1. ประมวลผลการดำเนินงานตามพันธกิจ โดยสรุป
1.1 พันธกิจด้านการเรียนการสอน
ภาควิชาฟิสิกส์ได้ดำเนินการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ มหาบัณฑิตในสาขาวิชาฟิสิกส์ การสอนฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์ วัสดุศาสตร์ และดุษฎีบัณฑิต ในสาขาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์หลักสูตรปกติ และหลักสูตรร่วมกับสถาบันต่างประเทศ เป็นภารกิจหลัก นอกจากนั้นได้เปิดสอนกระบวนวิชาพื้นฐาน บังคับ สำหรับนักศึกษาคณะต่าง ๆ ทั้งในหลักสูตรปกติ หลักสูตรพิเศษและหลักสูตรนานาชาติ โดยในปี พ.ศ. 2546 เปิดสอนกระบวนวิชาระดับปริญญาตรี 95 กระบวนวิชา ระดับบัณฑิตศึกษา 85 กระบวนวิชา นอกจากนั้นยังได้มีกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอน อีกหลายโครงการเช่น การพานักศึกษาระดับปี 3-4 ไปดูงานในโรงงานอุตสาหกรรม การจัดกิจกรรมแข่งขันการสร้างหุ่นแมงมุมไต่ลวด การจัดสัมมนาเพื่อปรับปรุงหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาฟิสิกส์ประยุกต์ การจัดสัมมนาเพื่อประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชา การจัดสัมมนาระดมความคิดเพื่อพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีและการจัดปฐมนิเทศนักศึกษาวิชาเอก
และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาและสนับสนุนการศึกษา โดยมี กิจกรรมเพื่อการพัฒนาและสนับสนุนนักศึกษา เช่น งานฟิสิกส์สัมพันธ์ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้อาจารย์และนักศึกษาได้มีโอกาสสังสรรทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความเข้าใจกันมากขึ้น และนอกจากนั้น นักศึกษาระดับปริญญาตรี มีโอกาสขอการสนับสนุนรับทุนทำงานพิเศษ ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้นักศึกษาที่ขาดแคลนเงินทุนได้ทำงานกับคณาจารย์ในภาควิชาฯ พร้อมทั้งได้รับเงินสนับสนุนด้วย
จำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในช่วงปีงบประมาณ 2546 แยกได้เป็น
ระดับปริญญาตรี ฟิสิกส์ จำนวน 29 คน
วัสดุศาสตร์ 19 คน
ระดับปริญญาโท ฟิสิกส์ 9 คน
การสอนฟิสิกส์ 3 คน
ฟิสิกส์ประยุกต์ 6 คน
วัสดุศาสตร์ 8 คน
รวม 74 คน
1.2 พันธกิจด้านการวิจัย
ภาควิชามีนโยบายเพื่อตอบสนองต่อการมุ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยจัดการให้มีนโยบายที่มุ่งเน้นให้นำไปสู่การวิจัยเชิงบูรณาการ อันจะเป็นการพัฒนางานด้านการวิจัยของภาควิชา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและทิศทางของมหาวิทยาลัย ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ และเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ภาควิชาได้จัดตั้งคณะกรรมการวิจัยของภาควิชา เพื่อกำหนดนโยบาย ทิศทาง และแผนการวิจัยของภาควิชาฯ และเพื่อติดตามและประเมินผลการวิจัยของภาควิชาฯ ตลอดจนการนำผลการประเมินมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงงานวิจัยของภาควิชาฯ/และการจัดการครุภัณฑ์วิจัย
คณาจารย์ในภาควิชา มีการจัดตั้งกลุ่มวิจัยตามแขนงต่าง ๆ มีการจดทะเบียนหน่วยวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัย กับคณะวิทยาศาสตร์ และมีหน่วยวิจัยที่เป็นเครือข่ายของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเครือข่ายของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ อีกทั้งมีความร่วมมือในด้านการวิจัยกับสถาบันอื่นทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังมีคณาจารย์ในภาควิชา ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก คณะวิทยาศาสตร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ทุนมูลนิธิโทเร ทุนกลุ่มวิจัยนาโนเทคโนโลยี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว) ทั้งทุนเมธีวิจัยอาวุโส(เมธี.อาวุโส) ทุนองค์ความรู้ใหม่(วุฒิ เมธีวิจัย) ทุนพัฒนานักวิจัย(เมธีวิจัย) ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก(เมธีรุ่นเยาว์) และทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก(คปก) เป็นต้น รวมแล้ว มากกว่า 30 ทุน
1.3 พันธกิจด้านบริการชุมชน
1. ภาควิชาได้ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ หอดูดาวสิรินธร ซึ่งได้จัดบริการแก่บุคคลภายนอกให้เข้าชมตลอดปี นอกจากนี้ยังมีโครงการอบรมครูวิชาฟิสิกส์ ค่ายฟิสิกส์
โอลิมปิก และดาราศาสตร์
2. ภาควิชาได้มีการรับเอางานผ่าน สวทมช. มาดำเนินการ ซึ่งจะผ่านไปยังหน่วยวิจัยต่าง ๆ เพื่อ
รับผิดชอบดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
1.4 พันธกิจด้านทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ภาควิชาได้มีการสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ที่ทางคณะวิทยาศาสตร์ได้จัดขึ้น อาทิเช่น งานวันไหว้ครู งานรดน้ำดำหัว อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ได้จัดตั้งคณะกรรมการที่จะทำหน้าที่ในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และสามารถพัฒนาภาควิชาฯ ในด้านนี้ให้ดีขึ้นต่อไป
2. ความสำเร็จ ความคุ้มค่า คุ้มทุน
2.1 ความสำเร็จด้านการเรียนการสอน
จากความพร้อมและการปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งของบุคลากรของภาควิชาทำให้ ในรอบปีที่ผ่านมามีคณาจารย์ในภาควิชาได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นจากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ประจำ ปี 2546 คือ ศ.ดร.ทวี ตันฆศิริ
2.2 ความสำเร็จด้านการวิจัย
ภาควิชาฯ ได้มีการดำเนินการวิจัยอย่างต่อเนื่องในหลายแขนงวิชามาเป็นระยะเวลานาน และได้ผลิตผลงานวิจัย ที่มีคุณภาพอันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ และมีการเผยแพร่ในหลายสื่อ เช่นการตีพิมพ์ในวารสาร การไปเสนอผลงานทั้ง ระดับชาติ และ นานาชาติ อันจะเห็นตัวอย่างได้จากรางวัลและทุนวิจัยสำคัญ ๆ ที่คณาจารย์ในภาควิชาได้รับในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ดังนี้
1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
1.1 เมธีวิจัยอาวุโส (เมธี.อาวุโส)
1.1.1 ศ.ดร.ทวี ตันฆศิริ
1.1.2 ศ.ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง
1.2 ทุนองค์ความรู้ใหม่ (วุฒิ เมธีวิจัย)
1.2.1 รศ.ดร.สมชาย ทองเต็ม (ร่วมกับ อ.ดร.พิศิษฐ์ สิงห์ใจ)
1.3 ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย)
1.3.1 ผศ.ดร.ธีรวรรณ บุญญวรรณ
1.3.2 ผศ.ดร.สุพล อนันตา
1.3.3 รศ.ดร.กอบวุฒิ รุจิจนากุล
1.4 ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก (เมธีรุ่นเยาว์)
1.4.1 ดร.มาโนช นาคสาทา
1.4.2 ดร.วิม เหนือเพ็ง
1.4.3 ดร.พิศิษฐ์ สิงห์ใจ
1.4.4 ดร.สุภาพ ชูพันธ์
1.4.5 ดร.รัตติกร ยิ้มนิรัญ
1.4.6 ดร.จิตรลดา ทองใบ
1.4.7 ดร.อานนท์ ชัยพานิช
1.4.8 ดร.สุกานดา เจียรศิริสมบูรณ์
2. รางวัลผลงานวิจัยดีจากมูลนิธิโทเร คือ รศ.ดร.ผ่องศรี มังกรทอง รศ.ดร.นิกร มังกรทอง อ.ดร.สุภาพ
ชูพันธ์ และ นายสุวิทย์ วงศ์ศิลา
3. รางวัลนักวิจัยนิวเคลียร์เกียรติคุณ สาขาการศึกษา ประจำปี 2546 จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ คือ รศ.ดร.สมศร สิงขรัตน์
4. รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น จากสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2546 คือ รศ.ดร.สมศร สิงขรัตน์ และ รศ.ดร.ผ่องศรี มังกรทอง
5. ประสพความสำเร็จในการประกอบและติดตั้ง เครื่องเร่งอนุภาคแทนเด็มแทนเดอตรอน ที่ได้รับมอบจาก Chalmers University of Technology, Gothenburg, Sweden
2.3 จุดแข็งของภาควิชา
1. มีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกมากกว่า 50%
2. คณาจารย์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสนับสนุนให้คณาจารย์ไปศึกษาต่อ/สัมมนา/
เสนอผลงานทางวิชาการ/ฝึกอบรม/วิจัย ทั้งในและต่างประเทศ
3. มีหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาเอก อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาอุดมศึกษาไทย 2 หลักสูตรคือ ฟิสิกส์ และวัสดุศาสตร์อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศหลายแห่งเช่น Uppsala University Sweden, The University of Leeds UK เป็นต้น
4. มีการจัดการเรียนการสอนร่วมกับภาควิชาอื่น ๆ ในลักษณะ โปรแกรมร่วมเพื่อให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนและมีความรู้ข้ามสาขาวิชาได้อย่างหลากหลาย เช่น ฟิสิกส์ กับสถิติ คณิตศาสตร์ เคมี ธรณีวิทยา ชีวะวิทยา ภูมิศาสตร์ เป็นต้น
5. มีคณาจารย์ที่มีศักยภาพและความพร้อมในการทำวิจัยสูงในหลายแขนงวิชาที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีความร่วมมือการทำวิจัยกับหน่วยวิจัยทั้งภายในและภายนอก มีผลงานต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
6. มีนักวิจัยและคณาจารย์หลายแขนงวิชา ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติด้านวิจัยจากหน่วยงานระดับสถาบัน และระดับประเทศ
7. หน่วยวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยแต่ละหน่วย/ห้อง มีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และทิศทางการวิจัยที่ชัดเจน
8. คณาจารย์ในภาควิชาฯ มีการแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยจากทั้งภายในและภายนอก
9. มีการจัดการและสนับสนุนการวิจัยโดยมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับงานวิจัย ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในเกือบทุกสาขาในภาควิชา
|