ปัญหา/อุปสรรค |
แนวทางแก้ไข |
การนำผลการประเมินมา
ปรับปรุงแผนการดำเนินงาน |
1. การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม เช่น พิธีหล่อเทียนเข้าพรรษา การถวายเทียนพรรษา การร่วมขบวนแห่วันสงกรานต์ พิธีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสของคณะฯ ได้รับความสนใจเฉพาะคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเพียงส่วนน้อย |
1. ควรมีการประชาสัมพันธ์ก่อนล่วงหน้า และมีการรณรงค์ให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วม
2. กิจกรรมบางกิจกรรมควรจัดร่วมกันระหว่างคณะฯ และทุกภาควิชา เช่น พิธีหล่อเทียนพรรษา การถวายเทียนพรรษา
3. มีการรณรงค์ให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ซึ่งนับวันจะค่อยๆ ถูกลืมเลือนไป เนื่องจากมีคนต่างถิ่นโยกย้ายเข้ามาตั้งรกรากอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เพิ่มมากขึ้น
|
1. รับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์และมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าทุกกิจกรรม
2. วางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างคณะฯ กับทุกภาควิชา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดกิจกรรมจากตัวแทนคณะฯ และตัวแทนภาควิชา
3. รณรงค์ให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ในรูปของการติดโปสเตอร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติ วัฒนธรรม ประเพณี ในวาระวันสำคัญต่างๆ และเชิญชวนให้บุคลากรทุกฝ่ายเข้าร่วมกิจกรรม |
2. ภาควิชา หน่วยงาน และนักศึกษา ยังขาดความร่วมมือในด้านการอนุรักษ์พลังงาน มีการติดตั้งเครื่องมือเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมในภาควิชา หน่วยงาน มากขึ้น นักศึกษาไม่ช่วยกันดูแลการปิดไฟ พัดลม เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ในห้องปฏิบัติการ ห้องบรรยาย หลังจากที่เลิกใช้งาน |
1. การรณรงค์ให้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคต เพื่อให้ร่วมกันประหยัด
2. ขอความร่วมมือจากอาจารย์ผู้สอนเตือนให้นักศึกษาช่วยกันปิดไฟหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลังจากเลิกใช้งานแล้ว
3. มีการดูแล จัดห้องบรรยายให้เหมาะสมกับจำนวนนักศึกษา เพื่อจะได้ไม่ต้องเปิด หรือใช้เครื่องไฟฟ้าเกินความจำเป็น
4. กำหนดการเปิด/ปิด ลิฟท์ หรือเครื่องปรับอากาศให้เป็นเวลา เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้กระแสไฟฟ้ามาก |
1. สร้างจิตสำนึกให้บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วมในการประหยัดการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ และเชิญวิทยากรมาบรรยายเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน
2. ออกมาตรการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน และแจ้งเวียนไปยังฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ขอให้ปิดอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
3. ประสานงานกับฝ่ายวิชาการในการจัดห้องบรรยายให้เหมาะสมกับจำนวนนักศึกษา
4. กำหนดเวลาปิด/เปิดลิฟท์ และเครื่องปรับอากาศให้เป็นเวลา |
3. การกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยในด้านทรัพย์สินของทางราชการและการป้องกันอุบัติภัยในการใช้อาคาร SCB 1 และ SCB 2 ทำได้ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากเป็นอาคารสูง มีทางหนีไฟตามข้อกฏหมายและห้ามมีการล็อคหรือปิดกั้นทางหนีไฟ ซึ่งมีผลกระทบต่อการป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของทางราชการ และความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารนอกเวลาราชการ |
1.มีการกำหนดระบบการรักษาความปลอดภัย เพื่อป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินอย่างรัดกุม
2. มีการวางมาตรการในการใช้อาคารนอกเวลาราชการ โดยมีการทำหนังสือแจ้งถึง หน่วยงาน ภาควิชา ที่ร่วมใช้อาคาร ให้เข้าใจถึงความไม่สะดวกในการใช้อาคารในช่วงเวลานอกราชการ เพื่อความปลอดภัย และสอดคล้องกับนโยบายประหยัดพลังงาน |
1.จ้างบริษัทรักษาความปลอดภัย
2.ออกมาตรการ การใช้อาคารนอกเวลาราชการ
|
4. ปัญหาด้านการปรับปรุงภูมิทัศน์และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การดำเนินการในด้านภูมิทัศน์ของภาควิชาในรูปของการจัดตั้งกลุ่ม 5 ส. ปรากฏว่าบางภาควิชาไม่ได้มีการจัดตั้งเนื่องจากมีการจัดจ้างบริษัทรักษาความสะอาดและให้บริษัทช่วยดูแล และในบางภาควิชามีเจ้าหน้าที่ดูแลเพียง 1-2 คน ทำให้บุคลากรส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วม และไม่ให้ความสนใจในเรื่องของภูมิทัศน์ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม |
1. ชี้แจงและขอความร่วมมือไปยังภาควิชาเพื่อจัดเจ้าหน้าที่ร่วมกิจกรรมกลุ่ม 5ส. เพื่อให้สภาพแวดล้อมของคณะฯ สวยงามเป็นธรรมชาติ
2. คณะฯ เข้าไปมีส่วนสนับสนุนในการดูแลการจัดการด้านภูมิทัศน์ หลังจากมีการหลอมรวมคนงาน นักการภารโรง ตามนโยบายของคณะฯ ภายใต้การดูแลจัดการของหน่วยอาคารสถานที่
|
1. จัดให้มีกลุ่ม 5 ส. ในแต่ละภาควิชาเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม
2. มีการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการด้านภูมิทัศน์ ในรูปการให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ และวางแผนจัดการในการปฏิบัติงานด้านภูมิทัศน์ หลังจากหลอมรวมคนงาน นักการฯ ตามนโยบายของคณะฯ
|