องค์ประกอบคุณภาพ |
จุดอ่อนและวิธีแก้ไข |
จุดแข็งและวิธีเสริมให้แข็งแกร่ง |
1. ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
|
จุดอ่อน
- ยังไม่มีการกำหนดเป้าหมายในแผนปฏิบัติงานย่อย
|
จุดแข็ง
- มีการกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และแผนปฏิบัติการของคณะฯ ตลอดจนมีการ ติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ
- มีการวางแผนปฏิบัติการแบบ Performance base budgeting
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- นำผลจากการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ มาปรับปรุงการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
- ติดตามและประเมินผลการใช้ งบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
|
2. การเรียนการสอน
2.1 อาจารย์
|
-
|
จุดแข็ง
- มีอาจารย์หลายท่านของคณะได้รับรางวัลดีเด่นในระดับชาติ
- มีการสนับสนุนให้อาจารย์ไปศึกษาต่อ/สัมมนา/เสนอผลงานทางวิชาการ/ฝึกอบรมและร่วมวิจัยทั้งในและต่างประเทศ
- มีประกาศ เรื่อง การคิดภาระงานของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดภาระงานด้านต่างๆ ของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
- มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่อง
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- หาแหล่งทุนและงบประมาณสนับสนุนการ พัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ให้มากขึ้น
- จัดระบบการประเมินอาจารย์โดยยึดถือกำหนดมาตรฐานภาระงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และแบบประเมินผลการปฏิบัติ ราชการของข้าราชการ
|
2.2 บุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน
|
จุดอ่อน
- ระบบการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ใช้อยู่ยังไม่สะท้อนความเป็นจริงของผลงาน ทำให้บางหน่วยงานมีบุคลากรที่ไม่สามารถรับผิดชอบงานที่ควรจะเป็นได้
- ยังมีการทำแบบบันทึกภาระงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่เป็นระบบไม่ครบถ้วน
วิธีแก้ไข
- แก้ไขและปรับปรุงระบบการประเมินให้มีความชัดเจนเป็นรูปแบบมาตรฐานเป็นรูปธรรมและประเมินตามความเป็นจริง
- สนับสนุนให้มีการจัดทำแบบบันทึกภาระงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการอย่างเป็นระบบ
|
จุดแข็ง
- มีการประชุม/สัมมนา ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสร้างความชัดเจนในการสื่อสารระหว่างงานบริการและเจ้าหน้าที่ภาควิชา
- บุคลากรส่วนใหญ่ สามารถประสานงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ทำให้การดำเนินการของ องค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีแผนพัฒนาบุคลากรทั้งระดับหัวหน้าหน่วย/งาน และระดับปฏิบัติงาน
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- ให้มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานให้ครบทุกหน่วยงานทั้งในสำนักงานเลขานุการคณะฯและภาควิชา และสนับสนุนให้มีการนำคู่มือการปฏิบัติงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของหน่วยงาน เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงพัฒนาหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ขยายผลให้บุคลากรในระดับภาควิชามีการประเมินตนเอง และมีการกำหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติงานด้วย
- กระตุ้นให้เกิดการนำผลที่ได้จากการพัฒนาบุคลากรมาปรับปรุง พัฒนางานที่รับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
|
2.3 นักศึกษา
|
จุดอ่อน
- นักศึกษาและบัณฑิตยังมีจุดอ่อนในทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
วิธีแก้ไข
- จัดโครงการเพิ่มทักษะความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นักศึกษามากขึ้น
- เพิ่มรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะภาษาต่างประเทศ ให้มีความหลากหลายขึ้น ตลอดจนมีการติดตามผลโดยคณะกรรมการฯ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงรูปแบบและวิธีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อ
|
จุดแข็ง
- มีการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อเพิ่มแรงจูงใจ ในการดึงดูดนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเข้ามาเรียน
- มีการประเมินวิธีการคัดเลือก นักศึกษาในโครงการพิเศษต่างๆ
- มีการติดตามภาวะการหางานทำของบัณฑิตและติดตามคุณภาพบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- นำผลจากการประเมินมาปรับปรุงวิธีการคัดเลือกนักศึกษา เพื่อให้ได้นักศึกษาที่เรียนดี เข้ามามากขึ้น
- พัฒนาวิธีการติดตามคุณภาพบัณฑิต โดยเพิ่มรายละเอียดให้มีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น
|
2.4 ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ
|
จุดอ่อน
- มีการวางแผนการใช้ห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการในระดับภาควิชา แต่ยังไม่ได้มีการวางแผนในภาพรวมของคณะ
วิธีแก้ไข
- กำหนดให้มีการวางแผนการใช้ห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการในภาพรวมของคณะอย่างเป็นระบบ โดยจัดทำเป็นโปรแกรมออนไลน์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างทั่วถึง
|
จุดแข็ง
- มีการจัดทำโปรแกรมการใช้ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการของคณะวิทยาศาสตร์
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- เพิ่มเติมประวัติการบำรุงรักษาห้องเรียนและห้องปฏิบัติการของคณะวิทยาศาสตร์
|
2.5 อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน
|
จุดอ่อน
- ได้เริ่มมีการวางแผนการใช้ ระบบดูแล และบำรุงรักษา อุปกรณ์ สื่อการเรียนการที่ชัดเจน แต่ยังมีจำนวนน้อย
วิธีแก้ไข
- กระตุ้นให้เกิดการวางแผนการใช้ ระบบ ดูแล และบำรุงรักษา อุปกรณ์ สื่อการเรียนการที่ชัดเจนให้มากขึ้น ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
|
จุดแข็ง
- มีหน่วยพิมพ์เอกสารวิชาการ ให้บริการด้าน สิ่งพิมพ์ทั้งในคณะฯ และนอกคณะฯ
- มีครุภัณฑ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนที่ ทันสมัย
- มีการสนับสนุนงบประมาณในการผลิตสื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และการสนับสนุนให้คณาจารย์เพิ่มพูนความรู้ในเกี่ยวกับการใช้ CMS
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการด้านสิ่งพิมพ์ให้ดียิ่งขึ้น
- หางบประมาณสนับสนุนการจัดหาครุภัณฑ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน ตลอดจนวางแผนการใช้ ระบบดุแล และบำรุงรักษา อุปกรณ์ สื่อการเรียนการที่ชัดเจน ที่ทันสมัย เพื่อให้การใช้ครุภัณฑ์เกิดประโยชน์สูงสุด
- สนับสนุนงบประมาณในการผลิตสื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้มีจำนวนมากขึ้น และติดตามประเมินผลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนให้มากที่สุด
- สนับสนุนให้เกิดการใช้ Course Management System ในการบริหารจัดการรายวิชา อย่างแพร่หลาย และจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ CMS เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่อง
|
2.6 ห้องสมุด
|
จุดอ่อน
- ตำรา/วารสารวิชาการระดับสูงในห้องสมุดยังมีไม่เพียงพอสถานที่จำกัด
วิธีแก้ไข
- จัดหางบประมาณสนับสนุนให้มีตำรา/วารสารวิชาการระดับสูงให้มากยิ่งขึ้น
- ปรับปรุงห้องสมุดให้เป็น Visual Library
|
จุดแข็ง
- มีการจัดทำ Website ของห้องสมุด เพื่อให้ข้อมูลการให้บริการของห้องสมุดอย่างเป็นระบบ
- มีระบบการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ Internet และให้บริการด้านการสืบค้นแก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร
- มีคณะกรรมการบริหารห้องสมุด ทำหน้าที่บริหารจัดการการดำเนินงานด้านต่างๆ ของห้องสมุด
- มีการประเมินการใช้ห้องสมุด และความพึงพอใจในการใช้ห้องสมุด ตลอดจนนำผลจากการประเมินมาปรับปรุง พัฒนาการให้บริการของห้องสมุด
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- พัฒนาระบบสารสนเทศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
- จัดให้มีวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
- คณะกรรมการบริหารห้องสมุด ติดตามและประเมินผล และปรับปรุงการดำเนินการของห้องสมุดอย่างต่อเนื่อง
|
2.7 หลักสูตร
|
จุดอ่อน
- เริ่มมีการนำข้อมูลจากประเมินหลักสูตรมาใช้เพื่อปรับปรุงหลักสูตรโดยเป็นระบบที่ชัดเจน แต่ยังไม่ครบถ้วน
วิธีแก้ไข
- มีการรวบรวมเอกสารการประเมินหลักสูตรอย่างเป็นระบบ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงหลักสูตรให้ชัดเจน
|
จุดแข็ง
- มีหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาเอกที่มีความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศหลายสาขา ในหลายรูปแบบ เช่น Joint Program, Twinning Program
- มีการประเมินหลักสูตรจากศิษย์เก่า และผู้ใช้บัณฑิต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง หลักสูตร
- มีการระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการบริหารวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร โดยแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น
- จัดให้มีการประเมินหลักสูตรจากศิษย์เก่าและผู้ใช้บัณฑิตอย่างต่อเนื่อง เพิ่มรูปแบบ วิธีการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากที่สุด
- นำผลจากการระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการบริหารวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา มาปรับปรุงการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
|
2.8 กระบวนการเรียนการสอน
|
จุดอ่อน
- การจัดทำฐานข้อมูลประมวลรายวิชาของกระบวนวิชาทั้งหมดที่เปิดสอนยังไม่เป็นระบบ
- นักศึกษาเข้ามาใช้ระบบประเมินการสอนแบบออนไลน์ยังมีจำนวนไม่มาก
วิธีแก้ไข
- จัดทำฐานข้อมูลประมวลรายวิชาของกระบวนวิชาทั้งหมดที่เปิดสอนให้เป็นระบบ และมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
- เพิ่มการประชาสัมพันธ์ และสร้างกลไกเพื่อให้นักศึกษาเข้ามาประเมินการสอนในระบบออนไลน์ให้มากขึ้น
|
จุดแข็ง
- มีการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา ทั้งกระบวนวิชาบรรยายและปฏิบัติการ
- มีการพัฒนาระบบประเมินการสอนแบบออนไลน์ อย่างต่อเนื่อง
- มีระบบนักศึกษาช่วยสอน หลายรูปแบบ ทั้งแบบจ้างคุมปฏิบัติการและทบทวนบทเรียนเป็นรายชั่วโมง และแบบให้ทุนเป็นรายภาคการศึกษา
- มีการสนับสนุนให้มีการนำ E-Learning มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
- มีการสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- เน้นให้คณาจารย์เห็นความสำคัญของการประเมินการสอนและให้มีการประเมินการสอนให้ครบทุกกระบวนวิชา
- ปรับปรุงระบบการรายงานผลการประเมินการสอนแบบออนไลน์ให้รายงานข้อมูลที่เป้นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
- นำผลที่ได้จากการประเมินการสอนของอาจารย์มากำหนดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
- ติดตามและประเมินผลนักศึกษาช่วยสอน เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- กระตุ้นให้เกิดกระบวนวิชาที่ใช้ E-Learning ในกระบวนการเรียนการสอนให้เพิ่มมากขึ้น
- นำผลวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนมาพัฒนาการเรียนการส่อนอย่างต่อเนื่อง
|
2.9 การวัดผลและประเมินผลการเรียน
|
จุดอ่อน
- ยังไม่มีระบบวิเคราะห์ข้อสอบที่ชัดเจน
- ยังไม่มีการประเมินการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม
- อาจารย์ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีวัดผลและประเมินผลการศึกษา การวิเคราะห์ข้อสอบ
วิธีแก้ไข
- จัดให้มีระบบการวิเคราะห์ข้อสอบ
- ให้มีการประเมินการวัดผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงการวัดผล
- จัดการอบรม/ สัมมนาอาจารย์เพื่อเพิ่มทักษะเกี่ยวกับวิธีวัดผลและประเมินผลการศึกษา การวิเคราะห์ข้อสอบ
- วางแผนดำเนินการเพื่อให้เกิดการนำผลที่ได้จากการประชุม/สัมมนา
|
จุดแข็ง
- มีการจัดทำแบบรายงานการวัดและประเมินผล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุงการวัดผลในแต่ละกระบวนวิชา
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- กระตุ้นให้ภาควิชานำผลที่ได้จากแบบรายงานการวัดและประเมินผล มาปรับปรุงการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม
|
2.10 บัณฑิต
|
- |
จุดแข็ง
- มีการติดตามภาวะการหางานทำของบัณฑิตและติดตามคุณภาพบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง
- มีการจัดตั้งชมรมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นองค์กรประสานงานและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่ากับคณะวิทยาศาสตร์
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- พัฒนาวิธีการติดตามคุณภาพบัณฑิต โดยเพิ่มรายละเอียดให้มีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้มากขึ้น
- จัดกิจกรรมเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่า กับคณะวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงระบบฐานข้อมูลทะเบียนประวัติศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
|
3. การพัฒนาและสนับสนุน นักศึกษา
|
จุดอ่อน
- โอกาสพบปะระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษามีน้อย
- จำนวนทุนการศึกษาที่จัดสรรไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่สมัครขอรับทุน
วิธีแก้ไข
- สนับสนุนให้มีกิจกรรมพบปะระหว่างอาจารย์ ที่ปรึกษาและ นักศึกษามากขึ้น
- มีการปรับเกณฑ์การพิจารณา จัดสรรทุนให้รัดกุมยิ่งขึ้
|
จุดแข็ง
- มีหน่วยกิจการนักศึกษาที่เอาใจใส่ และรับผิดชอบงานพัฒนานักศึกษา ตลอดจนมีระบบที่ปรึกษาฝ่าย กิจการนักศึกษาระดับภาควิชา/คณะ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมต่างๆ
- มีการสัมมนากิจกรรมนักศึกษาทุกปี เพื่อหาแนวทางจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
- มีการจัดทำ Website ของหน่วย กิจการนักศึกษา โดยรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ กิจกรรม นักศึกษา แหล่งงาน/ศึกษาต่อ ฯลฯ
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- มีการประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ มาร่วมเป็นที่ปรึกษากิจกรรม นักศึกษามากขึ้น และให้มีการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษา
- จัดกิจกรรมที่มีประโยชน์ เช่น กิจกรรมเสริมด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ปรับปรุง Website ให้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
|
4. การวิจัย
4.1 กลุ่มวิจัยและผู้ช่วยวิจัย
|
จุดอ่อน
- ระบบการประเมินกลุ่มวิจัยที่ผ่านมายังไม่สามารถผลักดันกลุ่มวิจัยบางกลุ่มให้มีพัฒนาการที่สูงขึ้นกว่าเดิม
- กลุ่มวิจัยที่มีลักษณะเป็นพหุสาขายังมีน้อย
วิธีแก้ไข
- ให้มีการปรับปรุงระบบประเมินผลงานวิจัยของกลุ่มวิจัยโดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิที่เกิดขึ้นภายใต้แผนดำเนินงานปัจจุบัน กับผลสัมฤทธิ์ในอดีต
- สนับสนุนการรวมกลุ่มของนักวิจัยต่างสาขาวิชาแต่มีจุดสนใจร่วม เพื่อดำเนินการวิจัยที่เป็นชุดโครงการใหญ่ในลักษณะพหุสาขาวิชา ภายใต้ทิศทาง/นโยบายด้านวิจัยของชาติ และของ มหาวิทยาลัย
|
จุดแข็ง
- มีการจัดตั้งกลุ่มวิจัยอย่างเป็น ปึกแผ่นและหลากหลายสาขา
- กลุ่มวิจัยบางกลุ่ม ได้รับรางวัล เชิดชูเกียรติด้านวิจัยจากหน่วยงานระดับประเทศ
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และด้านสาธารณูปโภค แก่กลุ่มวิจัยที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้วให้สามารถพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
|
4.2 ผู้วิจัย
|
-
|
จุดแข็ง
- มีอาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณวุฒิสูงระดับปริญญาเอกเป็นจำนวนมาก
- คณาจารย์นักวิจัยอาวุโสบางสาขาวิชาได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติด้านวิจัยจากหน่วยงานระดับประเทศ
- มีการจัดสรรผู้ช่วยสอนให้แก่อาจารย์เพื่อจะได้มีเวลาทำงานวิจัยมากขึ้น
- มีการประชุมประจำปีเพื่อการประเมินผล นักวิจัย และกลุ่มวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากคณะ
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- จัดระบบและกลไกในการสืบทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านวิจัยจากบรรดานักวิจัยอาวุโส แก่นักวิจัยรุ่นใหม่
- ให้มีการยกย่องเชิดชูนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในผลงานด้านต่างๆ
- ให้มีการประเมินผลงานวิจัยของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และแพร่หลายโดยคำนึงถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ การเผยแพร่ และ การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในสังคมได้
|
4.3 ปัจจัยเกื้อหนุนการวิจัย
|
-
|
จุดแข็ง
- มีการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการวิจัย
- มีการแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งภายนอก
- มีห้องปฏิบัติการและครุภัณฑ์วิจัยทั้งในระดับสาขาวิชา และในส่วนกลางของคณะ
- มีห้องสมุดคณะ ที่มีวารสารวิชาการค่อนข้างมาก และมีงบประมาณสนับสนุนการสืบค้นเอกสารอ้างอิงของคณาจารย์
- มีงบประมาณสำหรับสนับสนุนและจูงใจ ให้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สังคม
- มีระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนและการบริหารงานวิจัย
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- จัดสรรและบำรุงรักษาปัจจัยเกื้อหนุนการวิจัยให้สอดคล้องต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- เพิ่มจำนวน วารสารวิชาการ โดยเฉพาะ e-journals ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า
- เพิ่มงบประมาณสนับสนุนค่าบริการสืบค้นเอกสารอ้างอิง
|
4.4 การบริหารและกระบวนการวิจัย
|
จุดอ่อน
- การวิจัยเชิงนโยบายยังมีไม่มากนักและไม่ครอบคลุมทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัย
วิธีแก้ไข
- ส่งเสริมการวิจัยเชิงนโยบายให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาการบริหารงานวิจัย
|
จุดแข็ง
- มีการกำหนดทิศทางและวางแผนการวิจัย
- มีการดำเนินงานวิจัยตามทิศทางและแผนที่กำหนด
- มีการเชื่อมโยงการวิจัยกับการเรียนการสอน
- มีการประเมินการบริหารงานวิจัย
- มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงแผนวิจัย
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- ให้มีการประเมินผลการบริหารงานวิจัยโดยผู้ใช้บริการ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงแผนการบริหารงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม
|
5.การบริการวิชาการแก่ชุมชน
5.1 ทรัพยากรบุคคลด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน
|
-
|
จุดแข็ง
- มีบุคลากร หน่วยงาน และคณะกรรมการดูแลด้านบริการวิชาการชุมชนที่เหมาะสม
- มีการดำเนินการด้านการบริการวิชาการอย่างหลากหลาย ของอาจารย์และบุคลากรสนับสนุนการบริการวิชาการ
- มีการพัฒนาทักษะและความสามารถของบุคลากรสนับสนุนการบริการวิชาการชุมชน
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- เพิ่มจำนวนบุคลากรสนับสนุนการบริการวิชาการชุมชนให้มากยิ่งขึ้น
|
5.2 ปัจจัยเกื้อหนุนการบริการวิชาการแก่ชุมชน
|
- |
จุดแข็ง
- มีความพร้อมในปัจจัยเกื้อหนุน อาทิ ทรัพยากรบุคคล ครุภัณฑ์ อาคารสถานที่ และ องค์กรที่กำกับดูแล (สวท-มช) ที่สามารถให้การบริการวิชาการแก่ชุมชนได้อย่างหลากหลายรูปแบบ
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- ให้มีการจัดหาครุภัณฑ์ และจัดตั้งห้องปฏิบัติการเฉพาะทางที่สามารถ ให้การบริการวิชาการในส่วนที่ยังขาด
- ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการบริการวิชาการแก่ชุมชนให้กว้างขวางครอบคลุมยิ่งขึ้น
|
5.3 การบริหารและกระบวนการบริการวิชาการแก่ชุมชน
|
- |
จุดแข็ง
- มีการวางแผนการดำเนินการบริการวิชาการแก่ชุมชน และดำเนินการตามแผนที่กำหนด
- มีการประเมินผลการบริหารการบริการวิชาการแก่ชุมชน
- มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการบริการวิชาการแก่ชุมชน
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการให้ บริการวิชาการแก่ชุมชนเข้าสู่มาตรฐานสากล อาทิ ISO 9001-2000 และ ISO/IEC 17025
|
6. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
|
จุดอ่อน
- การร่วมกิจกรรมของนักศึกษาและบุคลากรยังมีจำนวนน้อย
วิธีแก้ไข
- ปรับปรุงรูปแบบและเพิ่ม กิจกรรมที่น่าสนใจ
|
จุดแข็ง
- มีคณาจารย์/นักศึกษาทำงานวิจัยเกี่ยวกับการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์เพื่อการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์กับกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- เผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ธรรมชาติให้ แพร่หลาย และสนับสนุนให้มีการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง
|
7. การบริหารและการจัดการ
|
จุดอ่อน
- ผู้บริหารมีภาระงานหลายด้านทั้งด้านงานสอนและอื่น ๆ จึงไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีแก้ไข
- ผู้บริหารที่จะมาดำรงตำแหน่งต้องมีเวลาเพียงพอสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหาร
- ควรมีการจัดภาระงานสอนของ ผู้บริหารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดอย่างจริงจัง เพื่อจะให้มีเวลาในการบริหารงานอย่างเต็มที่
|
จุดแข็ง
- ความเป็นบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้บริหารทำงานด้วยเหตุผลและอย่างมีระบบ
- มีแผนพัฒนาผู้บริหาร โครงการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา
- มีโครงการประชุมผู้บริหารสัญจรอย่างต่อเนื่อง
- มีแผนพัฒนาบุคลากรและตั้งงบประมาณรองรับ
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- ส่งเสริม สนับสนุนให้มีโครงการพัฒนาผู้บริหารและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
|
8. การเงินและงบประมาณ
|
จุดอ่อน
- ระบบฐานข้อมูลด้านการใช้จ่าย งบประมาณยังไม่สมบูรณ์
วิธีแก้ไข
- สร้างระบบฐานข้อมูลด้านบริหาร งบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
|
จุดแข็ง
- มีระบบการจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจน เพื่อให้ ภาควิชานำไปบริหารจัดการได้อย่างเป็นอิสระ ได้ เช่น ค่าวัสดุ ค่าเดินทาง ฯลฯ
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- ควรมีการติดตามและประเมินผลการบริหารงบประมาณของภาควิชาเพื่อนำมาปรับปรุงการจัดสรรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
|
9. ระบบและกลไก การประกันคุณภาพ
|
จุดอ่อน
- ผู้ประสานงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะ ยังมีจำนวนไม่เพียงพอกับแผนและกิจกรรมการประกันคุณภาพที่คณะกำหนดเป้าหมายไว้
- แผนการปฏิบัติการย่อยของกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา บางด้านยังไม่ชัดเจน
- การวางแนวปฏิบัติ และจัดกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับภาควิชายังไม่ชัดเจน
- นักศึกษา และบุคลากรยังมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ไม่เพียงพอ
วิธีแก้ไข
- เพิ่มจำนวนผู้ประสานงานด้านการประกันคุณ ภาพของคณะ โดยพัฒนาบุคลากรในส่วนอื่นๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้ประสานงานให้มากขึ้น
- จัดทำแผนปฏิบัติการย่อยของ กิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาให้ครบทุกด้าน
- สนับสนุน ส่งเสริม และกระตุ้นให้ภาควิชากำหนดแนวปฏิบัติในการจัดกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาให้มากขึ้นและมีการติดตาม/ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
- ปรับปรุงรูปแบบ วิธีการ และเพิ่มการประชาสัมพันธ์เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาไปสู่นักศึกษา และบุคลากรทั้งระดับภาควิชาและสำนักงานเลขานุการ โดยเน้นการจัด กิจกรรมให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น
|
จุดแข็ง
- คณะมีการวางระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- มีบุคลากร/หน่วยงาน/คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการฯ รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างชัดเจน
- มีการกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ แผนปฏิบัติการในการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะ โดยมีผู้บริหารติดตามและประเมินผลเป็นระยะ
- มีการตรวจเยี่ยมภาควิชา/สำนักงานเลขานุการ เป็นการภายในเพื่อเป็นการติดตาม/ประเมินผลการจัดกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา
- เริ่มมีการนำกระบวนการ Benchmarking เข้ามาปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินงาน
วิธีเสริมให้แข็งแกร่ง
- ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการวางระบบและ กลไกการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับภาควิชาให้มากยิ่งขึ้น
- ปรับปรุงแนวปฏิบัติ โดยประเมินผลการดำเนินการ และปรับแผนเป็นระยะๆ
- กำหนดกิจกรรม มาตรฐานของ กิจกรรมและเงื่อนไขของเวลาให้ครบทุกด้านและมีการประเมินผลแต่ละกิจกรรมให้เป็นไปตาม เงื่อนไขของเวลาที่กำหนด
- จัดให้มีการตรวจเยี่ยมภาควิชาอย่างต่อเนื่อง
- ปรับปรุงฐานข้อมูลให้ทันสมัย รายงานผลตลอดจนประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
|