สรุปผลการดำเนินงานของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม ประจำปี 2546                             

1. การดำเนินงานตามพันธกิจ

ด้านการผลิตบัณฑิต
ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมดำเนินงานด้านการผลิตบัณฑิตทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยในปีการศึกษา 2545 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ถึงปีที่ 4 รวม 145 คน สำเร็จการศึกษา 42 คน มีนักศึกษาระดับปริญญาโทรวมทั้งสิ้น 16 คน สำเร็จการศึกษา 5 คน และในปีการศึกษา 2546 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ถึงปีที่ 4 รวม 146 คน นักศึกษาระดับปริญญาโท 17 คน การรับนักศึกษาของภาควิชาในระดับปริญญาตรีเป็นไปตามเป้าหมาย แต่ในส่วนของระดับปริญญาโทนั้นน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
ปีงบประมาณ 2546 ที่ผ่านมานี้ ภาควิชาได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนานักศึกษาของภาควิชาดังต่อไปนี้
ระดับปริญญาตรี มี โครงการเยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรม, การให้สัมภาษณ์และการเขียนจดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ และ การปฐมนิเทศนักศึกษาชั้นปีที่ 2
ระดับปริญญาโท มี การอบรมภาษาอังกฤษด้านการอ่านและเขียนบทความเชิงวิชาการ, การประชุมสัมมนานักศึกษาบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาหลักสูตร และโครงการเยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรม(จัดร่วมกับนักศึกษาระดับปริญญาตรี)

ด้านการวิจัย มีบุคลากรของภาควิชาได้รับทุนวิจัย ในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

        • "การพัฒนากระบวนการสีย้อมธรรมชาติแบบพหุสำหรับอุตสาหกรรมครอบครัว"
        • "การวิจัยและพัฒนาแก้วบอโรซิลิเกตสำหรับหลอดรังสีเอ็กซ์และกระบวนการประกอบหลอดรังสีเอ็กซ์ทางการแพทย์"
        • "การกำจัดสารประกอบอินทรีย์ในสารละลายสังกะสีด้วยถ่านกัมมันต์"
        • "แบบจำลองสารปลดปล่อยสารประกอบแร่ธาตุที่ได้จากการเผาไหม้ถ่านหินในระบบถ่านหินบดละเอียดโดยวิธีการคำนวณสมดุล"
        • "การผลิตคอมโพสิตโดยใช้เส้นใยธรรมชาติเป็นส่วนเสริมแรง"
        • "การปรับปรุงประสิทธิภาพการย้อมฝ้ายโดยสารโมเลกุลเล็กและพอลิเมอร์บางชนิด"
        • "การผลิตอิฐเบาชนิดไม่เผาจากดินเบาแหล่งลำปาง"

และมีโครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุน 2 โครงการ คือ

        • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบครบวงจร
        • โครงการพัฒนาการย้อมสีธรรมชาติสำหรับเส้นใยพืช

ภาควิชามีหน่วยวิจัยในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ 3 หน่วย คือหน่วยวิจัยการต่อโลหะ - เซรามิกส์, หน่วยวิจัยพลังงาน เชื้อเพลิง และปิโตรเคมี, หน่วยวิจัยเซรามิกอุตสาหกรรม และมีหน่วยวิจัยในสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 หน่วย คือ หน่วยวิจัยสีย้อมและสิ่งทอ
ในด้านความร่วมมือกับต่างประเทศทางด้านการวิจัย ภาควิชามีความร่วมมือกับ Freiberg University of Mining and Technology ประเทศเยอรมนี ในงานวิจัยทางเซรามิก
นอกจากนี้ยังมีบุคลากรภาควิชาเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนภายใต้โครงการ TUCED-DUCED-I&UA ร่วมวิจัย ณ Department of Chemical, Technical University of Denmark อีกด้วย

การตีพิมพ์และเสนอผลงานการวิจัย ในปีงบประมาณ 2546 บุคลากรภาควิชาได้เสนอผลงานวิจัยดังต่อไปนี้
ด้านโลหกรรม 5 เรื่อง

        • "A Microscopical Investigation of the Interface Between Borosilicate Glass and Fe- Ni - Co Alloy Jointed by Direct Fusion of Glass to Metal"
        • "ผลของแรงกดอัด อุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ในการเผาผนึกต่อโครงสร้างและสมบัติหลังเผาผนึกของโลหะผสมเหล็ก - นิกเกิล - โคบอลต์"
        • "Transmission Electron Microscopy in Metallurgy: A Case Study of Precipitation in Steels and Cast Irons"
        • " Effects of Heat Treatment on Microstructure and Hardness of 30% Cr - 2.4% C Cast Iron"
        • "การศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อแก้วกับโลหะผสมเหล็ก - นิกเกิล - โคบอลต์"

ด้านสีย้อมธรรมชาติ 4 เรื่อง

        • "การย้อมสีเขียวบนด้ายฝ้ายด้วยสีย้อมธรรมชาติ"
        • "การย้อมสีธรรมชาติแบบพหุบนฝ้ายเพื่อให้ได้สีเขียวหลายชนิด"
        • "การย้อมด้ายฝ้ายด้วยสีน้ำตาลจากสีย้อมธรรมชาติ"
        • "การย้อมด้ายฝ้ายด้วยสีดำจากสีย้อมธรรมชา

ด้านเชื้อเพลิง 4 เรื่อง

        • "PEM Fuel Cell Development in Thailand"
        • "Performance of PEFC Stack Using Specially Coated Metal Alloys as Bipolar Plates"
        • "Investigation of NO Formation During Char Oxidation From Fixed Bed Coke Combustion"
        • "Conversion of Volatile - Nitrogen and Char - Nitrogen to NO During Combustion

ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน มีดังต่อไปนี้
การจัดประชุมทางวิชาการ

        • การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับบริษัทเมดิทอป เรื่อง "การวิเคราะห์ขนาดอนุภาคเบื้องต้น"
        • การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "ผลิตภัณฑ์พอร์ซเลนจากวัตถุดิบเซรามิกภาคเห

การบริการด้านการวิเคราะห์และทดสอบ
ภาควิชาร่วมกับสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.มช.) ทำการวิเคราะห์ ทดสอบ วัสดุทางด้านเชื้อเพลิง พอลิเมอร์ เซรามิก ให้แก่ทางโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท และบุคคลผู้มาขอใช้บริการ จำนวนหลายสิบราย
การร่วมมือทางด้านการเรียนการสอน
ภาควิชาให้ความร่วมมือช่วยสอนกระบวนวิชา FS 331 และ FS 332 (วิศวกรรมอาหาร 1 และ วิศวกรรมอาหาร 2) ให้แก่ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
นอกจากนี้ บุคลากรภาควิชาเข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ โครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน, โครงการพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระดับโรงเรียน, การจัดนิทรรศการเสนอผลงานในงาน SMEs Day, การเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่บริษัทผาแดงอินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน), การเป็นวิทยากรบรรยาย ณ อบต. แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน, การเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่บุคลากรด้านปิโตรเลียมและพลังงานทหาร กรมการพลังงานทหาร, การให้คำแนะนำปรึกษาทางด้านการพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เซรามิกแก่โรงงานเซรามิกในเขตภาคเหนือและภาคกลางหลายแห่ง

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
บุคลากรภาควิชาร่วมงานด้านประเพณี วัฒนธรรม ที่ทางคณะวิทยาศาสตร์, ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทางภาควิชา จัดขึ้น เช่น งานสงกรานต์ งานถวายเทียนพรรษา งานขันโตก พิธีไหว้ครู เป็นต้น และมีงานวิจัยทางด้านการย้อมสีธรรมชาติ กับ ทางด้านเครื่องปั้นดินเผา(เช่น เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง เป็นต้น) และด้านการลดมลพิษจากการเผาไหม้ของถ่านหิน รวมทั้งมีการเข้าร่วมด้านเทคโนโลยีสะอาด(clean technology)

2. จุดแข็ง - จุดอ่อน ความสำเร็จ ความคุ้มค่า คุ้มทุน

จุดแข็ง
ภาควิชามีอาจารย์ทั้งสิ้น 16 คน (รวมผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ 1 ท่าน ด้วย) ในปีงบประมาณ 2546 อยู่ระหว่างการศึกษาต่อ 5 คน เหลืออาจารย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ 11 คน สามารถดำเนินงานของภาควิชาทั้งทางด้านการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและโท และงานด้านอื่น ๆ ได้ แสดงถึงความสามารถและความทุ่มเทตนในการปฏิบัติงานของอาจารย์และบุคลากรสายอื่น ๆ ในภาควิชาซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้ภาควิชามีเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางด้านการสอนในห้องเรียนดีเพียงพอ และมีเครื่องมือในห้องปฏิบัติการค่อนข้างดีและหลากหลายสำหรับปฏิบัติการและวิจัยของนักศึกษาและคณาจารย์ ด้านการบริหารจัดการต่าง ๆ ดำเนินตามระบบควบคุมคุณภาพของทางคณะวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ในขั้นดี นอกจากนี้ภาควิชามีความร่วมมืออย่างมากกับโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกในเขตภาคเหนือ และมีความร่วมมือกับโรงงานอุตสาหกรรมทางด้านโลหะและเชื้อเพลิงด้วย จุดแข็งอีกอย่างคือ เป็นภาควิชาเล็ก การบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน มีความคล่องตัว ไม่ยุ่งยาก
ในด้านความนิยมเข้าศึกษาของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์นั้น สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมยังอยู่ในความนิยมอันดับต้น ๆ สำหรับในปีการศึกษา 2546 นี้มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ยื่นความจำนงเลือกสาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมเป็นอันดับ 1 ถึง 124 คนในจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้นที่ต้องเลือกสาขาวิชาเอก 603 คน ในขณะที่จำนวนนักศึกษาที่สาขาวิชารับได้มีจำนวน 56 คน แสดงถึงความนิยมเข้าศึกษาในสาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมว่ามีมากขึ้นกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา


จุดอ่อน
เนื่องจากมีอาจารย์ที่อยู่ระหว่างการศึกษาต่อถึงจำนวนประมาณ 1 ใน 3 ทำให้อาจารย์ที่ปฏิบัติงานอยู่มีภาระในการสอนมากขึ้น ทำให้เวลาสำหรับทำวิจัย เขียนตำราหรือบทความทางวิชาการอื่น ๆ มีน้อยลง อย่างไรก็ตามผลงานวิจัยของอาจารย์ก็มีเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา แต่ยังขาดผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ มีเพียงการไปร่วมเสนอผลงานในการประชุมที่ต่างประเทศ ปัญหาด้านอื่นที่มีคือ ด้านงบประมาณของภาควิชา ภาควิชาได้รับงบประมาณค่อนข้างน้อย (เนื่องจากไม่มีงานสอนวิชาพื้นฐานระดับชั้นปีที่ 1 ทำให้จำนวนนักศึกษาของภาควิชาที่คิดตามวิธี FTES มีน้อยเมื่อเทียบกับภาควิชาอื่น ๆ ) การจัดซื้อเครื่องมือเพิ่มเติมแต่ละปีจึงทำได้น้อย ไม่สามารถจัดซื้อเครื่องมือที่มีราคาแพงบางอย่างตามที่ภาควิชาต้องการได้ สำหรับจุดอ่อนทางด้านบุคลากรคือ ภาควิชามีบุคลากรที่มีตำแหน่งวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไปน้อย ทำให้ขาดแคลนอาจารย์ที่จะเป็นผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา


ความสำเร็จ ความคุ้มค่า คุ้มทุน
ภาควิชามีอาจารย์จำนวน 15 คน ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ 1 ท่าน บุคลากรสาย ข 3 คน สาย ค 1 คน ลูกจ้างประจำ 5 คน และลูกจ้างชั่วคราว 4 คน รวมทั้งสิ้น 29 คน มีงบประมาณสำหรับการจัดการเรียนการสอนด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ (ทั้งงบประมาณปกติ งบประมาณโครงการเร่งรัด และงบประมาณรายได้) ในปี 2546 รวมทั้งสิ้น 2.08 ล้านบาท เงินเดือนของบุคลากรทั้งหมดของภาควิชา 4.20 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นภาควิชาใช้งบประมาณในปี 2546 เป็นเงิน 6.28 ล้านบาท ภาควิชาสามารถจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทในปีการศึกษา 2545 และ 2546 ได้ประมาณ 160 คน คิดเป็นอัตราส่วนจำนวนนักศึกษาวิชาเอกต่ออาจารย์เป็นประมาณ 10 ต่อ 1 หรือจำนวนนักศึกษาต่อจำนวนบุคลากรทั้งหมดเป็นประมาณ 5 ต่อ 1 ภาควิชาสามารถผลิตบัณฑิตได้ประมาณ 50 คนต่อปี ซึ่งมีอัตราการได้งานทำและศึกษาต่อในสถาบันต่าง ๆ ได้เฉลี่ยถึงร้อยละ 90 และในจำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำมีรายได้เฉลี่ย 120,000 บาทต่อปี นับว่ามีความสำเร็จ คุ้มค่า คุ้มทุน ในการผลิตบัณฑิต มาก

3. แนวทางการพึ่งพาตนเอง
3.1 สนับสนุนและหาแหล่งทุนการศึกษาและทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ จากหน่วยงานของรัฐและเอกชน โดยเฉพาะหาทางร่วมมือกับโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.2 สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยเฉพาะการบริการด้านการวิเคราะห์และทดสอบเพื่อการสร้างรายได้