1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย | การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช Plant Tissue Culture |
ภาควิชา | ชีววิทยา |
2. ชื่อผู้ประสานงาน
อ.ดร.ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา
3. สมาชิก
รศ.ดร. ทิพย์มณี ภะรตะศิลปิน
รศ.ดร.อารยา จาติเสถียร
อ.พีระวุฒิ วงศ์สวัสดิ์
นางสาวศิริรัตน์ เตปินยะ
4. หลักการและเหตุผล
เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นเทคนิคหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง
ในการขยายพันธุ์พืช เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์จำนวนมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว ปลอดโรค
และได้สายพันธุ์ที่มีความสม่ำเสมอตามความต้องการ ขยายพันธุ์ได้ทุกฤดูกาล ไม่ขึ้นกับสภาพแวดล้อม
นอกจากนี้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคนิคทางด้านพันธุวิศวกรรม
เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช หรือการเก็บรักษาเนื้อเยื่อภายใต้อุณหภูมิต่ำ -196 ฐC
(cryopreservation) เพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตลอดจนการเพาะเลี้ยงเซลล์และแคลัสเพื่อนำไปสู่การผลิตสารทุติยภูมิ
(secondary metabolite) ที่ได้จากพืชสมุนไพร ซึ่งเป็นพืชที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก
และพืชสมุนไพรบางชนิดชาวบ้านได้นำออกมาจากป่า ซึ่งถ้าหากไม่มีการปลูกและขยายพันธุ์ก็อาจทำให้พืชสมุนไพรนั้นหมดจากป่า
และส่งผลกระทบต่อแหล่งพันธุกรรมในธรรมชาติได้ คณะนักวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยเฉพาะ
พืชสมุนไพร พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พืชหากยากหรือใกล้สูญพันธุ์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมพืช
และความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืน
5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. ขยายพันธุ์พืชสมุนไพร พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
พืชหายากหรือใกล้สูญพันธุ์
2. อนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยการเก็บเนื้อเยื่อภายใต้อุณหภูมิต่ำ
3. ผลิตงานวิจัยและนำผลงานวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี
และบัณฑิตศึกษา
4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนในท้องถิ่น
โดยนำผลงานวิจัยที่ได้ขยายผลสู่ชุมชน ร่วมกับการเรียนรู้ ปัญหาจากชุมชนเพื่อนำมาเป็นโจทย์ของงานวิจัย
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่
ตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ
ตู้นึ่งความดันไอ ตู้อบ เครื่องเขย่าเครื่องเขย่าควบคุมอุณหภูมิ เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง
เครื่องชั่งไฟฟ้า
7. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในปีที่ผ่านมา
7.1 ผลงานวิจัยที่เสนอในที่ประชุมต่างๆ
1. Dheeranupattana S. 2001. Inheritance
of partial resistance genes against powdery mildew in barley. 12th Conference
of Genetic Society of Thailand. Bangkok, Thailand. p. 155-159.
2. Dheeranupattana S., T. Sookchot
and A. Jatisatienr. 2001. Micropropagation of Acorus calamus Linn. 27th Congress
on Science and Technology of Thailand. Had Yai, Thailand. p. 633.
3. Promkatkaew T., S. Dheeranupattana
and A. Jatisatienr. 2001. Genetics Variation among Cultivars of Upland-Rice
and Lowland-Rice by HAT-RAPD Technique. 3rd IUPAC International Conference on
Biodiversity. Antalya, Turkey. p. 113.
4. K. Issakul, W. Kongtrakul, S. Dheeranupattana,
S. Jangsuthivorawat and A. Jatisatienr. 2002. Insecticidal Effectiveness of
Compounds from Mammea siamensis Kost against Musca domestica Linn. 26 th International
Horticultural Congress. Toronto, Canada.
5. Chotikadachanarong K., A. Jatisatienr
and S. Dheeranupattana. 2003. Effect of Benzyladenine on Callus Induction and
Regeneration of Stemona sp. The 3 rd World Congress on Medicinal and Aromatics
Plants for Human Welfare. Chiang Mai, Thailand. p. 265
7.2 ทุนที่ได้รับสนับสนุน
1. ชื่อโครงการ การปลูกและขยายพันธุ์พืชที่จะนำมาผลิตเป็นสารสกัดเชิงพาณิชย์
ประเภททุน ชุดโครงการภายใต้หัวข้อ การพัฒนาประสิทธิภาพสารสกัดจากสมุนไพรบางชนิดเป็นสารกำจัดศัตรูพืช
หน่วยงานที่ให้ทุน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณที่ได้รับในโครงการย่อย
373,520.- บาท ปีที่ได้รับ 2543-2546
2. ชื่อโครงการ การจำแนกสายพันธุ์ต้นหนอนตายหยาก
(Stemona spp.) ด้วยเทคนิคทางพันธุศาสตร์โมเลกุลร่วมกับลักษณะทางสัณฐานวิทยา ประเภท
งบประมาณเงินรายได้ หน่วยงานที่ให้ทุน คณะวิทยาศาสตร์ งบประมาณที่ได้รับ 50,000.-
บาท ปีที่ได้รับ 2545
7.3 กิจกรรมวิจัยร่วมกับการเรียนการสอนทุกระดับ
1. ผลของ 2,4-D และ kinetin ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหนอนตายหยาก
(Stemona spp.) กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์ ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา อารยา จาติเสถียร
กอบเกียรติ แสงนิล การค้นคว้าอิสระเชิงวิทยานิพนธ์ 2545.
2. ผลของสารกลุ่มออกซินและไซโตไคนินต่อการเกิดแคลลัสและอวัยวะของเบญจมาศพันธุ์เรแกนสีขาว
(Dendranthema grandeflora Tzvelev.cv. White Raygan). ปิยวรรณ อยู่ดี ศรีสุลักษณ์
ธีรานุพัฒนา ทิพย์มณี ภะระตะศิลปิน ธนวัฒน์ รอดขาว. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี 2545.
3. ผลของ NAA และ Kinetin ต่อการเกิดแคลลัสและอวัยวะของเบญจมาศพันธุ์สไปเดอร์สีขาว
(Dendranthema grandeflora Tzvelev.cv. Donlope's White Spider). จิราภรณ์ นิคมทัศน์
ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา กอบเกียรติ แสงนิล ธนวัฒน์ รอดขาว. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี
2545.
8. แผนดำเนินการและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการด้านต่างๆในรอบปีที่คาดว่าจะได้รับการสนับสนุน
-เข้าร่วมกิจกรรมโครงการศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อชุมชน
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยส่งเสริมการปลูกกระชายดำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้กับชุมชนในท้องถิ่น