คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาหลายรูปแบบ
ดังนี้
1) นักศึกษาบัณฑิตศึกษาช่วยสอน
คณะวิทยาศาสตร์ได้สนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาช่วยสอนโดยมีการสนับสนุนใน
2 ประเภท คือ การสนับสนุนโดยค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง และการสนับสนุนในลักษณะการให้ทุนการศึกษา
โดยในช่วงเดือนตุลาคม 2544-กันยายน 2545 ได้สนับสนุนประเภทให้ค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง
จำนวน 1,118,970 บาท และสนับสนุนประเภททุนการศึกษา จำนวน 120,000 บาท
รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 1,238,970 บาท มีรายละเอียดดังนี้
1.1 การสนับสนุนประเภทประเภทให้ค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง
ภาควิชา
|
ภาคการศึกษาที่ 2/2544
|
ภาคการศึกษาที่ 1/2545
|
รวม
|
คณิตศาสตร์
|
42,660
|
59,580
|
102,240
|
เคมี
|
93,420
|
288,090
|
381,510
|
ชีววิทยา
|
73,980
|
106,650
|
180,630
|
ธรณีวิทยา
|
32,670
|
29,970
|
62,640
|
ฟิสิกส์
|
146,520
|
10,800
|
157,320
|
สถิติ
|
32,760
|
129,150
|
161,910
|
วิทยาการคอมพิวเตอร์
|
39,420
|
33,300
|
72,720
|
รวม
|
461,430
|
657,540
|
1,118,970
|
1.2 การสนับสนุนประเภททุนการศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์
ได้เริ่มให้การสนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาในลักษณะการให้ทุนการศึกษาในภาคการศึกษาที่
1/2545 โดยการให้ทุน ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบเต็มเวลา (Full
Time) และแบบไม่เต็มเวลา (Part Time)
ในภาคการศึกษาที่ 1/2545 ได้สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาช่วยสอนประเภทเต็มเวลา
(Full Time) จำนวน 5 ราย จาก 5 ภาควิชา (คณิตศาสตร์, เคมี, ชีววิทยา,
สถิติ, ฟิสิกส์) โดยสนับสนุนรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 120,000 บาท
2) โครงการพัฒนาวิชาการบัณฑิตศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์
ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา
โดยในช่วงตุลาคม 2544 - กันยายน 2545 ได้ให้การสนับสนุน
ดังนี้
ภาคการศึกษา 2/2544 จำนวน 3 โครงการ
เป็นเงิน 38,259 บาท ดังนี้
ภาควิชา/สาขาวิชา
|
ชื่อโครงการ
|
ชีววิทยา
|
การอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ในการนำเสนอผลงานวิจัย
|
วิทยาการคอมพิวเตอร์
|
การสัมมนาในระดับบัณฑิตศึกษา
|
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
|
โครงการเสริมความรู้ในการสร้างแบบจำลองเพื่อติดตามคุณภาพอากาศในเขตเมือง
|
ภาคการศึกษา
1/2545 จำนวน 9 โครงการ เป็นเงิน 97,960 บาท ดังนี้
ภาควิชา/สาขาวิชา
|
ชื่อโครงการ
|
คณิตศาสตร์
|
1. การสืบค้นข้อมูลวิชาการทางคณิตศาสตร์ผ่านระบบ
Internet
|
ชีววิทยา
|
2. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้ในการนำเสนอผลงานวิจัย
|
ธรณีวิทยา
|
3. ทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับงานด้านธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์
|
สถิติ
|
5. การพัฒนาบุคลิกภาพและการพูดในที่ชุมชน
|
ฟิสิกส์
|
6. การพัฒนาความรู้และทักษะการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการวัดและการควบคุมเบื้องต้น
|
วิทยาการคอมพิวเตอร์
|
7. การสัมมนาในระดับบัณฑิตศึกษา
|
เคมีอุตสาหกรรม
|
8. การสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สาขาเคมีอุตสาหกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
|
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
|
9. การใช้ GIS และแบบจำลองเพื่อการประเมินความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม
|
3) การสนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาไปเสนอผลงานวิชาการ
ฝึกอบรม ดูงาน ทำวิจัยระยะสั้น
คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายสมทบในการไปเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา
โดยในปีการศึกษาที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาไปเสนอผลงานทั้งสิ้น
จำนวน 122 คน รวมเป็นเงิน 903,453.- บาท (ในประเทศ 97 คน เป็นเงิน 242,993.-
บาท และต่างประเทศ 25 คน เป็นเงิน 660,460.- บาท)
นอกจากนี้
ยังได้จัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายสมทบให้แก่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับสถาบันต่างประเทศ
โดยในปีที่ผ่านมาสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายสมทบในการทำวิจัยระยะสั้น ณ ประเทศอังกฤษ
และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ของนักศึกษาระดับโทและปริญญาเอก จำนวน 8
คน เป็นเงิน 235,000.- บาท
(รายละเอียดดูในภาคผนวกที่ 19)
|