สรุปผลการดำเนินงานของภาควิชาธรณีวิทยา ประจำปี 2546                             

1. ประมวลผลการดำเนินงานตามพันธกิจ โดยสรุป
ภาควิชาธรณีวิทยา มีพันธกิจ ในการให้การศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี โท และ เอก ทั้งในสาขาธรณีวิทยา อัญมณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ประยุกต์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัญฑิตที่จบการศึกษาออกไปสามารถทำงานได้ตามตรงตามสายงานที่ได้ศึกษามาเป็นส่วนใหญ่ และอีกส่วนหนึ่งสนใจที่จะศึกษาต่อยังระดับสูงต่อไป
พันธกิจในด้านการวิจัย ภาควิชาธรณีวิทยามีความร่วมมือในงานวิจัยทั้งกับภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการวิจัยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานที่มีความร่วมมือในการวิจัย อีกทั้งยังมีงานวิจัยในเชิงลึกกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศทั้งในทวีปอเมริกา และเอเซียมีหลายโครงการ
พันธกิจในด้านการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน ภาควิชาธรณีวิทยาได้จัดให้มีเผยแพร่ความรู้ให้กับชุมชน ทั้งในรูปของการบรรยาย การฝึกอบรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้นำชุมชนนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป และยังให้บริการในการตรวจวิเคราะห์ ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาบางส่วนให้กับชุมชน
พันธกิจในด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภาควิชาธรณีวิทยา ได้ให้การสนับสนุนให้บุคลากร และนักศึกษาได้ดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
ในการบริหารจัดการ ภาควิชาได้มีความพยายามที่จะนำเอาเทคโนโลยีสารสนสนเทศ มาใช้ในการเรียนการสอน ในทุกระดับ รวมทั้งใช้ในการบริหารจัดการและการสื่อสารภายในภาควิชามากขึ้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นและเป็นการประหยัดงบประมาณลง

2. จุดแข็ง-จุดอ่อน ความสำเร็จ ความคุ้มค่า คุ้มทุน

จุดแข็ง
ภาควิชาธรณีวิทยามีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ รองรับความรู้แขนงต่างๆในทางธรณีวิทยาและการประยุกต์ด้านอื่นๆได้อย่างพร้อมมูล
ภาควิชาธรรีวิทยามีการวางระบบโครงข่ายสื่อสารข้อมูลภายในที่มีความสะดวกสบาย มีความพร้อมในการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนจากระบบเดิม มาเป็นระบบอิเล็ดโทรนิกได้ง่าย
ภาควิชาธรณีวิทยาและศึษย์เก่ามีความร่วมมือเป็นอย่างดีในการพัฒนาภาควิชา และมีการดำเนินการจัดกิจจกรรมร่วมกันมาโดยตลอด


จุดอ่อน
การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงงานด้านธรณีวิทยายังมีไม่มาก โดยทั่วไป มักเกิดความสับสนในหมู่ประชาชนทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านธรณีวิทยาและงานด้านวิศวกรรม


ความสำเร็จ ความคุ้มค่า คุ้มทุน
ความสำเร็จในด้านการเรียนการสอนถือได้ว่าประสบความสำเจ็จสูง บัณฑิตและมหาบัณฑิตส่วนใหญ่ จบการศึกษาไปได้งานตรงตามสาขาวิชาที่ได้เรียนมา ได้รับค่าตอบแทนโดยเฉี่ลยในอัตราที่สูง เมื่อเทียบกับอัตราเกิดเดือนของข้าราชการทั่วไป
ในด้านของความคุ้มค่านั้น บัณฑิตและมหาบัณฑิตส่วนใหญ่ที่จบอออกไปมักเข้าสู่ตลาดแรงงานของบริษัทเอกชนที่มีเงินลงทุนสูง จึงเป็นประโยชน์ในแง่ของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมได้มาก
ในด้านของความคุ้มทุนนั้น เนื่องจากการเรียนการสอนยังอยู่ในระบบการบริหารจัดการในลักษณะเดิม ย่อมหมายถึงเงินลงทุนด้านการศึกษาที่รัฐยังต้องให้การสนับสนุนเมื่อเทียบกับเงินที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็นค่าเรียน แต่หากมองในแง่ของการนำเงินตราเข้าประเทศหลังจากที่บัณฑิตจบการศึกษาไปแล้ว ถือได้ว่าเป็นจำนวนเงินที่มากมายกว่าเงินที่รัฐจ่ายให้ในการผลิตบัญฑิตแต่ละคน

3. แนงทางการพึ่งพาตนเอง
การดำเนินการเพื่อเปลี่ยนแปลงการบริหารจากมหวิทยาลัยของรัฐ มาเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีความจำเป็นต้องพึ่งพาตนเองสูง แต่ด้วยระเบียบปฏิบัติที่ยังไม่เอื้ออำนวยในปัจจุบัน การดำเนินการเพื่อให้ภาควิชาสามารถบริหารจัดการจนกระทั่งสามารถพึ่งพาตนเองจึงยังทำได้ไม่มาก การดำเนินการเพื่อหางบประมาณเงินรายได้ส่วนใหญ่จึงยังคงต้องพึ่งพางบประมาณจากค่าหน่วยกิตของนักศึกษาเป็นหลัก งบประมาณเงินรายได้อีกส่วนหนึ่งได้จากการให้บริการทางวิชาการและการวิจัย

4. แนวทางการพัฒนาในอนาคต ตามนโยบายของคณะฯ และ มหาวิทยาลัย
ตามนโยบายของคณะฯ และ มหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นให้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ดังนั้นแนวทางการพัฒนาของภาควิชา จึงเน้นไปในด้านการขยายโอกาศให้กับการเรียนการสอนและการวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษามากขึ้น โดยความพยายามที่จะเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ที่มีความหลากหลายและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น แต่ยังคงต้องพิจารณาถึงความพร้อมและความเชี่ยวชาญของบุคลากรควบคู่กันไปด้วย