1. ประมวลผลการดำเนินงานตามพันธกิจ โดยสรุป
ในปี 2546 ภาควิชาชีววิทยาได้ดำเนินงานตามพันธกิจ 4 ประการของมหาวิทยาลัย ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ
ก. ด้านการเรียนการสอน
หลักสูตร มีการปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีชีววิทยาซึ่งปรับให้เห็นแนวทางการศึกษาชัดเจนขึ้น ลดจำนวนหน่วยกิตรวมลงเหลือ 134 หน่วยกิต ส่วนหลักสูตรปริญญาตรีสัตววิทยาอยู่ระหว่างกำลังปรับปรุง เช่นเดียวกับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
บุคลากร มีการรับอาจารย์ใหม่จำนวน 3 อัตรา มีอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้นเป็นรองศาสตราจารย์ 2 คน และมีคณาจารย์ที่เกษียณอายุราชการไป 2 คน ข้าราชการ 1 คน
อุปกรณ์การเรียนการสอน มีการจัดหาโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น เช่น LCD projector และเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คณาจารย์ใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ ซึ่งอัตราการใช้สื่อดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้จัดสรรทุนเพื่อผลิตสื่อการสอนเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ทำให้การเรียนการสอนกระบวนวิชาทางชีววิทยามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ ปรับปรุงห้องเรียนหลายห้องเพื่อเพิ่มบรรยากาศของการเรียน เช่น ติดเครื่องปรับอากาศห้องบรรยาย 1310 ซึ่งเป็นห้องขนาดกลาง (ความจุประมาณ 50 คน)
นักศึกษา มีกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพนักศึกษาหลายอย่าง เช่น การอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ การฝึกทักษะภาษาอังกฤษ การอบรมทางจุลชีววิทยาหลายรายการ ซึ่งนอกจากนักศึกษาในภาควิชาแล้วยังมีนักศึกษาต่างภาควิชาให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมด้วย
ข. การวิจัย
กลุ่มวิจัยของภาควิชาแบ่งตามแขนงวิชาเป็น 5 แขนงวิชา คือ จุลชีววิทยา สัตววิทยา พืชศาสตร์และเทคโนโลยี พันธุศาสตร์และอณูชีววิทยา และนิเวศวิทยา มีห้องปฏิบัติการวิจัย 11 ห้อง หน่วยวิจัย 9 หน่วย มีศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์ สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ศูนย์ ประกอบด้วยหน่วยวิจัย 6 หน่วย และยังมีหน่วยวิจัยสังกัดศูนย์อื่น ๆ ของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีก 3 หน่วย
ค. การบริการวิชาการแก่ชุมชน
ภาควิชาชีววิทยามีงานในลักษณะการบริการวิชาการแก่ชุมชนหลายรูปแบบ ดังนี้
1. หอพรรณไม้และโครงการฟื้นฟูป่า
2. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
3. การอบรมทางวิชาการ ได้แก่ ค่ายโอลิมปิค ค่ายอบรมครูชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
4. โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ การประชุมสมุนไพรโลก ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 3 - 7 กุมภาพันธ์ 2546
5. ร่วมมือกับสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการตรวจและวิเคราะห์ต่าง ๆ
ง. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ภาควิชาชีววิทยาได้จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คือ
1. โรงทานมหากุศลเนื่องในโอกาสพิธีเข้า-ออกนิโรธกรรม 7 วัน 7 คืน ของครูบาน้อย เตชะปัญโญ เป็นปีที่ 10 ณ วัดศรีดอนมูล ตำบลชมพู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2546
2. ร่วมกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์กับคณะวิทยาศาสตร์
3. ร่วมในงานรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์
4. กิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ งานปีใหม่ งานต้อนรับบัณฑิต ฯลฯ
2. จุดแข็ง - จุดอ่อน ความสำเร็จ ความคุ้มค่า คุ้มทุน
จุดแข็ง
1. ความสามารถของบุคลากร โดยเฉพาะคณาจารย์หลายท่านมีผลงานในการวิจัยที่โดดเด่น เห็นได้จากสามารถรับทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับต่างประเทศ มีการตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติจำนวนมาก
2. มีระบบกลุ่มวิจัยที่ชัดเจน เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว จุลชีววิทยา ฯ
จุดอ่อน
แนวคิดของบุคลากรส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อยยังยึดติดกับแนวคิดเดิม เปลี่ยนแปลงได้ยากทำให้การพัฒนาบางอย่างเป็นไปได้ช้าเนื่องจากต้องทำความเข้าใจอย่างมาก
ความสำเร็จ ความคุ้มค่า คุ้มทุน
ขณะนี้ภาควิชาชีววิทยาถือว่าประสบความสำเร็จในด้านวิชาการค่อนข้างดี เห็นได้จากงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศ มีการตีพิมพ์งานวิจัยเพิ่มขึ้นมาก นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไปเสนอผลงาน ณ ต่างประเทศเป็นจำนวนมากที่สุดกว่าทุกภาควิชา คณาจารย์รับทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษกจำนวนมาก
ในด้านการเรียนการสอน ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาให้ใช้สื่อการสอนที่ทันสมัย คณาจารย์สนใจในการผลิตสื่อการสอนอิเล็คทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมาก พัฒนาวิธีการสอนให้ทันสมัย ซึ่งผลที่ได้ถือว่าคุ้มค่าแก่การลงทุนในการจัดหาคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก นักศึกษาเองก็พัฒนาการใช้สื่อดังกล่าวเพื่อการเสนอผลงานวิจัยของตนเอง วิธีที่เคยเสนอผลงานแบบเดิม ๆ เช่น การใช้แผ่นใส การฉายสไลด์ การเขียนกระดาน ฯ หมดไปโดยสิ้นเชิง
ในด้านนักศึกษา - นักศึกษาที่เลือกเข้าเรียนในภาควิชาชีววิทยามีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น มีนักเรียนเรียนดี เช่น พสวท. เลือกเข้าเรียนในภาควิชาชีววิทยาเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
3. แนวทางการพึ่งพาตนเอง
จากงานวิจัยและการศึกษาหลายอย่างมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้
1. งานทางจุลชีววิทยา เช่น การผลิตเชื้อสำหรับทำไวน์ สุราพื้นบ้าน เชื้อเห็ดต่าง ๆ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปลูรินา
2. งานทางนิเวศวิทยา เช่น การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การติดตามตรวจสอบสภาพแวดล้อม ซึ่งงานเหล่านี้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ภาควิชาได้
4. แนวทางการพัฒนาในอนาคตตามนโยบายของคณะ ฯ และมหาวิทยา
|