบคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ โดยมีนักเรียนที่ผ่านคัดเลือกเข้าค่าย 1 จำนวน 181 คน จาก 26 โรงเรียน หลังจากนี้จะได้คัดเลือกนักเรียนจากค่าย 1 เพื่อเข้าค่าย 2 สาขาวิชาละประมาณ 20 คน ได้จำนวนนักเรียนรวม 104 คน และนักเรียนจะเข้าค่าย 2 ณ คณะวิทยาศาสตร์ ระหว่างวันที่ 9-24 มีนาคม 2545
ในปีการศึกษา 2545 เมื่อเสร็จสิ้นจากค่ายโอลิมปิกวิชาการค่ายที่ 2 แล้ว เพื่อเป็นการฉลองวโรกาสพระชนมายุครบรอบ 84 พรรษา ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิ สอวน. จึงต้องการจัดค่ายฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกขึ้น ทั้งนี้เนื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงสนพระทัยในเรื่องฟิสิกส์ดาราศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงสนพระทัยอย่างยิ่งที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นมูลินิธิ สอวน. จึงได้มอบให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการจัดทำโครงการนำร่องค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิกขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความพร้อมมากที่สุดทั้งในด้านวิทยากร กล้องดูดาวและด้านอุปกรณ์การทดลองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนักเรียนที่จะเข้าค่ายฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิก จะเป็นนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ สาขาวิชาฟิสิกส์ของทุกศูนย์ สอวน.ทั่วประเทศ จำนวนประมาณ 35 คน และจะมีการเข้าค่ายในระหว่างวันที่ 21 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2546 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นอกจากนั้นในปีการศึกษา 2545 นายอดิศร ไชยบาง นักเรียนชั้น ม. 6 จากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง เป็นนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการสาขาชีววิทยา จากศูนย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2543 ได้ผ่านการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติที่ประเทศลัตเวีย ซึ่งจัดแข่งขันในวันที่ 7-14 กรกฎาคม 2545 และนับเป็นนักเรียนคนเดียวที่มาจากศูนย์ สอวน.ภูมิภาค ที่ได้ผ่านการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนการแข่งขันระดับนานาชาติในปีการศึกษา 2545 ผลการแข่งขันปรากฎว่านายอดิศร ไชยบาง ได้รับเหรียญทอง สาขาชีววิทยา จากการแข่งขันดังกล่าว

โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับโรงเรียน
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับมอบหมายจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ดำเนินการภายใต้ทำบันทึกความเข้าใจร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ รวม 24 สถาบัน ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อแสดงถึงความเข้าใจและร่วมมือกันในการดำเนินงานตามโครงการร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโรงเรียน นั้น
ในปีงบประมาณ 2545 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานภายในโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโรงเรียน โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดเป้าหมายการทำงานให้สอดคล้องกับโครงการว่าด้วยความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระดับโรงเรียนไว้ 2 แนวทาง คือการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมสำหรับผู้เรียน สำหรับอีกแนวทางหนึ่งคือจะดำเนินการจัดฝึกอบรมครูเพื่อเพิ่มศักยภาพของครู และให้ได้หลักสูตรใหม่ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสามารถนำความรู้ที่เกิดขึ้นไปสู่การปฏิบัติได้จริง โดยการดำเนินการทั้งสองแนวทางนั้น จะให้มีควบคู่กันไปตลอดโครงการ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีโรงเรียนที่เป็นแกนนำด้านการจัดการเรียนการสอน
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นมาตรฐานและทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับบริการทางวิชาการ เช่น การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นในสาระของวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อเป็นต้นแบบแก่โรงเรียนอื่น ๆ ในท้องถิ่น
2. เพื่อพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ได้เพิ่มพูนศักยภาพทางวิชาการและการจัดการเรียนการสอน โดยการเข้ารับการอบรมศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
3. เพื่อพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนและนักเรียนมีความรู้ ความสามารถในการ
วิจัยและทำกิจกรรมทางวิชาการต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
4. เพื่อพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนมีได้ใช้วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนด้าน
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีศักยภาพ รวมทั้งการจัดห้องปฏิบัติการให้ได้มาตรฐานและมีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
ในปีงบประมาณ 2545 คณะวิทยาศาสตร์ ได้คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมในโครงการจำนวน 4 โรงเรียนคือ
1. โรงเรียนสังวาลย์วิทยา (ชั้นอนุบาล - ม. 3) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
2. โรงเรียนบ้านทรายมูล (ชั้นอนุบาล - ป. 6) อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
3. โรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม (ม. 1 - ม. 6) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
4. โรงเรียนสองแคววิทยาคม (ม. 1 - ม. 6) อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนั้น คณะวิทยาศาสตร์ยัง ได้คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมเป็นโรงเรียนแนวร่วมในโครงการ อีก 3 โรงเรียนคือ
1. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (ชั้น ม.1 - ม.6) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
2. โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ (ชั้น ม.1 - ม.6) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
3. โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม (ชั้น ม.1 - ม.6) อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

ในปีการศึกษา 2545 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ร่วมมือกับโรงเรียนแกนนำ โรงเรียนแนวร่วมในโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมต่างๆ ตามแผนการดำเนินงานของโครงการ เช่น
1. การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนการดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการความ
ร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับโรงเรียน ระหว่างวันที่ 4-6 มกราคม 2545
2. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "กระบวนการในการสร้างสาระหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบบองค์รวมครั้งที่ 1" วันที่ 8-10 เมษายน 2545 และ ครั้งที่ 2 วันที่ 22-26 เมษายน 2545
3. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "เทคนิคการเตรียมตัวอย่างสำหรับการเรียนการสอนในปฏิบัติการสัตววิทยา" วันที่ 22-26 เมษายน 2545
4. การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม ณ โรงเรียนสองแคววิทยาคม วันที่ 20-24 พฤษภาคม 2545
5. การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม ณ โรงเรียนบ้านทรายมูล วันที่ 21-23 มิถุนายน 254
6. การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ธรณีวิทยาทั่วไปในท้องถิ่น" ระหว่างวันที่ 26-28 กรกฎาคม 2545
7. การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การพฒนากระบวนวิชา e-learning" ในวันที่ 19-21 สิงหาคม 2545
8. การจัดค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม ณ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ วันที่ 24-27 กันยายน 2545
9. การจัดค่ายเรียนรู้วิถีชุมชน ณ โรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม วันที่ 2-4 ตุลาคม 2545
10. การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การจัดทำ Benchmark วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 1" วันที่ 24 พฤศจิกายน 2545 ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิททยาลัยเชียงใหม่
11. การเยี่ยมโรงเรียนแกนนำกและโรงเรียนแนวร่วมในโครงการ โรงเรียนละประมาณ 10 ครั้ง/ปี